อำเภอรัตนบุรี

อำเภอในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

รัตนบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ที่มีประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาลาวมากกว่า เขมร กูย และมีเจ้าเมืองคนแรกคือ พระศรีนครเตาท้าวเธอ (เชียงสีหรือตากะอาม)ซึ่งเป็นชาวกูยและเมืองรัตนบุรียังมีประวัติศาสตร์และประเพณียาวนานกว่า 300 ปี

อำเภอรัตนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Rattanaburi
คำขวัญ: 
รัตนบุรี เมืองพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ พระเจ้าใหญ่วัดเหนือ งามเหลือพระโพธิ์ศรีธาตุ ใสสะอาดห้วยแก้ว เพริดแพร้วผ้าไหม ขนมจีนถูกใจ บุญบั้งไฟตระการตา ชาวประชาน้ำใจงาม
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอรัตนบุรี
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอรัตนบุรี
พิกัด: 15°19′13″N 103°51′25″E / 15.32028°N 103.85694°E / 15.32028; 103.85694
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด383.812 ตร.กม. (148.191 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด92,202 คน
 • ความหนาแน่น240.23 คน/ตร.กม. (622.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32130
รหัสภูมิศาสตร์3207
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

เมื่อราวปีพ.ศ. 2302 พระยาช้างเผือกได้แตกโรงหนีออกมายังเขตบริเวณพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า "เขมรป่าดง" ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่แถบจังหวัดบุรีรัมย์,สุรินทร์และศรีสะเกษ "เชียงสี" หัวหน้าบ้านกุดหวาย หนึ่งในหัวหน้าคณะชาวส่วยหรือกูย (หัวหน้าคณะชาวส่วย ประกอบด้วย ตาไกรหรือตากะจะ เชียงปุม เชียงไชย เชียงขัน เชียงฆะ เชียงสง และเชียงสี) ได้ช่วยกันจับพระยาช้างเผือกแล้วจึงนำคืนสู่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาราว ปีพ.ศ. 2306 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์สุดท้าย ทรงโปรดเกล้าเลื่อนบรรดาศักดิ์หัวหน้าหมู่บ้านกุดหวาย ซึ่งก็คือเชียงสี พร้อมทั้งยกบ้านกุดหวายขึ้นเป็นเมืองศรีนครเตา (ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองรัตนบุรี) อาณาเขตของเมืองศรีนครเตา เริ่มแรกถูกกำหนดดังนี้ ทิศเหนือ จรดเมืองท่ง(อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) มีแม่น้ำมูลเป็นเขตแดน ทิศใต้ จรดหลักหินภูดิน ชนเขตแดนเมืองประทายสมันต์(สุรินทร์) ทิศตะวันออก จรดลำห้วยทับทัน ทิศตะวันตก จรดดงแสนตอ (ดงขมิ้น) เขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองรัตนบุรี มีความชอบได้ตามเสด็จไปทำสงครามหลายแห่งจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นที่ พระศรีนครเตาท้าวเธอ โปรดเกล้าฯให้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ พระศรีนครเตาท้าวเธอปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข ร่มเย็นมาโดยตลอด และเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ได้ทำให้แก่ชาติบ้านเมือง ชาวอำเภอรัตนบุรี จึงรวมใจสร้างอนุสาวรีย์ของพระศรีนครเตาท้าวเธอ ณ สวนสาธารณะศรีนครเตาท้าวเธอ ถนนศรีนคร อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และจัดให้มีงานสมโภชน์ สักการะทุกๆปี

ลุเข้ามาเมื่อใดมิทราบได้ ในช่วงรัชกาลที่ 1 ได้มีพระราชสาส์นเกี่ยวกับการศึก ผ่านเข้ามายังเมืองศรีนครเตา(ขณะนั้นยังไม่เปลี่ยนชื่อนามเมือง) ในขณะนั้นพระศรีนครเตาไม่อยู่ในเมืองไปทำธุระข้างนอก แต่ภรรยาพระศรีนครเตาเป็นผู้รับหนังสือพระราชสาสน์แทน มีบางกระแสว่าภรรยาเป็นผู้เปิดอ่านเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็มีบางกระแสที่ว่า พระศรีนครชัย (บุญจันทร์) อุปราชเมืองรัตนบุรีเป็นผู้เปิดอ่านเองแล้วโยนความผิดให้เจ้าเมือง ส่งผลให้พระศรีนครเตาท้าวเธอโดนอาญาแผ่นดิน ถูกประหารโดยการเอาขวานผ่าอกจนตาย ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2356 ในช่วงเวลาที่ไม่ห่างกันมาก ท้าวโอ๊ะ หลานของเจ้าแก้วมงคลแห่งเมืองท่ง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุวรรณภูมิ ปัจจุบันคือ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้กล่าวโทษเจ้าเมืองสุวรรณภูมิว่า เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ เบียดเบียนข่มเหงประชาชน และบังคับเอาลูกเมียคนอื่น มาเป็นภรรยาของตน ราชสำนักกรุงเทพฯ ได้สอบสวนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (ท้าวอ่อน) พบว่ามีความผิดจริง จึงโปรดฯ ให้ถอดออกจากเจ้าเมือง และทรงตั้งให้ท้าวโอ๊ะเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิมีบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงศา” อันเป็นปีเดียวกันที่ฝ่ายเจ้าเมืองศรีนครเตา (คนต่อมา) ได้นำความกราบบังคมทูลโดยมีใบบอกไปยังราชสำนักด้วย จึงโปรดฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองศรีนครเตาเป็น “เมืองรัตนบุรี” และนามเจ้าเมืองจาก “พระศรีนครเตา” เป็น พระศรีนครชัย” ซึ่งหมายถึงชัยชนะ อาจเป็นไปได้ว่า พระศรีนครชัยเป็นเชื้อสายของเจ้าแก้วมงคล คือเป็นลูกหลานของเจ้าแก้วมงคลอีกท่านหนึ่ง เจ้าเมืองรัตนบุรีที่ได้เปลี่ยนนามเป็น “พระศรีนครชัย” มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าแก้วมงคลในชั้นหลาน ชาวลาวในเขตเมืองสุวรรณภูมิจึงได้เข้ามาอยู่ในเขตเมืองรัตนบุรีมากขึ้น สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุวรรณภูมิจึงไหลบ่า เข้าสู่เมืองรัตนบุรีและกลายเป็นเมืองของชาวไทยลาวในที่สุด[1][2][3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอรัตนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอรัตนบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 163 หมู่บ้าน.

1. รัตนบุรี (Rattanaburi) 17 หมู่บ้าน 7. ไผ่ (Phai) 14 หมู่บ้าน
2. ธาตุ (That) 14 หมู่บ้าน 8. เบิด (Boet) 17 หมู่บ้าน
3. แก (Kae) 15 หมู่บ้าน 9. น้ำเขียว (Nam Khiao) 13 หมู่บ้าน
4. ดอนแรด (Don Raet) 16 หมู่บ้าน 10. กุดขาคีม (Kut Kha Khim) 11 หมู่บ้าน
5. หนองบัวทอง (Nong Bua Thong) 10 หมู่บ้าน 11. ยางสว่าง (Yang Sawang) 11 หมู่บ้าน
6. หนองบัวบาน (Nong Bua Ban) 15 หมู่บ้าน 12. ทับใหญ่ (Thap Yai) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอรัตนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลรัตนบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลรัตนบุรีและบางส่วนของตำบลไผ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรัตนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรัตนบุรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลรัตนบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแรดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวบานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลรัตนบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเบิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบิดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเขียวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดขาคีม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดขาคีมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสว่างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับใหญ่ทั้งตำบล

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้
ในประวัติศาสตร์
พระภิกษุ
ข้าราชการ,นักการเมือง
ศิลปินแห่งชาติ
ราชบัณฑิต
นักร้อง

สถานศึกษา

แก้

ประถมศึกษา,มัธยมศึกษา,ขยายโอกาสทางการศึกษา

  • โรงเรียนรัตนบุรี
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตนบุรี
  • โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี
  • โรงเรียนรัตนวิทยาคม
  • โรงเรียนดอนแรดวิทยา
  • โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์
  • โรงเรียนธาตุศรีนคร
  • โรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์
  • โรงเรียนแกศึกษาพัฒนา
  • โรงเรียนเทศบาลรัตนบุรี

อุดมศึกษา,การวิชาชีพ

  • วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการรัตนบุรี
  • โครงการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยราชภัฏรัตนบุรี" มหาวิทยาลัยชุมชนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  • โครงการจัดตั้ง "วิทยาลัยสงฆ์รัตนบุรี" มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

โรงเรียนพระปริยัติธรรม

หน่วยงานราชการ

แก้
  • สำนักงานอัยการจังหวัดรัตนบุรี
  • สำนักงานขนส่งสุรินทร์ สาขาอำเภอรัตนบุรี
  • ศาลจังหวัดรัตนบุรี
  • สำนักงานบังคับคดี
  • โรงพยาบาลรัตนบุรี
  • สำนักงานที่ดินสุรินทร์ สาขาอำเภอรัตนบุรี
  • ประมง
  • เรือนจำ
  • สำนักงานปศุสัตว์
  • สำนักงานสรรพากร
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
  • สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี
  • สถานีตำรวจภูธรดอนแรด
  • สักนักงานเกษตรอำเภอรัตนบุรี
  • เทศบาลตำบลรัตนบุรี
  • ที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี

แหล่งท่องเที่ยว

แก้

เทศกาลการท่องเที่ยว

แก้
  • งานนมัสการพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ วัดโพธิ์ศรีธาตุ
  • ประเพณีบุญบั้งไฟประจำปี เมืองรัตนบุรี
  • งานไหว้ศาลหลักเมืองรัตนบุรี
  • งานรำบวงสรวงพระศรีนครเตาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรี

มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น

แก้
 
บุญบั้งไฟ อำเภอรัตนบุรี เป็นงานบุญบั้งไฟที่จัดขึ่นอย่างยิ่งใหญ่ของชาวอำเภอรัตนบุรี และยิ่งใหญ่มากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


  1. "ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(3)". baanjomyut.com. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25
  2. "เขมรป่าดง ทุ่งกุลาร้องไห้ และเจ้าพ่อศรีนครเตา ตอนที่ 3 เมืองรัตนบุรี 2". baanmaha.com. สืบค้นเมื่อ 2023-05-25
  3. ประวัติหลวงศรีนครเตา เจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก