ไอกิโด

(เปลี่ยนทางจาก ไอคิโด้)

ไอกิโด (ญี่ปุ่น: 合気道โรมาจิAikidōikedo) เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่พัฒนาโดยโมะริเฮอิ อุเอะชิบะ เป็นการรวมศิลปะการต่อสู้ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนาไว้ด้วยกัน ไอกิโดมักแปลว่า "หนทางแห่งการรวมพลังงานชีวิต"[1] หรือ "หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน"[2] เป้าหมายของอุเอะชิบะคือสร้างศิลปะที่ผู้ฝึกฝนใช้ป้องกันตัวและป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บด้วย[3][4]

ikedo
(合気道)
The version of the "four-direction throw" (shihōnage) with standing attacker and seated defender (hanmi-handachi). The receiver of the throw (uke) is taking a breakfall (ukemi) to reach the ground safely.
มุ่งเน้นGrappling and softness
ประเทศต้นกำเนิดJapan
ผู้ให้กำเนิดMorihei Ueshiba
ผู้มีชื่อเสียงKisshomaru Ueshiba, Moriteru Ueshiba, Christian Tissier, Morihiro Saito, Koichi Tohei, Yoshimitsu Yamada, Gozo Shioda, Mitsugi Saotome, สตีเวน ซีกัล
Ancestor artsDaitō-ryū Aiki-jūjutsu

ทักษะไอกิโดประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนทิศทางโมเมนตัมของท่าโจมตีของคู่ต่อสู้ และการทุ่มหรือล็อกข้อต่อที่ยุติทักษะดังกล่าว[5]

ไอกิโดแผลงมาจากศิลปะการต่อสู้ชื่อ ไดโตรีว ไอกิจูจุสึ แต่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ส่วนหนึ่งมาจากที่อุเอะชิบะเข้าไปพัวพันกับศาสนานิกายโอโมะโตะ ในเอกสารของลูกศิษย์ยุคแรกของอุเอะชิบะยังคงใช้คำว่า "ไอกิจูจุสึ"[6]

ลูกศิษย์อาวุโสของอุเอะชิบะมีวิธีการฝึกไอกิโดที่แตกต่างกันขึ้นกับช่วงเวลาที่พวกเขาศึกษากับอาจารย์ ปัจจุบันพบไอกิโดทั่วโลกในหลายรูปแบบ โดยมีพิสัยการตีความและการเน้นฝึกฝนที่กว้าง อย่างไรก็ตามพวกเขาต่างแบ่งปันทักษะที่อุเอะชิบะและเป็นการต่อสู้ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคู่ต่อสู้มากที่สุด

แหล่งกำเนิด และ ปรัชญาพื้นฐาน

แก้
 
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม

คำว่า "ไอกิโด" มาจากตัวอักษร คันจิ 3 ตัว:

  •  – ไอ– รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, เหมาะ
  •  – คิ – วิญญาน, พลัง, อารมณ์, ศีลธรรม
  •  – โด้ – แนวทาง, ทางเดิน

คำว่า "ไอคิ" ไม่ได้ปรากฏใน ภาษาญี่ปุ่น นอกเสียจากการกล่าวถึง บูโด ทำให้คำนี้แปลได้หลายอย่าง หมายถึง 'รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, มารวมกัน, พบกัน', ตัวอย่างเช่น 合同 (รวม/เป็นอันหนึ่งอันเดียว), 合成 (ประกอบ), 結合 (รวม, เป็นอันหนึ่งอันเดียว, มารวมกัน), 連合 (สหภาพ/พันธมิตร/สมาคม), 統合 (รวม/เป็นอันหนึ่งอันเดียว), และ (เข้าใจตรงกัน) มีความคิดเป็นการ การตอบแทน, 知り合う (ทำความรู้จักกัน), 話し合い (พูด/อภิปราย/ต่อรอง), และ 待ち合わせる (นัดพบกัน)

บ่อยครั้งใช้อธิบายอารมณ์ เช่น なになに気がする ('ฉันรู้สึก X', เหมือนมีความคิด แต่เป็นแบบที่ไม่ได้ใช้ เหตุผล และ 気持ち (อารมณ์/ความรู้สึก); อาจหมายถึงพลังงาน หรือ แรง เช่น 電気 (ไฟฟ้า) และ磁気 (พลังแม่เหล็ก); อาจใช้กล่าวถึง คุณภาพ หรือ ด้านของคน หรือสิ่งของ เช่น 気質 (วิญญาน/นิสัย/ลักษณะบุคคล)

คำว่า โด้ เห็นได้ใน ศิลปะป้องกันตัว เช่น ยูโด และ เคนโด้ และ ในศิลปะที่สงบ เช่น ศิลปะตัวอักษรญี่ปุ่น (โชโด shodō), ศิลปะจัดดอกไม้ญี่ปุ่น (คาโด kadō) และ ศิลปะพิธีดื่มชา (ชาโด chadō or sadō)

ดังนั้น จากมุมมองของภาษา ไอกิโด คือ 'หนทางของการรวมแรงพลังเข้าด้วยกัน' คำว่า ไอคิ aiki กล่าวถึง หลักการของศิลปะป้องกันตัว หรือ เทคนิค ผสมผสานเข้ากับ ท่วงท่าของผู้จู่โจม เพื่อที่จะ ควบคุมท่วงท่าของเขา โดยใช้แรงไม่มาก [7] ผู้ฝึกใช้ ไอคิ aiki โดย เข้าใจจังหวะ และ ความตั้งใจของผู้จู่โจม เพื่อหา จุดที่เหมาะสม และ จังหวะเวลาในการ ใช้ เทคนิคย้อนแรวพลัง

ฉะนั้น วิธีนี้คล้ายมากกับ หลักการ ที่อาจารย์ คาโน จิโกโร ผู้ก่อตั้ง วิชายูโด

ประวัติ

แก้

ไอกิโด ก่อตั้งโดย อาจารย์ โมริเฮ อุเอชิบะ (植芝 盛平 Ueshiba Morihei, 14 ธันวาคม 1883 – 26 เมษายน 1969) โดยผู้ฝึกไอกิโด เรียกอาจารย์ว่า โอเซนเซ Ōsensei ("ครูผู้ยิ่งใหญ่") [8] คำว่า 'ไอกิโด' เกิดขึ้นใน ศตวรรษที่ 20 [9] อาจารย์อุเอชิบะ มีวิสัยทัศน์ว่า ไอกิโด ไม่ได้เป็นแค่การผสมผสานศิลปะป้องกันตัว แต่เป็น การแสดงออกของ ปรัชญาของอาจารย์ ใน เรื่องสันติภาพในจักรวาล และการปรองดอง ในช่วงที่อาจารย์มีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบัน ไอกิโด พัฒนาการจาก ไอคิ ที่อาจารย์อุเอชิบะเคยศึกษา จนกลายเป็น การแสดงออกของศิลปะป้องกันตัวที่หลากหลาย โดย ผู้ฝึกทั่วโลก[5]

ช่วงบุกเบิก

แก้
 
อาจารย์ ทาเคดะ โซคาคุ Takeda Sōkaku

อาจารย์อุเอชิบะ พัฒนาวิชาไอกิโด ส่วนใหญ่ในช่วง ปลาย ค.ศ. 1920 จนถึง 1930 โดยการผสมผสาน ศิลปะป้องกันตัวดั้งเดิมที่อาจารย์เคยเรียนมา [10] แก่นของศิลปะป้องกันตัว ที่ไอกิโด นำมาประยุกค์ใช้คือ ไดโต-ริว ไอคิ-ยิวยิทสู Daitō-ryū aiki-jūjutsu ที่อาจารย์ อุเอชิบะ เรียนมาโดยตรง จากอาจารย์ ทาเคดะ โซคาคุ Takeda Sōkaku ผู้ฟื้นคืนศิลปะเหล่านั้น นอกจากนั้น ได้ยินมาว่า อาจารย์อุเอชิบะ เคยได้ร่ำเรียน เทนจิน ชินโยริว Tenjin Shin'yō-ryū กับอาจารย์ โทซาว่า โทคุซาบุโร่ Tozawa Tokusaburō ในกรุงโตเกียว ในปี 1901 และเรียนกับ โกโทฮา ยากิว ชินกัน-ริว Gotōha Yagyū Shingan-ryū ภายใต้ นาคาอิ มาซาคัทสุ Nakai Masakatsu ที่เมือง ซาไก Sakai จากปี 1903 ถึง 1908 และเรียน ยูโด ยูโด กับ คิโยอิชิ ทาคากิ Kiyoichi Takagi (高木 喜代子 Takagi Kiyoichi, 1894–1972) ที่เมือง ทานาเบ้ Tanabe ในปี 1911[11]

ศิลปะ ไดโต-ริว Daitō-ryū เป็นส่วนสำคัญของ อิทธิพลทางเทคนิค ของวิชา ไอกิโด ที่มากับ การทุ่มมือเปล่า และ เทคนิคการล็อกข้อต่อ อาจารย์อุเอชิบะ รวมท่วงท่าการฝึก เข้ากันกับอาวุธเช่น หอก ทวน (yari), พลองสั้น () และ ดาบปลายปืน ญี่ปุ่น: 銃剣โรมาจิjūkenbayonet อย่างไรก็ตาม วิชาไอกิโด นำโครงสร้างเชิงเทคนิคมาจาก ศิลปะการฟันดาบ (เคนยุทสุ kenjutsu).[2]

อาจารย์อุเอชิบะ ย้ายไปอยุ๋ ฮอกไกโด จังหวัดฮกไกโด ในปี 1912 และเริ่มร่ำเรียน ภายใต้ อาจารย์ ทาเคดะ โซคาคุ Takeda Sokaku ในปี 1915 และได้ผูกพันกับ ศิลปะ ไดโต-ริว Daitō-ryū จนถึงปี 1937[10] แต่ทว่า ช่วงหลังในยุคนั้น อาจารย์อุเอชิบะ ได้เริ่มที่จะ ออกห่างจาก อาจารย์ ทาเคดะ และ ศิลปะ ไดโต-ริว ในตอนนั้น อาจารย์อุเอชิบะ เรียกศิลปะป้องกันตัวของตัวเองว่า "ไอคี บูโด" ไม่แน่ชัดว่า อาจารย์อุเอชิบะ เริ่มใช้ชื่อไอกิโดเมื่อใด แต่ก็กลายเป็นชื่อทางการของศิลปะนี้เมื่อ ค.ศ. 1942 เมื่อสมาคม เกรทเทอร์ แจแปน มาเชี่ยล เวอร์ชู โซไซตี้ (Dai Nippon Butoku Kai) ได้เข้าร่วมใน การจัดระเบียบ และ เข้าสู่ศูนย์กลางของศิลปะป้องกันตัวญี่ปุ่น ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน [5]

อิทธิพลจากศาสนา

แก้
 
โอนิซาบุโร เดกูชิ Onisaburo Deguchi

เมื่ออาจารย์อุเอชิบะ ออกจาก ฮอกไกโด ในปี ค.ศ. 1919 เขาได้พบ และ ประทับใจ โอนิซาบุโร เดกูชิ Onisaburo Deguchi ผู้นำทางจิตวิญญานของ ศาสนา โอโมโตะ-เคียว Ōmoto-kyō (แนวชินโตยุคใหม่) ที่เมือง อายาเบะ Ayabe[12] หนึ่งในหลักของคำสอนของ โอโมโตะ-เคียว คือการให้ความสำคัญ ในการไปถึง ยูโทเปีย utopia หรือ ภาวะสมบูรณ์แบบให้ได้ก่อนตาย นี่เป็นอิทธิพลสำคัญ ต่ออาจารย์อุเอชิบะในด้านปรัชญาของการส่งต่อ ความรักและความเมตตา โดยเฉพาะผู้ที่ จะมาทำร้ายผู้อื่น ไอกิโด สาธิตปรัชญานี้ โดยเน้นการฝึกให้ชำนาญ เพื่อสามารถรับการจู่โจม และ ผันออกไปโดยไม่มีอันตราย ในสถานการณ์ที่สมบูรณ์แบบนอกจากผู้รับจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ผู้ที่โจมตีก็ปลอดภัยด้วย[13]

นอกจากจะได้รับความรู้ทางจิตวิญญานแล้ว การได้รู้จัก เดกูชิ ทำให้อาจารย์อุเอชิบะ ได้เข้าถึง ขุนนางสูงศักดิ์ และทหารผู้ใหญ่ ทำให้ นอกจากจะได้การสนับสนุนทางการเงินแล้ว อาจารย์ยังได้ ลูกศิษย์ที่มีความสามารถ และศิษย์บางคน ก็จะได้ก่อตั้งไอกิโดในแบบต่างๆ ในเวลาต่อมา[14]

การถ่ายทอดไปสู่นานาชาติ

แก้

วิชาไอกิโด ถูกนำไปถ่ายทอดสู่นานาชาติในปี ค.ศ. 1951 โดย มิโนรุ โมชิซูกิ Minoru Mochizuki เมื่อไปเยือนประเทศ ฝรั่งเศส โดยเขาได้แนะนำเทคนิคไอกิโด ให้กับนักเรียนวิชายูโด [15] หลังจากนั้นก็มี ทาดาชิ อาเบะ Tadashi Abe ในปี 1952 ผู้ซึ่งมาอย่างเป็นทางการในนามของผู้แทน ไอคิไค ฮอมบู Aikikai Hombu และได้อาศัยในฝรั่งเศสเป็นเวลา 7 ปี ต่อมา เคนจิ โทมิกิ Kenji Tomiki ออกเดินทางกับผู้แทนของสายวิชาป้องกันตัวต่างๆ ไปที่ 15 รัฐในสหรัฐอเมริกาในปี 1953[14] ต่อมาในปีนั้น โคอิชิ โทเฮ Koichi Tohei เป็นตัวแทนของ ไอคิไค ฮอมบู ไปสอนที่รัฐฮาวาย รัฐฮาวาย เป็นเวลา 1 ปี โดยเขาได้ก่อตั้งโดโจ dojo สองสามแห่งที่นั่น และยังมี การกลับมาเยือนอีก และถือว่าเป็นการแนะนำไอกิโดอย่างเป็นทางการที่สหรัฐอเมริกา และที่สหราชอาณาจักร ในปี 1955; อิตาลี ในปี 1964 โดย ฮิโรชิ ทาดะ Hiroshi Tada และเยอรมนี ในปี 1965 โดย คัทซูกิ อาไซ Katsuaki Asai "ผู้แทนอย่างเป็นทางการของยุโรปและอาฟริกา" โดย อาจารย์โมริเฮ อุเอชิบะ, มาซามิจิ โนโร Masamichi Noro เดินทางมาถึง ฝรั่งเศส เดือน กันยายน ปี1961 เซอิชิ ซูกาโน Seiichi Sugano ได้รับการแต่งตั้งให้ แนะนำวิชาไอกิโดที่ ออสเตรเลีย ในปี 1965 ในวันนี้ มีโดโจสอนวิชาไอกิโดอยู่ทั่วโลก

การกำเนิดขึ้นของสไตล์ต่างๆ

แก้

องค์กรวิชาไอกิโดที่ใหญ่ที่สุดคือ มูลนิธิไอคิไค Aikikai Foundation ภายใต้การควบคุมของสมาชิกครอบครัวอุเอชิบะ แต่ทว่า วิชาไอกิโดมีหลากหลายสไตล์ แทบทั้งหมดเกิดจาก ศิษย์เอกของอาจารย์อุเอชิบะ [14]

สไตล์แรกที่ปรากฏ คือ โยเซกัง ไอกิโด Yoseikan Aikido ก่อตั้งขึ้นโดย มิโนรุ โมชิซูกิ Minoru Mochizuki ในปี ค.ศ. 1931[15] โยชินคัง ไอกิโด Yoshinkan Aikido ก่อตั้งขึ้นโดย โกโซ ชิโอดะ Gozo Shioda ในปี ค.ศ. 1955[16] และ โชโดกัง ไอกิโด Shodokan Aikido ก่อตั้งขึ้นโดย เคนจิ โทมิกะ Kenji Tomiki ในปี ค.ศ. 1967[17] การกำเนิดขึ้นของสไตล์ต่างๆ เกิดก่อนการเสียชีวิตของ อาจารย์อุเอชิบะ และไม่ทำให้เกิดความปั่นป่วน แต่ โชโดกังไอกิโด ก่อให้เกิดการโต้แย้ง ด้วยเหตุผลที่ให้มีการแข่งขัน ทำให้บางคนรู้สึกว่า เป็นการสวนทางกับ ปรัชญาของไอกิโด [14]

หลังการเสียชีวิตของ อาจารย์อุเอชิบะ ในปี ค.ศ. 1969 มีการก่อตั้งอีกสองสไตล์ มีการโต้เถียงเป็นอย่างมาก เมื่อมีการลาออกจาก ไอคิไค ฮอมบูโดโจ Aikikai Hombu Dojo ของอาจารย์ โคอิชิ โทเฮ Koichi Tohei ในปี ค.ศ. 1974 โทเฮลาออก เนื่องจากการไม่เห็นด้วยกับบุตรชายผู้ก่อตั้ง คิชโชมารู อุเอชิบะ Kisshomaru Ueshiba ผู้ซึ่งเป็นผู้นำ ในมูลนิธิไอคิไคตอนนั้น เรื่องที่ไม่เห็นด้วยคือ การพัฒนากำลังภายใน หรือ คิ ki ในการฝึกไอกิโด หลังจากโทเฮ ลาออกก็ได้ก่อตั้งสไตล์ ชื่อ ชิน ชิน โทอิทสุ ไอกิโด Shin Shin Toitsu Aikido และสมาคมดูแลชื่อ คิ โซไซตี้ Ki Society (Ki no Kenkyūkai)[18]

สไตล์สุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากการเกศียนอายุของอาจารย์ อุเอชิบะ ที่เมือง อิวามะ อิบารากิ Iwama, Ibaraki และ วิธีการสอนของอาจารย์ โมริฮิโร ไซโต้ Morihiro Saito มีชื่อที่ไม่เป็นทางการว่า อิวามะ สไตล์ "Iwama style" และผู้ฝึกสไตล์นี้ได้ก่อตั้ง เครือข่ายของโรงเรียน ที่พวกเขาเรียกว่า อิวามะ ริว Iwama Ryu ถึงแม้ว่า ผู้ฝึกอิวามะสไตล์ จะดำรงอยู่เป็นส่วนหนึ่งกับ ไอคิไคจนกระทั่งการเสียชีวิตของอาจารย์ไซโต้ ในปี 2002 นักเรียนของอาจารย์ไซโต้ ภายหลังก็ได้แยกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งดำรงอยู่กับ ไอคิไค Aikikai อีกกลุ่มตั้งสมาคมอิสระ ชิน ชิน ไอคิชิวเรน Shinshin Aikishuren Kai ในปี 2004 โดยดำรงอยู่กับบุตรชายของอาจารย์ไซโต้ ฮิโตฮิโร ไซโต้ Hitohiro Saito

ในวันนี้ สไตล์หลักๆ ของไอกิโด ต่างก็มีสมาคมดูแลและมีสำนักงานที่ ญี่ปุ่นและต่างประเทศ ญี่ปุ่น: 本部道場โรมาจิhonbu dōjō; headquarters [14]

การฝึก

แก้

ในวิชาไอกิโด หรือในวิชาป้องกันตัวทั่วไปของญี่ปุ่น จะมีการฝึกทั้งกายและใจ การฝึกทางกายในวิชาไอกิโดมีหลากหลาย ครอบคลุมทั้งความแข็งแรงของร่างกาย และเทคนิคเฉพาะ [19] เนื่องจากการฝึกไอกิโด มีท่าทุ่มเยอะ throws สิ่งแรกที่นักเรียนต้องฝึกคือการกลิ้ง และ ตบเบาะ [19] เทคนิคในการรุกมี ทั้งการกระแทกและยึด เทคนิคในการรับคือ การทุ่มและจับยึด pins หลังจากเรียนรู้พื้นฐานแล้ว นักเรียนจะเรียน การรับแบบฟรีไสตล์ กับผู้รุกหลายคน และเทคนิคการใช้อาวุธ

ความพอดี

แก้
 
อุเคมิ Ukemi (受け身) สำคัญมากในการฝึกให้ปลอดภัย

เป้าหมายของการฝึกทางกายของวิชาไอกิโด จะรวมถึงการ ควบคุม การผ่อนคลาย relaxation ความยืดหยุ่น flexibility, และอดทน endurance แต่ไม่เน้นความแข็งแรงกล้ามเนื้อ strength training ในไอกิโด การผลักออก หรือ การขยายท่วงท่าจะเกิดขึ้นมากกว่าดึงหรือการย่อตัว การฝึกแบบนี้จะถูกนำไปปฏิบัติโดยผู้ฝึกไอกิโดส่วนใหญ่ [2]

ในวิชาไอกิโด จะไม่เน้นการสร้างความแข็งแรงแบบแยกกลุ่มกล้ามเนื้อ แต่จะเน้นการฝึกโดยใช้ ท่วงท่าการเคลื่นไหวแบบทั้งตัว คล้ายกับโยคะ โยคะ และ พิลาเท pilates โดโจหลายแห่งเริ่มการฝึกโดยการวอร์ม ญี่ปุ่น: 準備体操โรมาจิ: 'junbi taisō'; warm-up exercisesโดยการยืดกล้ามเนื้อ stretching และอุเคมิ ukemi (ตบเบาะ)[20]

หน้าที่ของอูเกะ uke หรือโทริ tori

แก้

การฝึกไอกิโดส่วนใหญ่คือการฝึกโดยการใช้ท่วงท่าที่เตรียมไว้ เรียกว่า คาตะ (kata) แทนที่จะใช้การฝึกแบบฟรีไสตล์ ท่าฝึกพื้นฐานคือ การให้ผู้ได้รับการกระทำหรือ อูเกะ (uke) จู่โจมไปที่ ผู้ที่เป็นผู้กระทำเทคนิค โทริ—the 取り tori, หรือ ชิเตะ shite 仕手 (แล้วแต่เรียกตามไอกิโดสไตล์) บางทีก็เรียก นาเกะ 投げ nage (เมื่อเป็นผู้ทำการทุ่ม) และใช้ไอกิโดเทคนิคให้การจู่โจมไม่มีผล [21]

หน้าที่ของทั้งนาเกะและอูเกะสำคัญทั้งคู่[21] ทั้งคู่ฝึกปรัชญาไอกิโด ของการผสมผสานและปรับตัว นาเกะฝึกการ ผสมผสานเข้ากับแรงจู่โจม ขณะที่อุเกะ เรียนการ สงบกาย และ ยืดหยุ่นในภาวะเสียเปรียบ การรับการกระทำเทคนิค เรียกว่าอุเคมิ ukemi[21] อุเกะ Uke พยายามหาการทรงตัวสมดุล และหาช่องที่ผู้อื่นเสียเปรียบ ขณะที่ นาเกะ nage ใช้ตำแหน่งและจังหวะ ทำให้ อุเคะ เสียสมดุลและเสียเปรียบ ในการฝึกขั้นสูง อุเกะ uke บางทีจะประยุกต์การย้อนเทคนิค (reversal techniques ญี่ปุ่น: 返し技โรมาจิkaeshi-waza) ให้ได้สมดุล และทุ่มนาเกะ

อุเคมิ (ญี่ปุ่น: 受身โรมาจิUkemi) คือการรับการกระทำเทคนิค อุเคมิที่ดี ต้องมีการเอาใจใส่เทคนิค คู่ฝึก และบรรยากาศโดยรอบ เป็นการรับแบบมีพลังมากกว่ารับการรับแบบเฉื่อยชา การล้มเป็นส่วนหนึ่งของวิชาไอกิโด เพื่อให้ผู้ฝึก ได้รับแบบปลอดภัย โดยไม่เกิดการบาดเจ็บรุนแรง

การจู่โจม

แก้

ไอกิโดเทคนิค ส่วนใหญ่จะเป็นการป้องกันการจู่โจม ฉะนั้น ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้การจู่โจมหลายแบบเพื่อที่จะฝึกกันได้ ถึงแม้ว่าไอกิโดไม่เน้นฝึกการเข้าจู่โจมเหมือนศาสตร์อื่น แต่การจู่โจมอย่างจริงจัง (การตี หรือจับให้มั่น) ก็จำเป็นต่อการศึกษา และการประยุกต์ของเทคนิค[2]

การเข้าตี ญี่ปุ่น: 打ちโรมาจิuchi; strikes ของวิชาไอกิโด คล้ายการตัดของดาบ ซึ่งแสดงถึงจุดกำเนิดของเทคนิคที่เอาไว้ใช้ในการสงครามติดอาวุธ armed combat [2] การเข้าตีที่คล้ายการชก (tsuki) ฝึกโดยการเสียบด้วยมีด หรือ ดาบ การเตะจะใช้สำหรับการฝึกระดับสูงด้วยเหตุผลว่า อันตรายจากการเตะมีสูงกว่า และการเตะหรือเตะสูง จะไม่ค่อยพบในสมรภูมิญี่ปุ่นโบราณ การเข้าตีพื้นฐานมีดังนี้

  • ญี่ปุ่น: 正面打ちโรมาจิshōmen'uchiFront-of-the-head strike โชเมนนูชิ การตีแนวตั้งด้วยมือเข้าที่หัว ในการฝึก ส่วนใหญ่จะเล็งที่หน้าผาก แต่ก็มีการฝึกแบบอันตรายเพิ่มขึ้นโดยการเล็งที่สันจมูก หรือเข้าที่โหนกแก้ม
  • ญี่ปุ่น: 横面打ちโรมาจิyokomen'uchiSide-of-the-head strike โยโกเมนนูชิ การตีแนวตั้งด้วยมือเข้าที่ข้างหัว หรือ ข้างคอ
  • ญี่ปุ่น: 胸突きโรมาจิmune-tsukiChest thrust มูเนส-ุกิ การปล่อยหมัดตรงเข้าที่ลำตัว หรือที่ อก ท้อง หรือ ลิ้นปี่ เหมือนกับ ชูดาน-สุกิ ญี่ปุ่น: 中段突きโรมาจิchūdan-tsuki; "middle-level thrust", และ โชโก-สุกิ ญี่ปุ่น: 直突きโรมาจิchoku-tsuki; "direct thrust"
  • ญี่ปุ่น: 顔面突きโรมาจิganmen-tsukiFace thrust กานเมน-สุกิ การปล่อยหมัดตรงเข้าที่ใบหน้า โจดาน-สุกิ ญี่ปุ่น: 上段突きโรมาจิjōdan-tsuki; "upper-level thrust"

ผู้ฝึกที่พึ่งเริ่มใหม่ จะฝึกเทคนิคการจับยึด เพราะปลอดภัยกว่า และ สามารถรู้สึกถึงพลัง และ แนวทางของแรงได้ดีกว่าการเข้าตี การจับยึดมีประวัติ มาจากการจับเพื่อป้องกันการชักอาวุธ จึงต้องใช้เทคนิคเพื่อหลุดจากการยึด และ เข้าตีผู้จู่โจม ซึ่งกำลังยึดผู้ป้องกันตัวอยู่[2] ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการจับยึด:

เทคนิคพื้นฐาน

แก้
 
รูปภาพแสดง อิคเคียว ikkyō, หรือ เทคนิคแรก. ยงเคียว Yonkyō ก็มีกลไกคล้ายๆกัน แต่มือบน ยึดที่หน้าแขน แทนที่จะเป็นศอก

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการทุ่ม และ พินหรือยึดให้หยุดการเคลื่อนไหว เทคนิคเล่านี้มาจาก ไดโตริว ไอคียิวยิทสุ แต่ก็มีที่อาจารย์ อุเอชิบะคิดขึ้นเอง คำศัพท์จะแตกต่างออกไปตามสำนัก และ รูปแบบการฝึกที่หลากหลาย คำศัพท์ในบทความนี้คือที่มาจาก มูลนิธิไอคิไค ข้อควรสังเกตคือชื่อเทคนิคห้าอันแรก ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกสอนตามลำดับ [22]

  • ญี่ปุ่น: 一教โรมาจิikkyōFirst technique อิคเคียว การควบคุม โดยใช้มือหนึ่งเข้าที่ข้อศอก และอีกมือหนึ่งเข้าที่ข้อมือ จึงใช้การควบคุมนี้กดให้อุเคะ ลงไปกับพื้น[23] การควบคุมนี้ ใช้แรงดันไปที่ ประสาทบริเวณข้อมือ
  • ญี่ปุ่น: 二教โรมาจิnikyōSecond technique นิคเคียว การควบคุมข้อมือโดยหมุนเข้าใน จะเกิดแรงบิดที่แขน และเกิดอาการเจ็บที่แขน จากแรงกด (มีเทคนิคการล็อกแขนเป็นรูปตัว Z ในการเข้าทำแบบอูระ หรือ แบบข้างหลัง)
  • ญี่ปุ่น: 三教โรมาจิsankyōThird technique ซันเคียว การหมุนเข้าล็อกข้อมือ เพื่อให้เกิด แรงดันขึ้นข้างบนไปทั่วแขน ศอกและไหล่
  • ญี่ปุ่น: 四教โรมาจิyonkyōFourth technique ยนเคียว การควบคุมใหล่ คล้ายอิคเคียว แต่ใช้มือทั้งสองจับที่แขนข้างเดียว ข้อนิ้วด้านฝ่ามือ กดเข้าที่เส้นประสาทในแขนใกล้กระดูก [24]
  • ญี่ปุ่น: 五教โรมาจิgokyōFifth technique โกเคียว ดูคล้ายกับ อิคเคียวมาก แต่เป็นการจับที่หงายมือขึ้น ใส่แรงบิดเข้าที่แขน และไหล่ และใส่แรงกดดันที่ข้อศอก พบบ่อยในการใช้ปลดมีด หรืออาวุธอื่นๆ
  • ญี่ปุ่น: 四方投げโรมาจิshihōnageFour-direction throw ชิโฮนาเกะ เป็นการพาแขนให้เลยหัวไหล่ของเรา และล็อกข้อต่อหัวไหล่
  • ญี่ปุ่น: 小手返しโรมาจิkotegaeshiForearm return โคเทไกชิ การยึดข้อมือ โดยทำให้ กล้ามเนื้อข้อมือ เกิดการยืดตัว
  • ญี่ปุ่น: 呼吸投げโรมาจิkokyūnageBreath throw โคคิวนาเกะ เป็นคำที่ใช้บ่อยกับหลายๆเทคนิคที่ต่างกันในไอกิโด ส่วยใหญ่เทคนิคเหล่านี้ ไม่ใช้การยึดข้อต่อ [25]
  • ญี่ปุ่น: 入身投げโรมาจิiriminageEntering throw อิริมินาเกะ การทุ่ม โดยให้ นาเกะ หรือ ผู้เข้าทำ เคลื่อนตัวไปในที่ว่าง ที่ อูเกะ หรือ ผู้รับ คุมพื่นที่อยู่ ดูแล้วคล้ายกับเทคนิคในมวยปล้ำที่เรียกว่า "clothesline" โคล้ทสไลน์ หรือ การเดินเข้าใส่เชือกขึงตากผ้า
  • ญี่ปุ่น: 天地投げโรมาจิtenchinageHeaven-and-earth throw เทนชินาเกะ เริ่มจากการจับแบบ ryōte-dori เรียวเตะ-โดริ แล้วเข้าข้างหน้า นาเกะ ดึงมือข้างนึงลงต่ำ ("ดิน") และ มืออึกข้างชี้ขึ้นสูง ("ฟ้า") ทำให้ อูเกะ เสียสมดุล และล้มลง
  • ญี่ปุ่น: 腰投げโรมาจิkoshinageHip throw โคชินาเกะ เป็นการทุ่มโดยใช้สะโพก นาเกะ ย่อสะโพกลง ให้ต่ำกว่า อูเกะ และพลิกอูเกะ ผ่านจุดหมุนที่สะโพก
  • ญี่ปุ่น: 十字投げโรมาจิjūjinageFigure-ten throw หรือ ญี่ปุ่น: 十字絡みโรมาจิjūjigaramifigure-ten entanglement จูจิการามิ เป็นการทุ่มโดยยึดแขน เข้าด้วยกัน เป็นรูปไม้กางเขน หรือตัวอักษรคันจิ เลขสิบในภาษาญี่ปุ่น (The คันจิ for "10" is a cross-shape: 十)[26]
  • ญี่ปุ่น: 回転投げโรมาจิkaitennageRotary throw ไคเทนนาเกะ นาเกะ หมุนมือของอูเกะไปข้างหลังจนล็อก หัวไหล่ แล้วจึงทุ่มไปข้างหน้า [27]

การใช้งาน

แก้
 
รูปประกอบแสดง การทำอิคเคียว สองแบบ อันแรกไปข้างหน้า one (โอโมเตะ) และ อีกอันคือไปด้ายหลัง (อูระ) อ่านเพิ่มเติมที่คำอธิบายคำอธิบาย

ไอกิโดใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือที่เรียกว่า ไทซาบากิ (tai sabaki) เพื่อเข้าผสมผสานกับ อูเกะ เช่น "การเข้า" อิริมิ (irimi) เทคนิค ประกอบไปด้วยท่วงท่า การเข้าถึง อูเกะ ในขณะที่ "การหมุน" เทนคาน ญี่ปุ่น: 転換โรมาจิtenkan; "turning" ใช้ท่วงท่าการหมุนที่จุดหมุน [28] นอกจากนั้น "ด้านใน" อูชิ ญี่ปุ่น: โรมาจิuchi; "inside" เข้าทำด้านหน้าของอูเกะ ขณะที่ "ด้านนอก" โซโตะ ญี่ปุ่น: โรมาจิsoto; "outside" เข้าทำด้านข้าง "ด้านหน้า" โอโมเทะ ญี่ปุ่น: โรมาจิomote; "front" เข้าทำข้างหน้าของอูเกะ และ อูระ ญี่ปุ่น: โรมาจิura; "rear" เข้าทำด้านหลังของอูเกะ uke โดยการใช้การ หันและหมุน และยังมี เทคนิคท่านั่ง เซซา (seiza) โดยที่ หาก อูเกะ และ นาเกะ ยืนขึ้นทั้งคู่ เรียกว่า ทาชิวาซ่า หากทั้งคู่เริ่มด้วยการนั่ง เซซา เรียกว่า ซูวาริวาซ่า หาก อูเกะยืน และนาเกะนั่ง เรียกเทคนิคว่า ฮันมิ ฮันดาชิ [29]

ดัวนั้น จากเทคนิคพื้นฐานประมาณ ยี่สิบท่า สามารถมีการใช้งานได้เป็นพันรูปแบบ เช่น อิคเคียว ใช้กับคู่ต่อสู้ ที่กำลังเข้ามา ได้ทั้งด้านหน้า โอโมเทะ หรือ ด้านหลัง อูระ ท่วงท่าของไอกิโด หรือ ที่เรียกว่า คาตะ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวทาง การเข้าทำ [30][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ] เช่น คาตาเตโดริ หมายถึง เทคนิคอะไรก็ได้ ที่ใช้เมื่อ อูเกะ จับยึดมข้อมือหนึ่งข้าง แต่ถ้าเรียนกเทคนิด คาตาเตโดริ อิคเคียว โอโมเทะ ให้หมายถึง การเคลื่อนไปข้างหน้า โดยใช้เทคนิค อิคเคียว จากการจับยึดที่แขนหนึ่งข้าง

อาเทมิ Atemi (当て身) คือการตีหรือชก ที่ใช้ในไอกิโดเทคนิค บางคนมองว่า อาเทมิ เป็นการเข้าตีจุดอันตราย เช่น อาจารย์ โกโซะ ชิโอดะ Gōzō Shioda อธิบายการใช้ อาเทมิ ตอนมีการอาละวาด เพื่อสงบอันธพาลโดยเร็ว [31] บางคนมองการใช้ อาเทมิ ในการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อให้ใช้เทคนิคอื่นได้ง่ายขึ้น การชก หรือ ตี ก็ตาม ทำให่เป้าหมายตกใจและเสียสมาธิ ถึงขนาดเสียสมดุลได้ เช่นการผงกหัวขึ้น ทำให้ทุ่มได้ง่ายขึ้น [29] อาจารย์โมริเฮ อุเอชิบะ สอนว่า อาเทมิ เป็นเทคนิคที่สำคัญมาก [32]

อาวุธ

แก้

การฝึกอาวุธในไอกิโด ประกอบด้วย พลอง หรือ โจ () ดาบไม้ หรือ โบคเคน (bokken) และมีดสั้น หรือ ทันโตะ (tantō) [33] ปัจจุบันมี สถานฝึกหลายแห่งได้ประยุกต์ การปลดอาวุธปืนด้วย การเข้าแย่งอาวุธ หรือการรักษาอาวุธ การฝึกสไตล์ อิวามะ ของอาจารย์ โมริฮิโร ไซโต้ ใช้เวลามากกักการฝึกlโบคเคน และ โจ และเรียกการฝึกเช่นนี้ว่า ไอคิเคน และ ไอคิโจ aiki-ken aiki-jō

ผู้ก่อตั้งไอกิโด พัฒนาการต่อสู้มือเปล่า มาจากวัฒนธรรมการใช้ดาบและหอก ทำให้การฝึกท่วงท่าเหล่านี้ ให้เข้าถึง การกำเนิดของเทคนิคและท่วงท่า และมุ่งเน้นความเข้าใจของการกะระยะ การขยับเท้า ความเป็น และการเชื่อมต่อกันของคู่ฝึก [34]

การรุมโจมตี รันโดริ

แก้

การฝึกที่สำคัญอีกอย่างของไอกิโด คือการป้องกันตัว เวลาถูกรุม โดยผู้โจมตีหลายคน เรียกว่า ทานินซูโดริ taninzudori หรือ ทานินซูกาเค taninzugake ฟรีสไตล์ รันโดริ หรือ จิยูวาสะ (randori, or jiyūwaza) ฝึกกับผู้จู่โจมหลายคน เป็นแก่นสำคัญ ในการฝึกระดับสูง [35] "รันโดริ" แปลว่า "ความวุ่นวาย" ฝึกการใช้ เทคนิค ในระดับจิตใต้สำนึก ในภาวะที่ควบคุมไม่ได้ [35] ผู้ฝึกต้องใช้ การเลือกเทคนิค ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่ยืนระหว่างผู้ฝึก กับผู้จู่โจม สำคัญมากในการฝึกรันโดริ เช่น การใช้ อูระ เทคนิค เพื่อสงบผู้จู่โจมคนหนึ่ง ในขณะที่หันไปเผชิญ กับผู้จู่โจมอีกคนที่มาดจากด้านหลัง [2]

ในการฝึกโชโดกัน ไอกิโด Shodokan Aikido รันโดริ ฝึกโดยการ ให้ผู้ฝึกสองคน จู่โจม และป้องกัน โดยอิสระ ซึ้งคล้ายกับ รันโดริ ของยูโด [17]

การบาดเจ็บ

แก้

ในระหว่างการฝึก ความรับผิดชอบจะตกอยู่กับ นาเกะ ในการป้องกันการบาดเจ็บ ที่จะเกิดกับอูเกะ โดยการใช้ความเร็ว และแรงที่เหมาะสมกับ การใช้ อูเกมิ ของผู้ฝึก [21] อาการบาดเจ็บที่ข้อต่อในไอกิโด ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการที่ นาเกะ กะความสามารถในการรับผิดไป [36][37]

งานวิจัยเกี่ยวกับการบาดเจ็บในศิลปะป้องกันตัว พบว่า แม้ว่าอาการบาดเจ็บในแต่ละวิชาจะแตกต่างกัน แต่อัตราการบาดเจ็บไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ อาการบาดเจ็บในไอกิโดส่วนใหญ่เกิดที่เส้นเอ็น และมีรายงานว่า พบกรณีเสียชีวิตสองสามราย จากการโดน "ชิโฮนาเกะ" ในรุปแบบการ รับน้องสไตล์ญี่ปุ่น Japanese-style เฮซซิง [36][37][38]

การฝึกจิตใจ

แก้

ไอกิโดมีการฝึกทั้งจิตใจ และร่างกาย เน้นการผ่อนคลายร่างกาย และใจ ในภาวะตึงเครียด หรือมีภยันตราย [39] นี่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ ผู้ฝึกสามารถเข้า และผสมผสานท่วงท่าที่เป็นพื้นฐานของวิชาไอกิโด และเผชิญหน้ากับการโจมตีด้วยความกล้าและเที่ยงตรง [40] อาจารย์อุเอชิบะ เคยกล่าวว่า ผู้ฝึก "ต้องมีความกล้ายอมรับ 99% ของการโจมตีของคู่ต่อสู้ และเผชิญหน้ากับความตาย" จึงจะสามารถทำเทคนิคได้โดยไม่ลังเล [41] ผู้ฝึกวิชาป้องกันตัว ควรตั้งใจฝึกมากกว่าการต่อสู้ และพัฒนาการดำรงค์ชีวิต ในทุกวันด้วย การฝึกแบบนี้ สำคัญมากกับผู้ฝึกวิชาไอกิโด [42]

คำวิจารณ์

แก้

ส่วนใหญ่วิชาไอกิโดจะถูกคำวิจารณ์ ว่าขาดความจริงจังในการฝึกฝน การโจมตีโดย อูเกะ (โดยที่ นาเกะต้องป้องกัน) ถูกวิจารณ์ว่า "อ่อนแอ" "ขาดความแม่นยำ" และ "ดีกว่าการโจมตีในการ์ตูนนิดหน่อย"[43][44] การเข้าทำที่อ่อนแอของ อูเกะ ทำให้ นาเกะ ตอบโต้แบบจำเจ และทำให้ขาดการพัฒนาความแข็งแรง และกล้ามเนื้อ ที่จำเป็นต่อการฝึกอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ของทั้งคู่ [43] เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ บางสไตล์ อนุญาตให้ผู้ฝึกลดการยอมกันลง หากฝึกได้นานแล้ว แต่ยังคงปรัชญาของการฝึกไว้ ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อสามารถป้องกันตนเองและคู่ฝึกได้แล้วเท่านั้น โชโดคัง ไอกิโด Shodokan Aikido ได้แก้ปัญหาโดยการอนุญาตให้ผู้ฝึกแข่งขันกันได้อย่างจริงจัง [17] แต่การประยุกต์แบบนี้ก็ทำให้เกิดข้อโต้เถียง บ้างก็บอกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะปรับวิธีเพราะ การวิจารณ์ไม่มีเหตุผล หรือไม่ก็ บอกว่าไม่ได้ฝึกป้องกันตัว หรือเพื่อการต่อสู้ แต่เพื่อจิตวิญญาน เพื่อสุขภาพ หรือเหตุผลอื่นๆ [45]

นอกจากนั้น คำวิจารณ์ก็มีเกี่ยวกับช่วงบั้นปลายชีวิตของอาจารย์ อุเอชิบะ ที่อิวามะช่วง ค.ศ. 1942 - กลางปี 1950 ช่วงนั้น อาจารย์ได้เน้นการฝึกจิตวิญญาน และปรัชญาของไอกิโด ดังนั้น การโจมตีเข้าที่ จุดอันตรายโดยนาเกะ หรือ การเข้าอิริมิ หรือ การเริ่มเทคนิคโดยนาเกะ หรือ การแยกแยะระหว่างโอโมเตะกับ อูระเทคนิค หรือการใช้อาวุธ ก็ลดลง จนแทบจะหายไปจากการฝึก การขาดการฝึกในด้านต่างๆเหล่านี้ ทำให้คิดไปได้ว่า เป็นต้นเหตุของการสุญเสียประสิทธิภาพ ของผู้ฝึกไอกิโดบางคน [46]

ในทางกลับกัน มีบางคนวิจารณ์ผู้ฝึกไอกิโด ที่ไม่ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอกับการฝึกจิตวิญญาน ที่อาจารย์อุเอชิบะมุ่งเน้น เขาวิจารณ์ว่า "โอเซนเซ ให้กำเนิดไอกิโด โดยหยุดการสืบเนื่องทางความคิด และปรัชญาจากยุคเดิม "[47] ซึ่งก็คือ ผู้ฝึกไอกิโด ที่ยึดแนวทางของ ยิวยิทสู ยิวยิตสู หรือเคนยิทสู kenjutsu กำลังแยกออกจากสิ่งที่อาจารย์อุเอุชิบะสอน คนวิจารณ์แนวนี้ สนับสนุนให้ผู้ฝึกเข้าถึงแนวคิดที่ว่า "การก้าวข้ามทางจิตวิญญาน ที่อาจารย์สอนไว้ คือรากฐาน [ตามต้นฉบับ] ที่สำคัญ"[47]

พลังคิ

แก้
 
นี่คือตัวอักษรคันจิของคำว่า คิ คันจิ จน ค.ศ. 1946 ได้เปลี่ยนเป็น

การศึกษาพลังคิ ki เป็นส่วนสำคัญในวิชาไอกิโด และประกอบไปด้วยการฝึกทั้ง "กาย" และ "ใจ" ตัวอักษรคันจิ คันจิ ของคิ เขียนว่า เป็นสัญลัษณ์ แสดง ฝาที่ปิดหม้อข้าวที่เต็มอยู่ หรือ "ไออุ่น ที่หล่อเลี้ยง" [48]

อักษรคิ พบบ่อยในคำศัพท์ประจำวันในภาษาญี่ปุ่น เช่น สุขภาพ ญี่ปุ่น: 元気โรมาจิgenki; "health", หรือ อาย ญี่ปุ่น: 内気โรมาจิuchiki; "shyness"ส่วนใหญ่ คิ จะนิยามว่าเป็น การรวมกันของกายกับใจ แต่ในแนวทางดั้งเดิมของศิลปะป้องกันตัว จะนิยามว่า "พลังชีวิต" อาจารย์โกโซ ชิโอดะ ของสำนักโยชินคังไอกิโด Gōzō Shioda's Yoshinkan Aikido ที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น "สไตล์แข็ง" ที่ปฏิบัติตามแนวทางของอาจารย์ อุเอชิบะ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง สรุปความว่า คิ คือ จังหวะการใช้เทคนิค โดยใช้พลังทั้งหมดของกายมุ่งไปที่จุดหนึ่ง [31] ช่วงบั้นปลายของอาจารย์อุเอชิบะ การใช้ คิ จะเริ่มผ่อนคลายลง มาจากการที่ลูกศิษย์ของอาจารย์ ทาเคมูสึ ไอคิ Takemusu และลูกศิษย์รุ่นหลังอีกหลายคน ที่สอนเรื่อง คิ จากมุมนี้ สำนักคีโซไซตี้ ของอาจารย์โคอิชิ โทเฮ Koichi Tohei's Ki Society มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์การพัฒนา คิ โดยแบ่งแยกระดับผู้เรียนไอกิโด และ ผู้เรียนเรื่อง คิออกจากกัน [49]

ชุดฝึก และ ขั้นของระดับการฝึก

แก้
 
ฮาคามะ Hakama พับอย่างปราณีตเพื่อรักษาจีบ

ผู้ฝึกไอกิโด (เรียกว่า ไอกิโดกะ นอกประเทศญี่ปุ่น) จะได้เลื่อนขั้นโดยการสอบ "เกรด หรือ คิว" (kyū) ตามด้วย"ระดับ หรือ ดั้ง" (dan) บางสำนักใช้สีของสาย เพื่อแยกเกรด ส่วนมากใช้ขาวกับดำ black belts เพื่อแยกเกรดสูงกับต่ำ บางสำนักก็ใช้หลายสี การสอบแต่ละสำนักจะหลากหลาย ดังนั้นระดับของสำนักหนึ่ง อาจเทียบไม่ได้กับอีกสำนัก [2] บางสำนักไม่อนุญาตให้สอบระดับ ดั้ง จนโตกว่าอายุ 16

ระดับ สาย สี ประเภท
คิว   ขาว มูดานฉะ mudansha / yūkyūsha
ดั้ง   ดำ ยูดานฉะ yūdansha

ชุดฝึกไอกิโด เรียกว่า ไอกิโดกี (aikidōgi) คล้ายกับชุดของศิลปะป้องกันตัวทั่วไป เคโกจิ (keikogi) มีกางเกง และเสื้อคลุมสีขาว ทั้งแบบหนา ยูโดสไตล์ ("ยูโด-style") แบบบาง คาราเต้สไตล์ ("คาราเต้-style") เป็นผ้าคอตตอน[2] ชุดสำหรับไอกิโดก็มีที่ทำแขนเสื้อให้สั้นพอดีข้อศอก

สำนักส่วนใหญ่จะมี กางเกงขากว้างสีดำหรือน้ำเงิน เรียกว่า ฮาคามะ hakama (พบในเคนโด้ และ ไอเอโด้ เค็นโด iaido) ส่วนใหญ่สำหรับ ผู้ฝึกระดับ ดั้ง หรือไม่ก็ครูฝึก บางสำนักก็ให้ใส่ฮาคามะ โดยไม่ต้องมีถึงระดับดั้ง ก็ได้[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Saotome, Mitsugi (1989). The Principles of Aikido. Boston, Massachusetts: Shambhala. p. 222. ISBN 978-0-87773-409-3.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Westbrook, Adele; Ratti, Oscar (1970). Aikido and the Dynamic Sphere. Tokyo, Japan: Charles E. Tuttle Company. pp. 16–96. ISBN 978-0-8048-0004-4.
  3. Sharif, Suliaman (2009). 50 Martial Arts Myths. New Media Entertainment. p. 135. ISBN 978-0-9677546-2-8.
  4. Ueshiba, Kisshōmaru (2004). The Art of Aikido: Principles and Essential Techniques. Kodansha International. p. 70. ISBN 4-7700-2945-4.
  5. 5.0 5.1 5.2 Pranin, Stanley (2006). "Aikido". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  6. Pranin, Stanley (2006). "Aikijujutsu". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  7. Pranin, Stanley (2007). "Aiki". Encyclopedia of Aikido. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 21 August 2007.
  8. Pranin, Stanley (2007). "O-Sensei". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  9. Draeger, Donn F. (1974) Modern Bujutsu & Budo - The Martial Arts and Ways of Japan. New York: Weatherhill. Page 137. ISBN 0-8348-0351-8
  10. 10.0 10.1 Stevens, John; Rinjiro, Shirata (1984). Aikido: The Way of Harmony. Boston, Massachusetts: Shambhala. pp. 3–17. ISBN 978-0-394-71426-4.
  11. Pranin, Stanley (2006). "Ueshiba, Morihei". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  12. Pranin, Stanley. "Morihei Ueshiba and Onisaburo Deguchi". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  13. Oomoto Foundation (2007). "The Teachings". Teachings and Scriptures. Netinformational Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-13. สืบค้นเมื่อ 14 August 2007.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Shishida, Fumiaki. "Aikido". Aikido Journal. Berkeley, CA: Shodokan Pub., USA. ISBN 0-9647083-2-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  15. 15.0 15.1 Pranin, Stanley (2006). "Mochizuki, Minoru". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  16. Pranin, Stanley (2006). "Yoshinkan Aikido". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  17. 17.0 17.1 17.2 Shishido, Fumiaki; Nariyama, Tetsuro (2002). Aikido: Tradition and the Competitive Edge. Shodokan Publishing USA. ISBN 978-0-9647083-2-7.
  18. Pranin, Stanley (2006). "Tohei, Koichi". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  19. 19.0 19.1 Homma, Gaku (1990). Aikido for Life. Berkeley, California: North Atlantic Books. p. 20. ISBN 978-1-55643-078-7.
  20. Pranin, Stanley (2006). "Jumbi Taiso". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Homma, Gaku (1990). Aikido for Life. Berkeley, California: North Atlantic Books. pp. 20–30. ISBN 978-1-55643-078-7.
  22. Shifflett, C.M. (1999). Aikido Exercises for Teaching and Training. Berkeley, California: North Atlantic Books. ISBN 978-1-55643-314-6.
  23. Pranin, Stanley (2008). "Ikkyo". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  24. Pranin, Stanley (2008). "Yonkyo". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  25. Pranin, Stanley (2008). "Kokyunage". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  26. Pranin, Stanley (2008). "Juji Garami". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  27. Pranin, Stanley (2008). "Kaitennage". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  28. Amdur, Ellis. "Irimi". Aikido Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  29. 29.0 29.1 Shioda, Gōzō (1968). Dynamic Aikido. Kodansha International. pp. 52–55. ISBN 978-0-87011-301-7.
  30. Taylor, Michael (2004). Aikido Terminology – An Essential Reference Tool In Both English and Japanese. Lulu Press. ISBN 978-1-4116-1846-6.
  31. 31.0 31.1 Shioda, Gōzō; trans. by Payet, Jacques,; Johnston, Christopher (2000). Aikido Shugyo: Harmony in Confrontation. Shindokan Books. ISBN 978-0-9687791-2-5.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  32. Scott, Nathan (2000). "Teachings of Ueshiba Morihei Sensei". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-31. สืบค้นเมื่อ 1 February 2007.
  33. Dang, Phong (2006). Aikido Weapons Techniques: The Wooden Sword, Stick, and Knife of Aikido. Charles E Tuttle Company. ISBN 978-0-8048-3641-8.
  34. Ratti, Oscar; Westbrook, Adele (1973). Secrets of the Samurai: The Martial Arts of Feudal Japan. Edison, New Jersey: Castle Books. pp. 23, 356–359. ISBN 978-0-7858-1073-5.
  35. 35.0 35.1 Ueshiba, Kisshomaru; Moriteru Ueshiba (2002). Best Aikido: The Fundamentals (Illustrated Japanese Classics). Kodansha International. ISBN 978-4-7700-2762-7.
  36. 36.0 36.1 Aikido and injuries: special report by Fumiaki Shishida Aiki News 1989;80 (April); partial English translation of article re-printed in Aikido Journal [1] เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  37. 37.0 37.1 Pranin, Stanley (1983). "Aikido and Injuries". Encyclopedia of Aikido. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
  38. Zetaruk, M; Violán, MA; Zurakowski, D; Micheli, LJ (2005). "Injuries in martial arts: a comparison of five styles". British journal of sports medicine. BMJ Publishing Group. 39 (1): 29–33. doi:10.1136/bjsm.2003.010322. PMC 1725005. PMID 15618336. 15618336. สืบค้นเมื่อ 15 August 2008.
  39. Hyams, Joe (1979). Zen in the Martial Arts. New York: Bantam Books. pp. 53–57. ISBN 0-553-27559-3.
  40. Homma, Gaku (1990). Aikido for Life. Berkeley, California: North Atlantic Books. pp. 1–9. ISBN 978-1-55643-078-7.
  41. Ueshiba, Morihei; trans. by Stevens, John (1992). The Art of Peace. Boston, Massachusetts: Shambhala Publications, Inc. ISBN 978-0-87773-851-0.
  42. Heckler, Richard (1985). Aikido and the New Warrior. Berkeley, California: North Atlantic Books. pp. 51–57. ISBN 978-0-938190-51-6.
  43. 43.0 43.1 Pranin, Stanley (Fall 1990). "Aikido Practice Today". Aiki News. Aiki News. 86. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2007.
  44. Ledyard, George S. (June 2002). "Non-Traditional Attacks". www.aikiweb.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 29 July 2008.
  45. Wagstaffe, Tony (30 March 2007). "In response to the articles by Stanley Pranin – Martial arts in a state of decline? An end to the collusion?". Aikido Journal. www.aikidojournal.com. สืบค้นเมื่อ 29 July 2008.
  46. Pranin, Stanley (1994). "Challenging the Status Quo". Aiki News. Aiki News. 98. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2007.
  47. 47.0 47.1 Shibata, Minoru J. (2007). "A Dilemma Deferred: An Identity Denied and Dismissed". Aikido Journal. www.aikidojournal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 9 December 2007.
  48. YeYoung, Bing F. "The Conceptual Scheme of Chinese Philosophical Thinking – Qi". Literati Tradition. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 12 February 2007.
  49. Reed, William (1997). "A Test Worth More than a Thousand Words". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-19. สืบค้นเมื่อ 11 August 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • AikiWeb Aikido Information— เว็บไอกิโด มีบทความ บทสนทนา รูป คอลัมน์ วิกิ และอื่น ๆ