ศรีรัศมิ์ สุวะดี
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี[2] มีพระนามเดิม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514) เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ศรีรัศมิ์ สุวะดี | |
---|---|
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (BMS, พ.ศ. 2545) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (MS, พ.ศ. 2550) |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2544–2557) |
บุตร | สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ชั้นยศ | พลตรี[1] |
บังคับบัญชา | ทหารรักษาพระองค์ |
ลายมือชื่อ | |
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ได้อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ในเวลาต่อมา จนในปี 2557 มีข่าวริบนามสกุลพระราชทานและกวาดล้างครอบครัวและเครือข่ายของพระองค์ ซึ่งสื่อมองว่าเป็นการหย่าร้างของทั้งสอง สุดท้ายท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์กับทั้งได้รับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ประวัติ
พื้นฐานครอบครัวและการศึกษา
ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี มีชื่อเล่นว่า อี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคน[3][4][5] ของอภิรุจ สุวะดี และวันทนีย์ (สกุลเดิม: เกิดอำแพง) พื้นเพเดิมเป็นชาวจังหวัดสมุทรสงคราม[6] บิดาเป็นชาวตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนมารดาเป็นชาวมอญจากตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร[7] ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์มีพี่สาวและพี่ชายคือ สุดาทิพย์ ม่วงนวล[8], ณรงค์ สุวะดี[9] ส่วนน้องสาวและน้องชายคือ ปณิดา สุวะดี และณัฐพล สุวะดี อดีตราชองครักษ์เวร[10][11] ส่วนพลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เป็นน้าของเธอ[12][13]
ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดสุนทรสถิต (สามัคคีวิทยาคม) ในอำเภอบ้านแพ้ว[7][14] ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุกูลราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร[15][16] และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดน้อยใน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร[14][17][18] ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ก่อนจะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (หลักสูตร 4 ปี) เมื่อปี พ.ศ. 2540[6] ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2545 และสำเร็จการศึกษาปริญญาโท หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาวิชาการพัฒนาการครอบครัวและเด็ก คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.94[19][20]
เข้าสู่พระราชวงศ์
ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์เริ่มเข้าถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยรับผิดชอบหน้าที่การงานในฐานะข้าราชการพลเรือนในพระองค์ นอกจากนี้ยังได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในด้านศิลปาชีพ[21][22]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ต่อมาเข้ารับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น "หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544[23] โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวว่า
ตอนนี้อยู่เป็นครอบครัว มีกันอยู่ 4 คน มีเรา หม่อม พระองค์ภา และท่านหญิง อยู่กับหม่อมมาตั้งแต่ปี 2536 อยู่มานาน รู้จักกันมา 9-10 ปีแล้ว ดูใจกันมานานแล้ว [...] เราอยากจะสร้างครอบครัวขึ้นมาให้ดี หม่อมมีหน้าที่ดูแลเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้าน ดูแลข้าราชบริพาร รวมทั้งถวายงานสมเด็จ (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) เราใช้ชีวิตกันแบบสบาย ๆ ไม่มีอะไร [...] เราอายุ 50 ปีแล้ว ไม่อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ อยากได้ครอบครัวที่ดี ที่คนพอใจเป็นประโยชน์ คบได้ ไม่ใช่เป็นการเอาอะไรมาใส่ประชาชน แต่ขอให้ประชาชนยอมรับว่าคนนี้ใช้ได้ ถ้าเป็นหม่อมในพระบรมฯ ทุกคนก็ต้องกราบไหว้ มันก็พัง[24]
พระบิดาและพระมารดาของพระองค์รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "อัครพงศ์ปรีชา"[12] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[25] หม่อมศรีรัศมิ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้า ชั้นที่1 ฝ่ายใน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และได้มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร พระราชโอรส เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548[26] ภายในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548[27]
ทรงขอลาออกจากฐานันดรศักดิ์
กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศขณะนั้น) มีหนังสือลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 แจ้งถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน "อัครพงศ์ปรีชา" โดยให้ผู้ใช้ชื่อสกุลพระราชทานนี้ในปัจจุบันกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม[28] โดยก่อนหน้านั้นมีการกวาดล้างพระญาติใกล้ชิดของพระองค์ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง[12] โดยทั้งหมดกลับไปใช้สกุลเดิมก่อนพระราชทานคือ "เกิดอำแพง"[29][30][31] ต่อมาข้อมูลนามสกุลนั้นผิด เมื่อตรวจสอบแล้วจึงเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลว่า "สุวะดี" อันเป็นชื่อสกุลเดิมทีแท้จริง[5][32] ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557[25] ซึ่งสำนักข่าวบีบีซีมองว่า นี่อาจเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การหย่าร้างของทั้งสองพระองค์[12]
วันที่ 12 ธันวาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (ยศในขณะนั้น) ได้ทรงนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยศในขณะนั้น) เป็นลายลักษณ์อักษรว่าขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557[33] การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานเงิน 200,000,000 บาท แก่พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์เพื่อทรงใช้ในการดำรงพระชนม์ชีพและทรงดูแลครอบครัว[34] มีข่าวกระทรวงการคลังยืนยันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยศในขณะนั้น) ขอรับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และยังขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเผยแพร่เอกสารที่ไม่เหมาะสมในสื่อทุกชนิด[35]
วันที่ 13 ธันวาคม สังคมออนไลน์ส่งภาพศรีรัศมิ์ทรงทำบัตรประชาชนใหม่ต่อ ๆ กัน[36][37] เธอทรงใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" และพระองค์ได้ทรงย้ายออกจากวังศุโขทัยเสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี[38][39] อย่างไรก็ตามเธอจะมีคำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" เนื่องจากพระองค์ได้ทรงรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ ได้ให้ข้อมูลว่าพระองค์ได้ทรงลาออกจากการเป็นข้าราชการทหาร[40] วันที่ 17 ธันวาคม เธอเขียนจดหมายขอบคุณสื่อมวลชนที่ติดตาม และขอปฏิบัติธรรมเงียบ ๆ กับครอบครัว[41][42] เนื่องจากมีสื่อมวลชนติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดจนรบกวนการปฏิบัติธรรมของพระองค์[43]
พระกรณียกิจ
พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร นั้นจะเน้นในด้านครอบครัวและเด็กเป็นหลัก โดยโครงการแรกของคือ โครงการสายใยรักจากแม่สู่ลูก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[44] ที่รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[45][46][47] โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความเข้มแข็งในครอบครัว เพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันครอบครัว และลดปัญหาสังคมทางหนึ่ง[44] ต่อมาได้มีพระดำริในการเปิด ศูนย์ ๓ วัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว อันจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นวงจรทุกช่วงวัย[48] ระหว่างวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยชรา ให้มีความสัมพันธ์กลมเกลียว[49]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงประกอบพระกรณียกิจครั้งสุดท้ายก่อนลาออกจากฐานันดรศักดิ์ในพิธีเปิดมหกรรม 9 ปี สายใยรักแห่งครอบครัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2557[50]
ด้านสาธารณสุข
มีพระดำริจัดตั้ง ศูนย์ศรีทวีรัก อันมีความหมายว่า "ศูนย์แห่งการแบ่งปันและเพิ่มพูนความรัก" มีหลักการเดียวกับสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่เปลี่ยนมาเป็นบริการแก่ผู้สูงอายุแทน โดยให้ลูกหลานนำผู้สูงอายุมาฝากในเวลากลางวันเพื่อไปประกอบอาชีพ ณ ที่นั่นผู้สูงอายุก็จะพบปะกับสหายวัยเดียวกัน บริการผู้สูงวัยอายุระหว่าง 65-80 ปี ให้ได้รับการพักผ่อนอย่างมีความสุขในบั้นปลายชีวิต[44]
มีการสร้าง ศุโขโยคะ ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างสุขภาพ ณ พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[51] เมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาใช้ประโยชน์ มีระบบการออกกำลังกายแบบ "ไจโรทานิก" (Gyrotonic)[52] โดยกล่าวไว้ว่า "ไปเล่นที่เมืองนอกมา เห็นว่าอะไรดีก็นำเข้ามาให้ประชาชนได้เล่นกัน"[53] ที่สุดศุโขโยคะ ได้ปิดตัวลงในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557[54]
นอกจากนี้มีการจัดตั้ง "กองทุนทีปังกรนภัทรบุตร" ที่นำเงินไปสนับสนุนโครงการที่ช่วยเหลือทารก ซึ่งถือเป็นโครงการที่ผลักดันให้มีการจัดทำนโยบายสาธารณสุขระดับประเทศแก่ทารกวัยตั้งแต่ 0-5 ปี รวมไปถึงการช่วยเหลือทารกที่คลอดก่อนกำหนด และการรณรงค์และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร[49]
ด้านสาธารณประโยชน์
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (พระยศในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ[55]
ในด้านสาธารณประโยชน์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น หลังอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้ทรงร่วมกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยการทำความสะอาดพื้นอาคารและกระจกของอาคารศรีรัศมิ์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[56] โดยก่อนหน้านี้ได้ทรงเยี่ยมผู้ประสบภัย และประทานถุงยังชีพแก่ราษฎรในต่างจังหวัด[57]
ทั้งนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า คือ จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อปี พ.ศ. 2554[58] รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2556[59][60] เป็นต้น
มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- ศรีรัศมิ์ สุวะดี (9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 — 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
- หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 — 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 — 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
- ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 — ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[64]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[65]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[65]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[66]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[67]
พระยศทหาร
พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 |
ชั้นยศ | พลตรีหญิง |
- ว่าที่ร้อยตรีหญิง[68] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ (5 เมษายน พ.ศ. 2555)[68]
- ร้อยตรีหญิง และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (12 เมษายน พ.ศ. 2555)[69]
- พันเอกหญิง (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)[70]
- ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักเวชศาสตร์ครอบครัว กรมแพทย์ทหารบก (1 พฤศจิกายน 2556)[71]
- พลตรีหญิง (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556)[72]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ปริญญากิตติมศักดิ์ | สถาบัน | อ้างอิง |
---|---|---|
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมธุรกิจการเกษตร | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | [73] |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปฐมวัย | มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ | [74] |
ครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการปฐมวัย | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | [74] |
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | [75] |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | [76] |
สถานที่อันเนื่องด้วยนาม
- อาคารศรีรัศมิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[77] ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ อาคาร 4[78]
อ้างอิง
- ↑ ได้รับพระราชทานยศ
- ↑ "ย้อนรำลึกภารกิจ 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี'". ThaiRath. 16 December 2014.
- ↑ "ประวัติหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 29 เมษายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-14. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายงานพิเศษ : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร...หม่อมศรีรัศมิ์...กับวันที่ทรงรอคอย!!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 5 พฤษภาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 5.0 5.1 ""อัครพงศ์ปรีชา" สูงสุดคืนสู่สามัญ". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 6 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 6.0 6.1 "Simplicity, warmth win hearts" (ภาษาอังกฤษ). เนชั่น. 30 เมษายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 "รอยทาง 'สุวะดี' แห่งแม่กลอง และ 'เกิดอำแพง' แห่งท่าจีน". เนชั่นสุดสัปดาห์. 19 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ขุมธุรกิจ "อัครพงศ์ปรีชา-ม่วงนวล" คดี "พงศ์พัฒน์"". สำนักข่าวอิศรา. 27 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พลิกปูม "ณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา" อดีตขรก.สำนักพระราชวัง คดีอ้างเบื้องสูง". สำนักข่าวอิศรา. 30 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (65ง): 4. 11 เมษายน พ.ศ. 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "โปรดเกล้าฯพระราชทานยศร้อยตรี'พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์'". ไทยโพสต์. 13 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "Thailand crown prince strips wife's family of royal name" (ภาษาอังกฤษ). BBC online. 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-11-30.
- ↑ "Eye on the throne, Thailand's crown prince appears to be putting his house in order" (ภาษาอังกฤษ). South China Morning Post. 4 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 "ย้อนรอยทางชีวิต 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี'". คมชัดลึก. 19 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สหาย "หม่อมศรีรัศมิ์" เผยหม่อมใจดี รักเด็ก". ASTV ผู้จัดการ. 5 พฤษภาคม 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-25. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'วันโภชนาเมตตาจิต' วันแห่งความรักและเมตตา". เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'เจริญ' ถวายทอง "พระโอรส" ศิริราชยังคึกคัก". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 4 พฤษภาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "9 ปี 'ศรีรัศมิ์ สุวะดี' บนถนนสายชะตากรรม". เนชั่นสุดสัปดาห์. 19 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สมเด็จพระบรมฯทรงร่วมยินดี ‘พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์’ ทรงสำเร็จปริญญาโท
- ↑ "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จพร้อมด้วยพระองค์ทีฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 28 กรกฎาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ "หม่อมศรีรัศมิ์ฯ"มีครรภ์". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 14 กุมภาพันธ์ 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-02. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Pavin Chachavalpongpun (15 December 2014). "A Thai Princess' Fairy Tale Comes to an End". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
- ↑ "พระบรมฯทรงตรัสถึงหม่อมศรีรัศมิ์". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 29 เมษายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หม่อมศรีรัศมิ์แห่ง 'พระโอรส' ชาวสยาม". เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 25.0 25.1 "สมยศล่า "เสี่ยโจ้" ค่าหัว1ล. มัดแน่น "พงศ์พัฒน์" เร่งคลี่ส่วย "นมถ." มท.ลบสกุล "อัครพงศ์ปรีชา" กลับไปใช้ "สุวะดี"". ข่าวสดออนไลน์. 2 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หม่อมศรีรัศมิ์ฯ มีพระประสูติการพระโอรส". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 29 เมษายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-07. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 2. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ราชเลขานุการฯ ทำหนังสือแจ้งยกเลิกชื่อสกุลพระราชทาน "อัครพงศ์ปรีชา"". สำนักข่าวอิศรา. 29 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ยกเลิกสกุล "อัครพงศ์ปรีชา" โฆษก ตร.เผยได้รับหนังสือแล้ว". ASTV ผู้จัดการ. 29 พฤศจิกายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-03. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สตช.แจงยกเลิกชื่อสกุล 'อัครพงศ์ปรีชา' ให้กลับไปใช้ 'เกิดอำแพง'". ไทยรัฐออนไลน์. 29 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สกุลพระราชทาน ให้เลิกใช้ "อัครพงศ์ปรีชา" กลับเป็น "เกิดอำแพง" ตามเดิม ส่งพงศ์พัฒน์คืนศาล-นอนคุก". ข่าวสดออนไลน์. 30 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หลบไม่รายงานตัว รองเต่า คนสนิทพงศ์พัฒน์". ไทยรัฐออนไลน์. 1 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (29ข): 1. 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". ไทยรัฐ. 14 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กระทรวงการคลัง (15 ธันวาคม 2557). "ข่าวที่ 106/2557 การชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรณีการพระราชทานเงินให้ท่านผู้หญิงศรีรัศม์ สุวะดี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-16. สืบค้นเมื่อ 2014-12-15.
- ↑ "'ท่านผู้หญิงบุษบา' ทำบัตรประชาชนใหม่". เดลินิวส์. 13 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แชร์ว่อนภาพ 'ศรีรัศมิ์ สุวะดี' ทำบัตรประชาชน หลังคืนสู่สามัญชน". ข่าวสด. 13 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิดเอกสารบัตรประชาชน น.ส.ศรีรัศมิ์ สุวะดี ไม่มีชื่อท่านผู้หญิงบุษบา". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นิมนต์พระ 9 รูปเข้าบ้าน "น.ส.ศรีรัศมิ์" ที่ราชบุรี - จนท.รื้อป้อมตำรวจริมรั้วหน้าบ้าน". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภาพสุดท้ายอดีตพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ 9ปีบนฐานันดรศักดิ์ กลับสู่สถานะสามัญชนชื่อ 'น.ส.ศรีรัศมิ์ สุวะดี'". มติชนออนไลน์. 14 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สาร 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์' ขอบคุณสื่อ ขออยู่บ้านปฏิบัติธรรมกับครอบครัว". ไทยรัฐ. 17 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ศรีรัศมิ์" ติดป้ายหน้าบ้าน ขอปฏิบัติธรรมเงียบ ๆ". ข่าวสดออนไลน์. 17 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตร.คุมเข้มรถที่เข้า-ออก บ้านศรีรัศมิ์". ไทยรัฐ. 17 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 44.0 44.1 44.2 "ย้อนรำลึกภารกิจ 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี'". ไทยรัฐ. 16 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Princess visits family project". The Nation (ภาษาอังกฤษ). 4 August 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 30 July 2011.
- ↑ "A chronicle of a Prince" (ภาษาอังกฤษ). เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Kupluthai Pungkanon. "Prince celebrates his first birthday" (ภาษาอังกฤษ). เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-15. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""หม่อมศรีรัศมิ์" ทรงเปิดศูนย์ 3 วัยสานสายใยรักครอบครัวที่เกาะยอ". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 4 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 49.0 49.1 "โครงการในวันวานของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 20 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเปิดงานมหกรรม 9 ปี สายใยรักแห่งครอบครัวฯ ปี 2557". สถานีโทรทัศนืสีกองทัพบกช่อง 7. 6 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ศุโขโยคะ" พระดำริในพระองค์หญิงศรีรัศมิ์ฯ เพื่อสุขภาพของคนไทย". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 11 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ศุโขโยคะ ชวนออกกำลังกายแนวใหม่ ไจโรโทนิค ช่วยร่างกายกระชับ". ไทยรัฐออนไลน์. 11 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ ทรงเปิด "ศุโขโยคะ" ส่วนที่2". มติชนออนไลน์. 24 ธันวาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปิดศุโขโยคะ". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 11 ธันวาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-11. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12
- ↑ "หม่อมศรีรัศมิ์เสด็จบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ม.เกษตร". เดลินิวส์. 30 พฤศจิกายน 2554. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์" เสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ประสบอุทกภัยกรุงเก่า". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงห่วง 2 หนูน้อยเหยื่อโคลนถล่มเขาเบญจา ทำกำพร้า ทรงรับพระอุปภัมภ์". TLC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงรับบุตรอิหม่ามยะโก๊บไว้ในพระอุปถัมภ์". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ครอบครัว "หร่ายมณี" ซาบซึ้งพระเมตตาอุปถัมภ์การศึกษาทายาท". สำนักข่าวไทย. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ประวัติความเป็นมา". มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล. 29 กรกฎาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานครเรื่อง จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของ"มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 14 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กองทุนทีปังกรนภัทรบุตร". สำนักงานเครือข่ายมารดาและทารกฯ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (11ข): 1. 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 65.0 65.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (20ข): 2. 2 ธันวาคม พ.ศ. 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-12-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (20ข): 3. 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (12ข): 1. 5 กันยายน พ.ศ. 2550.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 68.0 68.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (65ง): 3. 11 เมษายน พ.ศ. 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (13ข): 1. 12 เมษายน พ.ศ. 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (17ข): 1. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (153ง): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (25ข): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-11.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "เปิดแฟ้มประวัติ 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05.
- ↑ 74.0 74.1 "เปิดแฟ้มประวัติ 'ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี' จากพระราชวงศ์สู่สามัญชน". ไทยรัฐออนไลน์. 14 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "มสธ.ทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตแด่พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ-พระองค์ภา". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 14 มกราคม 2553. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สีสันวันแห่งความสำเร็จ "บัณฑิตใหม่รั้วโดม มธ." รับปริญญา '55". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 1 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พิธีเปิด "อาคารศรีรัศมิ์"". มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้อาคาร และสถานที่ฯ ของคณะสังคมศาสตร์ มก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 2019-08-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศรีรัศมิ์ สุวะดี
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ประกาศสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เก็บถาวร 2014-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน