การตรวจพิจารณาในประเทศไทย
การตรวจพิจารณาในประเทศไทยมีประวัติอย่างยาวนาน การก่อกวน การชักใยและการควบคุมข่าวการเมืองอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องปกติในรัฐบาลทุกสมัย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกันเสรีภาพในการพูด และการประกันเสรีภาพดังกล่าวดำเนินต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กลไกในการตรวจพิจารณารวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวด การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลหรือทหารต่อสื่อแพร่สัญญาณ และการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง[1] การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ถูกห้ามตามรัฐธรรมนูญ แม้คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยส่วนใหญ่มุ่งไปยังคนต่างด้าว หรือคู่แข่งของผู้นำการเมือง สังคมและพาณิชย์ที่เป็นชาวไทย[2]
ในการสำรวจดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก จัดโดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 59 จาก 167 ประเทศในปี 2547[3] แล้วร่วงลงเป็นอันดับที่ 107 ในปี 2548[4] และไปอยู่อันดับที่ 153 จาก 178 ประเทศในปี 2554[5] แล้วค่อยขึ้นมาอยู่อันดับที่ 137 จาก 179 ประเทศในปี 2555[6]
สิ่งพิมพ์
แก้การตรวจพิจารณาในประเทศไทยกรณีแรกเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีสิ่งพิมพ์ในประเทศ[7] หนังสือกฎหมายเล่มแรกของไทยถูกห้ามและทุกสำเนาและต้นฉบับเดิมถูกสั่งให้ทำลาย[8]
ภายใต้พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ตำรวจสันติบาล (เจ้าพนักงานการพิมพ์) มีอำนาจออกคำเตือนแก่สิ่งพิมพ์เผยแพร่ด้วยการละเมิดต่าง ๆ เช่น ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน[9]
จากการศึกษาของหอสมุดรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2393 ถึง 2542 มีหนังสือและวารสารถูกห้ามอย่างเป็นทางการโดยมีการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งหนังสือหลายเล่มที่ได้รับพิจารณาเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน หนังสือหลายเล่มสะท้อนความรู้สึกต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งยุคสมัย แต่ตีพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งในภาษาไทย จีน เวียดนาม เกาหลี มลายู อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศสและสเปน
ในอดีต พระราชบัญญัตินี้และอีกหลายฉบับถูกใช้เพื่อจำกัดเสรีภาพสื่ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัฐบาลทหารที่มีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี (ถึงปี 2516) หนังสือเกี่ยวกับศักดินาไทย พะมหากษัตริย์และศาสนาที่ถูกรัฐบาลไทยมองว่าก่อปัญหาถูกห้าม และผู้ประพันธ์ถูกจำคุก[10] การก่อการกำเริบที่นำโดยนักศึกษาในปี 2516 นำมาซึ่งยุคเสรีภาพสื่อสั้น ๆ กระทั่งการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารในปี 2519 ซึ่งลงเอยด้วยการจำกัดเสรีภาพสื่อขนานใหญ่ ทศวรรษต่อมาค่อย ๆ เห็นการลดการตรวจพิจารณาสื่อลงเป็นลำดับ
หนังสือ
แก้แม้จะมีการวิพากวิจารณ์ราชวงศ์ พระมหากษัตริย์และประเด็นที่ละเอียดอ่อนของรัฐบาล หนังสือทั้งนอกและในประเทศโดยปกติจะไม่ถูกห้ามและแจกจ่ายได้อย่างเสรี การถกสาธารณะทั้งหมดเกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถึงเหตุต้องพระแสงปืนเข้าที่พระเจ้าถูกห้ามและมิให้สอนในโรงเรียนแม้กระทั่งวิชาเอกประวัติศาสตร์
The Devil's Discus โดยเรน ครูเกอร์ (2507) ผลของรายงานการสืบสวน ซึ่งสอบสวนกรณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ถูกห้ามทันที และผู้ประพันธ์ถูกห้ามมิให้เข้าประเทศไทย แต่น่าแปลกที่ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาไทย (ใช้ชื่อว่า กงจักรปีศาจ) ในปี 2515 ไม่ถูกห้ามทั้งคู่ อย่างไรก็ดี 16 หน้าแรกของกงจักรปีศาจทุกสำเนาที่มีอยู่ถูกตัดออกและดูเหมือนจะไม่มีข้อความใดที่ขาดหายไปตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ
หนังสือ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (2538) ของ สายพิน แก้วงามประเสริฐ ที่ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ค้นหาคำตอบ จนพบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป้าประสงค์ทางการเมืองและชี้ให้เห็นความล้มเหลวของการสอนวิชาประวัติศาสตร์ แต่เมื่อถึงปี 2539 ผู้เขียนก็ถูกชาวจังหวัดนครราชสีมาประท้วง และข่มขู่ จนสำนักพิมพ์มติชนต้องเก็บหนังสือออกจากท้องตลาด และผู้เขียนย้ายออกจากจังหวัดนครราชสีมา[11]
The Revolutionary King โดยวิลเลียม สตีเวนสัน (2542) มีความผิดพลาดพื้น ๆ และเอ่ยถึงพระมหากษัตริย์ตลอดทั้งเล่มด้วยพระนามเล่นครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า "เล็ก" หนังสือเล่มนี้ยังแสดงทฤษฎีใหม่ถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องของญี่ปุ่นในการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หนังสือเล่มนี้ถูกห้ามอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยนับแต่วันตีพิมพ์ อย่างไรก็ดี ในปี 2548 ตามรายงานว่า หนังสือดังกล่าวสามารถสั่งซื้อได้จากร้านหนังสือในประเทศ โดยการแทรกแซงของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีร้านใดเต็มใจเก็บไว้
ข้อโต้เถียงที่ปัจจุบันกว่าเกิดขึ้นเมื่อ เดอะคิงเนเวอร์สไมส์ (2549) โดยพอล แฮนด์ลีย์ อดีตผู้สื่อข่าวในกรุงเทพมหานคร ที่สำนักพิมพ์อธิบายว่าเป็น "ชีวประวัติตีความ" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หนังสือเองถูกห้ามในประเทศไทยตั้งแต่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม 2549 แต่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหนังสือดังกล่าวถูกห้ามตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 เนื่องจากสำนักพิมพ์ไม่เผยแพร่สำเนาหรือส่วนที่คัดมาของหนังสือออกมาก่อน จึงเหมือนกับว่าหนังสือถูกห้ามเป็นการป้องกันไว้ก่อนเนื่องจากชื่อเรื่องเพียงอย่างเดียว
การตรวจพิจารณาหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาไทยที่ตีพิมพ์ในประเทศ ขณะเดียวกัน หนังสือส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2542 ถูกห้าม "อย่างไม่เป็นทางการ" ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะรวบรวมข้อมูลการตรวจพิจารณา
การเซ็นเซอร์ตนเองเป็นกระแสที่เติบโตขึ้นในประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฏิเสธจะบรรจุหนังสือ "รัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ซึ่งเป็นประชุมบทนิพนธ์วิจารณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 ในภาษาไทย เขียนโดยปัญญาชนและนักวิชาการชั้นนำ รวมทั้งนิธิ เอียวศรีวงศ์, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ธงชัย วินิจจะกูลและสุลักษณ์ ศิวรักษ์ อย่างไรก็ดี ร้านหนังสือภาษาไทยบางร้านได้นำมาวางขาย และมีรายงานว่าขายได้รวดเร็ว ในเดือนเดียวกัน ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผิดสัญญาความตกลงทั้งขายและจัดจำหน่าย "อะกูป์ฟอร์เดอะริช" ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เป็นเพราะบางแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาจาก เดอะคิงเนเวอร์สไมล์ หนังสือดังกล่าวเขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ รองศาสตราจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 6 มีนาคม ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปฏิเสธการขายหนงสือตาม แม้จะไม่ได้ถูกห้ามอย่างเป็นทางการ และอธิการบดีจะกลับการตัดสินใจและมีการขายหนังสือที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยฯ ปัจจุบัน ข้อสรุปอย่างกว้างขวางในคณะผู้อภิปรายซึ่งจัดที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย คณะผู้อภิปรายคาดว่า อะกูป์ฟอร์เดอะริช จะถูกยึดและถูกห้าม
กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) ริเริมโครงการหนังสือที่ถูกห้ามเพื่อสแกนหนังสือที่ถูกห้ามในประเทศไทยให้ได้มากที่สุดเพื่อการตีพิมพ์เสรีบนเว็บ เริ่มด้วยหนังสือในหลายภาษาเกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ระหว่างที่ยังมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอยู่นั้น หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม (อ้างถึงคาร์ล มาร์กซ, ฟรีดริช เองเกลส์, เลนิน, สตาลิน, ทร็อตสกีหรือเหมา เจ๋อตุง) ร่วมกับสิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่เกี่ยวข้อง เช่น แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ทุน ถูกห้าม ถึงขนาดที่มิให้ถูกใช้ และ/หรือ สอนในวิชาสังคมศาสตร์ การห้ามนี้ขยายไปถึงสิ่งพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งโดยปกติเกี่ยวข้องกับองค์การลัทธิเหมา และขบวนการผู้นิยมระหว่างประเทศปฏิวัติ (Revolutionary Internationalist Movement) ปัจเจกบุคคลที่มีวรรณกรรมคอมมิวนิสต์ (หนังสือ สิ่งพิมพ์/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียง ภาพวีดิทัศน์) ในครอบครอง จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นกบฏต่อรัฐบาลไทย
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ในราชกิจจานุเบกษามีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๐๙/๒๕๕๗ อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 สั่งห้ามนำเข้าหนังสือ "A Kingdom in Crisis" ของแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ โดยอาศัยบทวิจารณ์หนังสือสองบท[12]
หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
แก้สื่อยังถูกตรวจพิจารณาจากการตีพิมพ์ข่าวที่สร้างความเสียหายแก่พระมหากษัตริย์ รัฐบาลไทยถูกกล่าวหาว่ากดดันสื่อให้จำกัดการรายงานข่าวที่สร้างความเสียหายนั้น
หนังสือพิมพ์ ดิอีโคโนมิสต์ ฉบับหนึ่งในปี 2545 ถูกยึด เพราะอ้างถึงพระมหากษัตริย์ "อย่างไม่เหมาะสม"[13] นิตยสารวิจารณ์การเมืองและสังคม ฟ้าเดียวกัน ถูกห้ามและผู้ขายถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองที่มีสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี[14] กฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้เป็นปกติเพื่อการตรวจพิจารณาและการปราบทางการเมืองในประเทศไทย เช่นเดียวกับเป็นกฎหมายที่ห้ามอภิปรายหรือวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลไทย
วันที่ 6 สิงหาคม 2548 บางกอกโพสต์ ตีพิมพ์ขึ้นหน้าหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรอยแตกที่ทางวิ่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เอ่ยนาม บทความที่ผู้เชี่ยวชาญการบินแนะนำให้ก่อสร้างใหม่เพื่อซ่อมแซมรอยแตกขนาดใหญ่ในทางวิ่ง การสอบสวนภายในของหนังสือพิมพ์พบว่า ขณะที่ยังมีรอยแตกขนาดเล็กบนไหล่ทางวิ่ง แหล่งข่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่าผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าทางวิ่งต้องมีการก่อสร้างใหม่ แหล่งข่าวนิรนาม ผู้อ้างว่าเป็นนักธุรกิจที่มีพี่ชายใกล้ชิดกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยบางคน ปฏิเสธจะยืนยันความเห็นของเขา หัวหน้าผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวถูกตัดสินว่ากระทำการโดยประมาทในการตีพิมพ์เรื่องราวถูกไล่ออก นักวิจารณ์บางคนในหนังสือพิมพ์อ้างว่า แหล่งข่าวถูกกดดันจากรัฐบาลมิให้ยืนยันรายละเอียดของเรื่อง[15]
ในปี 2549 หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่ ราชเลขานุการส่วนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้กำลังจะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้บริหารบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น เมื่อการแต่งตั้งของเขาถูกพระราชวังขัดขวาง หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ต้องดึงหลายพันสำเนาออกจากเครื่องพิมพ์หลังตีพิมพ์เรื่องราวโดยอ้างคำพูดของนักวิชาการฝ่ายซ้ายซึ่งเรียกร้องให้สื่อสืบสวนว่าเหตุใดหม่อมราชวงศ์ทองน้อยจึงถูกไล่ออกในลักษณะแปลก ๆ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงเรียกผู้สื่อข่าวกลุ่มหนึ่งไปยังพระราชวัง ซึ่งมีรายงานว่าพระองค์ตรัสว่า "Do you have a problem with me?"[16]
วันที่ 22 กันยายน 2558 สำนักพิมพ์ไทยของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ปฏิเสธไม่ยอมพิมพ์บทความพาดหัว "As Thai king ails, crown’s future unclear" (เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระประชวร อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ชัดเจน)[17] วันที่ 1 ธันวาคม 2558 สำนักพิมพ์ไทยของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ปฏิเสธไม่ยอมพิมพ์บทความพาดหัว "Thai economy and spirits are sagging" (เศรษฐกิจและจิตวิญญาณของไทยกำลังร่วง)[18]
แบบเรียน
แก้ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า อภิชนไทยปฏิบัติทั่วไป แต่จะยากขึ้นเพราะมีสื่อสังคมและการควบคุมความคิดของมหาชนไม่ง่ายเหมือนก่อนแล้ว คริส เบเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย มองว่าการตรวจพิจารณาประวัติศาสตร์เป็นความหลงผิด และว่าการตัดประวัติศาสตร์อย่างนี้ถอดมาจากคู่มือของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ วินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ว่า การละเว้นทักษิณเป็นความผิดปกติ แต่เขาอธิบายไม่ได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม เขาว่า บรรณาธิการอาจตัดชื่อออก และชื่อทักษิณจะถูกแทรกในฉบับปรับปรุงครั้งหน้า[19]
แบบเรียนใหม่นี้ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ "ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น "ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก"[19]
อินเทอร์เน็ต
แก้การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตดำเนินการโดยตำรวจ, กสท โทรคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ก่อนหน้ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยส่วนใหญ่มุ่งบล็อกเว็บไซต์ลามก แต่ในหลายปีที่ผ่านมามีกระแสการประท้วงรุนแรง ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พระราชกำหนด[20] กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ใหม่ และพระราชบัญญัติความมั่นคงฉบับใหม่[21] อย่างต่อเนื่อง การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นประเด็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความมั่นคงของชาติและการเมืองแทน
ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่อินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การตรวจตรา (Under Surveillance) โดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนในปี 2554[22] และอยู่ในกลุ่ม "ไม่เสรี" จากรายงานเสรีภาพบนเน็ต 2011 โดยฟรีดอมเฮาส์ ซึ่งอ้างการตรวจพิจารณาทางการเมืองจำนวนมาก และการจับกุมบล็อกเกอร์และผู้ใช้ออนไลน์อื่น[23]
เหตุผลของการบล็อก:
ก่อน 2549[24] 2553[25]
เหตุผล11% 77% เนื้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ รวมถึงการวิจารณ์รัฐบาล การเมือง และพระมหากษัตริย์ 60% 22% เนื้อหาลามก อนาจาร 2% <1% เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพนัน 27% <1% การละเมิดลิขสิทธิ์ ผลิตภัณฑ์และบริการเถื่อน ยาเถื่อน การขายอุปกรณ์ทางเพศ โสเภณี ฯลฯ
ยูอาร์แอลที่ถูกบล็อกโดยคำสั่งศาล:[25]
ปี คำสั่งศาล ยูอาร์แอล
ที่ถูกบล็อก2550 1 2 2551 13 2071 2552 64 28,705 2553 39 43,908
รวม 117 74,686
มีการประเมินว่า มียูอาร์แอลอีกหลายหมื่นยูอาร์แอลถูกบล็อกโดยปราศจากคำสั่งศาลผ่านคำร้องอย่างไม่เป็นทางการหรือภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การประเมินให้จำนวนเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกกว่า 110,000 เว็บ และเพิ่มขึ้นในปี 2553[26]
ตามรายงานของ แอสโซซิเอเตดเพรส พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีส่วนต่อการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจำนวนคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ทุกปีในประเทศ[27] ขณะที่ระหว่างปี 2533 ถึง 2548 มีการไต่สวนในศาลไทยประมาณห้าคดีต่อปี แต่หลังจากนั้น มีการไต่สวนราว 400 คดีต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,500[27]
เว็บไซต์ถูกบล็อกโดยโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (URL) และ/หรือ ที่อยู่ไอพี อย่างไรก็ดี มีเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเพียงราวร้อยละ 20 ที่ถูกระบุด้วยที่อยู่ไอพี ที่เหลืออีกร้อยละ 80 ไม่สามารถระบุที่ตั้งทางกายภาพเจาะจงได้ หากเว็บไซต์เหล่านี้สามารถระบุได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผู้ดำเนินการจะสามารถถูกฟ้องคดีตามกฎหมาย ฉะนั้น การขาดที่อยู่ไอพีจึงเป็นการหลบเลี่ยงที่สำคัญ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบล็อกทางอ้อมโดย "ร้องขอ" อย่างไม่เป็นทางการให้ผู้ให้บริหารอินเทอร์เน็ต 54 รายของประเทศ ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่แสวงผลกำไร บล็อกเว็บไซต์ แม้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีข้อกำหนดให้ต้องยินยอมตาม "คำร้อง" เหล่านี้ ไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงฯ เขียนเมื่อปี 2549 ว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ยอมปฏิบัติตามจะถูกบังคับลงโทษโดยรัฐบาลในรูปของการจำกัดความกว้างแถบความถี่ (bandwidth) หรือกระทั่งเสียสัญญาอนุญาตดำเนินการ
ปัจจุบันการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเฉพาะห้ามเข้าเว็บไซต์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้อื่นได้โดยใช้อีเมล เมสเซนเจอร์และทวิตเตอร์ได้โดยไม่ถูกตรวจพิจารณา
เดือนมกราคม 2553 มีรายงานว่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่จะเพิ่มการรักษาความสงบเรียบร้อยไซเบอร์ กรมฯ จึงได้ขยายความร่วมมือระหว่าง 'หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานวิจัยและสถาบันการศึกษา' ในการสร้างทรัพยากรกฎหมายดิจิตอล ดีเอสไอร่วมมือกับสองมหาวิทยาลัยในการฝึกนักศึกษาในการสนับสนุนการสอบสวนไซเบอร์ของรัฐ แม้จะมีภัยคุกคามหลายประการต่อไซเบอร์สเปซของไทย แต่รองกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) อัศนีย์ ก่อตระกูล รับรู้ว่าคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ใหญ่ที่สุดในปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นการยากที่จะละเลยบทบาทของสถาบันวิชาการที่ถูกขอให้มีส่วนในการตรวจพิจารณาไซเบอร์[28][29]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงว่า ระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม ได้บล็อกยูอาร์แอลไปกว่า 100 ยูอาร์แอลภายใต้กฎอัยการศึกซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557[30] วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช. เรียกตัวหัวหน้าสื่อมายังสโมสรทหารบกและสั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ตรวจพิจารณาข้อมูลข่าวสารใดที่ดูยั่วยุ ปลุกปั่น อันจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย มีความลับของทางราชการ มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือหมิ่นประมาท คสช.[31] นอกจากนี้ ยังขู่ปิดสื่อสังคมหากผู้ให้บริการไม่สามารถสกัดกั้นข้อมูลข่าวสารซึ่งปลุกระดมความไม่สงบหรือปลุกระดม "การคัดค้านการรักษาความสงบ"[32]
เพื่อสนองต่อกิจกรรมต่อต้านรัฐประการบนสื่อสังคม คสช. สั่งกระทรวงไอซีทีให้บล็อกเฟซบุ๊กในประเทศไทยเป็นระยะ มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม เย็นวันนั้น เฟซบุ๊กถูกบล็อกทั่วประเทศเป็นเวลาราวหนึ่งชั่วโมง[33] ต่อมา รองโฆษก คสช. ออกมาแถลงว่า เป็นเหตุขัดข้องทางเทคนิค คสช. ไม่มีนโยบายปิดเฟซบุ๊ก และจากการตรวจสอบพบข้อขัดข้องทางเทคนิคที่เกตเวย์ (gateway) ด้านกระทรวงไอซีทีและ กสทช. ก็ออกมายืนยันทำนองเดียวกัน[34]
รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ (single gateway) เพื่อให้รัฐบาลสามารถสอดส่องทุกกิจกรรมออนไลน์ได้ โดยในเดือนสิงหาคม 2558 ปรากฏเอกสารข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้ง single gateway โดยอ้างเหตุผลว่า "เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต"[35]
ในเดือนธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2559 ซึ่งฮิวแมนไรท์วอชว่า ให้อำนาจรัฐบาลจำกัดเสรีภาพในการพูด บังคับใช้การสอดส่องและการตรวจพิจารณา และการโต้ตอบนักกิจกรรม และมีบัญญัติว่าศาลสามารถสั่งให้ลบสารสนเทศที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเท็จและสร้างความเสียหายต่อบุคคลอื่นหรือสาธารณะออกจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีผลใหญ่หลวงต่อการค้นคว้าและการรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิที่รัฐสนับสนุน[36]
สื่อแพร่สัญญาณ
แก้โทรทัศน์
แก้ในการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ ฉากที่แสดงความเปลือย การบริโภคแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติดและอาวุธที่เล็งไปยังมนุษย์ถูกตรวจพิจารณาเป็นปกติโดยทำเบลอตรงส่วนนั้น เช่นเดียวกับสื่อทุกแขนง การวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้รับอนุญาต
หลังรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองส่งรถถังและกองทหารไปยึดสถานีโทรทัศน์ทุกแห่ง ผู้นำคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองสั่งให้ตรวจพิจารณารายงานข่าวและผลสำรวจความคิดเห็นที่อาจส่งผลเสียต่อกองทัพ[37] ผู้กระจายเสียงโทรทัศน์ไทยมิได้แพร่คลิปการเดินขบวนต่อต้านรัฐประหาร ผู้ให้บริหารเคเบิลท้องถิ่นของซีเอ็นเอ็น บีบีซี ซีเอ็นบีซี เอ็นเอชเคและช่องข่าวต่างประเทศอีกจำนวนมากถูกตรวจพิจารณา โดยภาพใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณถูกหยุดการถ่ายทอด[38]
หลังรัฐประหารในปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกแห่งหยุดออกอากาศรายการปกติและให้แพร่สัญญาณรายการของกองทัพบกเท่านั้น[39] คสช. จับกุมวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ซึ่งดำเนินการสถานีไทยพีบีเอส หลังเขาอนุญาตให้แพร่สัญญาณรายการพิเศษเกี่ยวกับรัฐประหารทางยูทูบแทนโทรทัศน์[40][41]
วิทยุ
แก้สถานีวิทยุในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล และแต่เดิมดำเนินการโดยรัฐบาลและกองทัพเป็นหลัก[42]
ในเดือนพฤษภาคม 2536 กองทัพปิดสถานีวิทยุของกองทัพที่ให้กลุ่มข่าวเอกชนยืมเป็นเวลาสามวันหลังสถานีดังกล่าววิจารณ์แสดงข้อคิดเห็นต่อกองทัพ[42]
เมื่อเดือนมีนาคม 2546 การแพร่สัญญาณวิทยุไอเอ็นเอ็นถูกยกเลิกชั่วคราวหลังเครือข่ายออกอากาศการวิจารณ์รัฐบาลของสมาชิกคณะรัฐมนตรีคนหนึ่ง ในการสนองต่อการประท้วงสาธารณะ รัฐบาลจึงส่งการแพร่ภาพคืนและอ้างว่า การปิดชั่วคราวดังกล่าวมีสาเหตุมาจากไอเอ็นเอ็นไม่สามารถต่อสัญญาอนุญาตแพร่สัญญาณ
การพูด
แก้พระมหากษัตริย์ไม่สามารถถูกพูดถึงในทางไม่ดี และกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ก็มีผลใช้บังคับ เมื่อปี 2529 วีระ มุสิกพงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ถูกพิพากษาลงโทษ จำคุกและห้ามจากการเมืองหลังคำปราศรัยหาเสียงซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ผมเลือกเกิดมันใจกลางพระมหาราชวังไม่ดีเหรอ เป็นพระองค์เจ้าวีระไปแล้ว ถ้าเป็นพระองค์เจ้าป่านนี้ก็ไม่มายืนพูดให้คอแหบคอแห้ง นี่เวลาก็ตั้งหกโมงครึ่ง ผมเสวยน้ำจัณฑ์เพื่อให้มันสบายอกสบายใจไม่ดีกว่าเหรอ ที่มายืนพูดนี่ก็เมื่อยพระชงฆ์เต็มที่แล้วนะ"[43]
คำพิพากษาของศาลไทยไม่อาจถูกวิจารณ์ได้ หลังคำวินิจฉัยชี้ขาดซึ่งพิพาทเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ซึ่งศาลอาญาจำคุกกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน ศาลร่วมกับตำรวจระบุปัจเจกบุคคล 16 คนที่ถูกจับภาพบนภาพข่าวโทรทัศน์ขณะวิจารณ์คำพิพากษา[44] ภายหลังศาลตัดสินทุกคนมีความผิดและตัดสินจำคุกไป 4 คน ได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี[45]
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการใช้กฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทบ่อยครั้งเพื่อปิดปากผู้ไม่เห็นด้วยในรัฐบาลทักษิณ ซึ่งบ่อยครั้งโดยตัวนายกรัฐมนตรีเอง ทำให้เกิดคดีความผิดฐานหมิ่นประมาทและคดีฟ้องกลับคั่งค้างในศาล
ดูเพิ่ม
แก้- ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง การงดเว้นการติดต่อกับบุคคลบนสื่ออินเทอร์เน็ต
อ้างอิง
แก้- ↑ 00.html "Publish And Perish"[ลิงก์เสีย], Phil Zabriskie Bangkok, Time, 11 March 2002
- ↑ Saksith Saiyasombut, Thai blogger and journalist (16 August 2011). "Thailand's unpopular lese majeste law claims another victim". Siam Voices. Asian Correspondent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 16 August 2011.
...numerous cases show the problem about how this law is applied. In theory, anybody can file such a complaint to the police, who are obliged to investigate every one of them, no matter how nonsensical they are. They can forward them to the prosecution and subsequently to the court which then has to decide on the very ambiguously worded law as well. Throw in the also very vague 2007 Computer Crimes Act (which was at one time planned to be replaced by an even worse new draft), then you are in (perhaps deliberately) uncharted legal territory
- ↑ "Press Freedom Index 2004" เก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders
- ↑ "Press Freedom Index 2005" เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders
- ↑ "Press Freedom Index 2010" เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders
- ↑ "Press Freedom Index 2011-2012" เก็บถาวร 2012-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders
- ↑ Freedom of expression and the Media in Thailand เก็บถาวร 2009-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ARTICLE19 and Asian Forum for Human Rights and Development, December 2005, ISBN 1-902598-79-2
- ↑ "The book banned. Knowledge imprisonment", Sarakadee magazine, "Part 1: Introduction" เก็บถาวร 2007-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "Part 2: Scoop" เก็บถาวร 2007-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, and "Part 3: Box" เก็บถาวร 2007-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Thai. (English translations: Part 1, Part 2, Part 3)
- ↑ "Country Reports on Human Rights Practices: Thailand", Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, U.S. Department of State, 23 February 2001
- ↑ "Jit Pumisak" เก็บถาวร 2005-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Songs for Life, Center for Southeast Asian Studies, Northern Illinois University (NIU). Retrieved 23 August 2012
- ↑ หนังสือต้องห้าม. ฐานข้อมูลการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้น 19 มกราคม 2556
- ↑ "ด่วน ! สมยศ สั่งห้ามสั่งเข้า หนังสือ "A Kingdom in Crisis" เพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-12. สืบค้นเมื่อ 2014-11-13.
- ↑ ,660559, 00.html "Thai police examine Economist article"[ลิงก์เสีย], John Aglionby, The Guardian, 1 March 2002
- ↑ Sulak Sivaraksa, January 25th Letter to the Prime Minister, 31 January 2007 เก็บถาวร 2007-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Scoop journalist vindicated" เก็บถาวร 2007-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation, 28 January 2007
- ↑ Asia Sentinel, "Thailand's Royal Wealth: How Thailand’s Royals Manage to Own All the Good Stuff", Asia Sentinel, 2 March 2007
- ↑ Thai printers refuse to publish New York Times edition over article about king, The Guardian, 22 Sep 2015.
- ↑ Thai printer replaces International New York Times article with blank space, The Guardian, 1 Dec 2015.
- ↑ 19.0 19.1 Loved and Hated, Former Premier of Thailand Is Erased From Textbook
- ↑ "Thai Cabinet agrees to lift emergency decree in Bangkok" เก็บถาวร 2011-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kocha Olam, CNN World, 21 December 2010
- ↑ "Thailand lifts state of emergency, what now?" เก็บถาวร 2011-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Asian Correspondent.com, Hybrid News Limited, 22 December 2010
- ↑ Internet Enemies เก็บถาวร 2011-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, Paris, March 2011
- ↑ "Country Report: Thailand" เก็บถาวร 2011-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom on the Net 2011, Freedom House, 18 April 2011
- ↑ "Illicit Website Reported Since April 2002". Royal Thai Police. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-20. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
- ↑ 25.0 25.1 "Facts & Figures: Netizen Arrests & Internet Censorship", iLaw, December 2010
- ↑ "Thailand's Massive Internet Censorship" เก็บถาวร 2013-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pavin Chachavalpongpun, Asia Sentinel, 22 July 2010
- ↑ 27.0 27.1 Todd Pitman and Sinfah Tunsarawuth (27 May 2011). "Thailand arrests American for alleged king insult". Bangkok: Deseret News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
- ↑ "Computer villains beware - digital forensics gather pace", Suchit Leesa-nguansuk, Bangkok Post, 20 January 2010
- ↑ "Internet censorship: The iron firewall of the 21st Century", Jonathan Fox, East Asia Forum, 19 June 2010
- ↑ "Over 100 URLs blocked under Martial law". Prachatai. 2014-05-24. สืบค้นเมื่อ 2014-05-26.
- ↑ "คสช. ประกาศให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่แทน รมต. - เรียกสื่อ หัวหน้าส่วนราชการเข้ารายงานตัว" [Thai]. Manager. 2014-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-23. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "NPOMC threatens to shut down social media if used to incite unrest". The Nation. 2014-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-23. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ "ปลัดไอซีทีเผย ปิดเฟซบุ๊กทั่วประเทศเป็นระยะ". Spring News. 2014-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2014-05-28.
- ↑ เปล่าปิดเฟซบุ๊ก คสช.ปัดพัลวัน!. ไทยรัฐ. 29 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2557.
- ↑ ที่ นร0505/ว 273 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 27 สิงหาคม 2558
- ↑ Thailand: Cyber Crime Act Tightens Internet Control
- ↑ "Activists, former MP arrested after staging protest" เก็บถาวร 2007-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pravit Rojanaphruk, The Nation, 21 September 2006
- ↑ "Thai coup leaders criticize media", Associated Press, 29 September 2006
- ↑ "แถลงฉบับ 4 ให้สถานีวิทยุ-โทรทัศน์ถ่ายทอดรายการจากโทรทัศน์กองทัพบก" [Thai]. Thai Rath. 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ ""ไทยพีบีเอส" ยุติออกอากาศออนไลน์ - ทหารคุมตัว "วันชัย ตัน" รอง ผอ. ออกจากห้องออกอากาศ". Khao Sod. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22Thai.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยพีบีเอสออกอากาศผ่านยูทูบ". Prachatai. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-23.
- ↑ 42.0 42.1 "Thailand Human Rights Practices, 1994" เก็บถาวร 2006-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Country Reports on Human Rights Practices for 1994, Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, U.S. Department of State, February 1995
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๕๔/๒๕๓๑
- ↑ "Shortlist for EC (Election Commission) candidates submitted on Aug 10" เก็บถาวร 2006-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation, 29 July 2006
- ↑ "EC trio's supporters jailed" เก็บถาวร 2006-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation, 4 August 2006