การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยก่อนหน้ารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ส่วนใหญ่มุ่งเน้นต่อการบล็อกเว็บไซต์ลามกอนาจาร หลังจากปีนั้น ในประเทศจึงพบเจอกระแสการประท้วงที่รุนแรงในบางครั้ง ความขัดแย้งในระดับภูมิภาค[1] พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน[2] กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ฉบับใหม่[3] และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน ฉบับปรับปรุง[4] การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตในแต่ละปีมีเพิ่มขึ้น โดยเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นไปที่ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความมั่นคงแห่งชาติ และปัญหาทางการเมือง ณ พ.ศ. 2553 มีเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในประเทศไทยประมาณมากกว่า 110,000 เว็บไซต์[5] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 มีการเปิดตัวศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านไซเบอร์ขึ้น โดยในช่วงระหว่างเปิดตัวถึงมีนาคม พ.ศ. 2557 ทางศูนย์ฯ ได้ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อกยูอาร์แอลไป 22,599 อัน[6]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ก่อให้เกิดการปิดกั้นเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตในประเทศมากขึ้น ผ่านการใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7]
รัฐธรรมนูญไทยให้เสรีภาพในการพูดและสื่อ "ตามที่กฎหมายกำหนด" แต่รัฐบาลกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเหล่านี้อย่างล้นหลาม[8] การกรองอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจัดอยู่ในประเภทเครื่องมือทางสังคม การเมือง และอินเทอร์เน็ต และทาง OpenNet Initiative ไม่พบหลักฐานการกรองในพื้นที่ความขัดแย้ง/ความมั่นคงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554[9] นักข่าวไร้พรมแดนจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่อยู่ภายใต้การสอดแนมใน พ.ศ. 2554[10]
ใน พ.ศ. 2556 หนึ่งปีก่อนรัฐประหาร ฟรีดัมเฮาส์ (Freedom House) จัดประเภทให้ไทยมีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ 'เสรีบางส่วน' และใน พ.ศ. 2557 มีการให้คะแนนประเทศไทยโดยรวมที่ 62 คะแนน ("ไม่เสรี") (0=ดีสุด, 100=แย่สุด) โดยอ้างถึงการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจำนวนมาก และการจับกุมบล็อกเกอร์และผู้ใช้ออนไลน์อื่น ๆ โดยอยู่ในอันดับที่ 52 จาก 65 ประเทศ[11] ณ พ.ศ. 2562 ประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ 'ไม่เสรี' ที่มีคะแนนโดยรวมที่ 35 คะแนน ซึ่งแย่ที่สุดในอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นรองเพียงจีน เวียดนาม และปากีสถาน[12]
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ AFP, Thailand says southern unrest worsening, 8 March 2011 เก็บถาวร 14 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Thai Cabinet agrees to lift emergency decree in Bangkok" เก็บถาวร 7 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kocha Olam, CNN World, 21 December 2010
- ↑ Act on Computer Crime B.E. 2550 เก็บถาวร 10 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ Library of Congress Web Archives, 10 June 2007, English translation
- ↑ "Thailand lifts state of emergency, what now?" เก็บถาวร 7 เมษายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Asian Correspondent.com, Hybrid News Limited, 22 December 2010
- ↑ "Thailand's Massive Internet Censorship" เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pavin Chachavalpongpun, Asia Sentinel, 22 July 2010
- ↑ "Over 100 URLs blocked under Martial law", Prachatai, 24 March 2014
- ↑ Under martial law, Thai authorities shut down some websites, Prachatai, 22 March 2014
- ↑ "Thailand", Country Reports on Human Rights Practices for 2011, Bureau of Democracy, Human Rights and Labor, U.S. Department of State
- ↑ "Thailand Country Profile", Access Contested: Security, Identity, and Resistance in Asian Cyberspace, Ronald J. Deibert, John G. Palfrey, Rafal Rohozinski, and Jonathan Zittrain, MIT Press and the OpenNet Initiative, Nov 2011, ISBN 978-0-262-01678-0
- ↑ Internet Enemies เก็บถาวร 15 มีนาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, Paris, March 2011
- ↑ "Freedom on the Net, 2014: Thailand". Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2014-12-07.
- ↑ "Freedom on the Net 2019" (PDF). Freedom House.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Website Censorship in Thailand – 2008-2011" เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily News and Views, 2Bangkok.com, 31 July 2010
- Wikileaks: Internet Censorship in Thailand, WikiLeaks, 18 November 2007; includes full block lists and a detailed analysis
- Global Integrity: Internet Censorship, A Comparative Study; puts Thai online censorship in cross-country context.
- Statistics of website censorship in Thailand, 2007-2012 เก็บถาวร 2023-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by iLaw.or.th