อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" ในเดือนกุมภาพันธ์ มีจุดประสงค์แลกเปลี่ยนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างรัฐและเอกชนได้ทั่วโลก
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย[1] ในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนี้ก็เริ่มโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (Schoolnet) มีองค์กรเอกชนที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตรายแรกอย่างถาวร ความเร็ว 64kbps คือธนาคารไทยพาณิชย์[2]
ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 85 ของจำนวนประชากร[3] และตามข้อมูลเชิงลึกของ Ookla ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ หรืออินเทอร์เน็ตบ้าน (Fixed Broadband) อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยที่ 205.63 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)[4] ตามหลังผู้นำ 3 ประเทศแรกได้แก่ ชิลี จีน และสิงคโปร์
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ (ADSL) และเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูง (VDSL) โดยบางพื้นที่ก็จะใช้เป็นสายเคเบิ้ลด้วยเทคโนโลยี DOCSIS, เทคโนโลยี G.SHDSL หรือโครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติกจากต้นทางไปยังบ้าน (Fiber to the Home - FTTH) แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่สำหรับผู้บริโภคมีตั้งแต่ 10 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที (สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต) ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะใช้สายอินเทอร์เน็ตแบบเช่าใช้ (Leased line) หรือ อีเทอร์เน็ต/เอ็มพีแอลเอส ผ่านสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติก ที่เชื่อมโยงอาคารสำนักงานจำนวนมากในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เช่น ย่านสุขุมวิท สีลม และสาทรของกรุงเทพฯ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2548 โดยมีการริเริ่มใช้โคร่งขายแบบไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณในปี พ.ศ. 2547[5] โดยมีจำนวนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถึง 3,399,000 เครื่อง (พ.ศ. 2555) ซึ่งสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6]
ชื่อโดเมน
แก้โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) : .th
โดเมนระดับที่สอง
- .ac สำหรับสถาบันการศึกษา
- .co สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจ
- .go สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล
- .mi สำหรับหน่วยงานทางทหาร
- .or สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
- .net สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
- .in สำหรับบุคคลทั่วไป และหน่วยงานทุกประเภท
ทั้งนี้ยังมี โดเมนระดับบนสุดที่สอง ซึ่งเป็นบริการจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดขึ้นใหม่อีกชื่อหนึ่งคือ .ไทย เพื่อใช้เป็นชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่นมีทั้งจดทะเบียนเพื่อใช้เป็นโดเมนหลัก และใช้ควบคู่ไปกับ .th ดั้งเดิม
แกนหลักของอินเทอร์เน็ต
แก้เดือน/ปี | ปริมาณการรับส่งข้อมูล(จิกะบิตต่อวินาที) | |
---|---|---|
ระหว่างประเทศ | ในประเทศ | |
09/2021 | 16,590 | 9,924 |
04/2020 | 12,318 | 8,666 |
08/2019 | 9,377 | 7,629 |
05/2018 | 6,628 | 5,870 |
08/2017 | 4,750 | 4,358 |
08/2016 | 3,144 | 3,794 |
08/2015 | 1,954 | 2,768 |
08/2014 | 1,008 | 1,833 |
08/2013 | 640 | 1,300 |
08/2012 | 407 | 1,021 |
08/2010 | 158 | 721 |
12/2009 | 104 | 619 |
12/2008 | 55 | 251 |
12/2007 | 22 | 157 |
12/2006 | 10 | 54 |
12/2005 | 7 | 29 |
12/2004 | 3 | 21 |
12/2003 | 2 | 10 |
12/2002 | 1 | 2 |
12/2001 | 0.6 | 1.089 |
12/2000 | 0.25 | 0.58 |
เดือนเมษายน 2563 ประเทศไทยมีปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศที่ 12,317,648 เมกะบิตต่อวินาที และภายในประเทศที่ 8,666,005 เมกะบิตต่อวินาที[9]
ความต้องการในการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความนิยมของบริการเครือข่ายสังคม เช่น ยูทูบ, อินสตาแกรม, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ ซึ่งเป็นผลพวงจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ ที่เพิ่มขึ้น
อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ
แก้ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศทั้งหมด 11 รายประกอบด้วย[10]
รหัส | ชื่อย่อ | ผู้ให้บริการ |
---|---|---|
AS4651 | NT(CAT)-IIG | บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) |
AS38040 | NT(TOT)-IIG | |
AS45430 | AWN(SBN)-IIG | บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด |
AS45796 | UIH-IIG | บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จํากัด |
AS7568 | CSL-IIG (CS Loxinfo) | บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) |
AS10089 | DTAC-IIG | บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เดิม |
AS45629 | JASTEL-IIG | บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด |
AS132876 | SYMC(Symphony)-IIG | บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) |
AS58430 | TCCT-IIG | บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด |
AS38082 | TICC(TRUE)-IIG | บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด |
AS137557 | IGC-IIG | บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เกทเวย์ จำกัด |
ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ ชิน คอร์ปอเรชั่น (ปัจจุบันคืออินทัช โฮลดิ้งส์) ได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศประเภทที่ 2 และใบอนุญาตบริการแลกเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. (ปัจจุบันคือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)) ในปี 2548 ซึ่ง กสท โทรคมนาคม (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
ชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ
แก้ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศทั้งหมด 14 รายประกอบด้วย[11]
รหัส | ชื่อย่อ | ผู้ให้บริการ |
---|---|---|
AS4652 | TH-IX | บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) |
AS37930 | NT(TOT)-IX | |
AS45788 | UIH-IX | บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จํากัด |
AS45265 | CSL-IX | บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) |
AS45642 | JasTel-IX / JTIX | บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค จำกัด |
AS45458 | AWN(SBN)-IX | บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด |
AS132880 | SYMC(Symphony)-IX | บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) |
AS45667 | TCCT-IX | บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด |
AS38081 | TICC(TRUE)-IX | บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด |
AS133543 | DTAC-IX | บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เดิม |
AS63529 | BKNIX | บริษัท บีเคนิกซ์ จำกัด |
AS140867 | IGC-IX | บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เกทเวย์ จำกัด |
AS138507 | BBIX (TH) | บริษัท บีบีไอเอ็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด |
AS7596* | IIR (NECTEC) | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
หมายเหตุ : AS7596 - IIR (NECTEC) เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการและการวิจัยเท่านั้น มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เพียงรายเดียวที่เชื่อมต่อด้วยคือ ไอเน็ต (INET) โดยบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ก่อนปีพ.ศ. 2546 IIR (NECTEC) เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2546 เป็นต้นมา ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายจะต้องมีสถานะใน CAT-NIX (TH-IX ปัจจุบัน) ที่ดำเนินการโดย กสท โทรคมนาคม ต่อมา CAT-NIX ได้รีแบรนด์ตัวเองเป็น Thailand IX (TH-IX) และเชิญชวนให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศเข้าร่วมเกตเวย์
ปัจจุบัน Thailand IX เป็นชุมสายอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยปริมาณการรับส่งข้อมูลมากกว่า 250 จิกะบิตต่อวินาที โดยขณะนี้มีการตั้งค่าการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยระหว่างชุมสายต่างๆ ซึ่งช่วยลดต้นทุนแบนด์วิธในประเทศ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
แก้ปัจจุบันสิทธิในการดำเนินการในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะได้รับจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.[12]
ในอดีตการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่ให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL ซึ่งมีค่าบริการสูงถึง 25,000 บาทต่อเดือนสำหรับความเร็วปกติ 256 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาในปี 2545 ทีโอที (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ริเริ่มอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ราคาประหยัด ซึ่งทำให้ความต้องการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้เปลี่ยนแผนการให้บริการของผู้ให้บริการทั้งหมดในขณะนั้น
ทีโอทีได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นเกมออนไลน์ในประเทศไทย ด้วยราคาค่าบริการที่ถูก ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาทีโดยไม่จำกัดปริมาณข้อมูล แต่ถึงอย่างนั้นทีโอทีก็ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครได้ เนื่องจากระบบโทรศัพท์พื้นฐานครึ่งหนึ่งของจังหวัดดำเนินการภายใต้สัมปทานโดยบริษัท เทเลคอมเอเชีย จำกัด (ปัจจุบันคือทรู คอร์ปอเรชั่น) ส่วนต่างจังหวัดก็ได้ทีทีแอนด์ที ร่วมกับ กสท โทรคมนาคม ในการให้บริการ
ณ ขณะนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ส่วนใหญ่มักบ่นผู้ให้บริการถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามสัญญาหรือตามที่โฆษณาไว้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศซึ่งมีอย่างจำกัด เนื่องจาก กสท โทรคมนาคม (ปัจจุบันคือโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ก่อนที่ในปี 2548 ก็ได้มีการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นขยายการเชื่อมต่อภายในประเทศเพื่อรองรับความต้องการการเล่นเกมออนไลน์ สิ่งนี้นำไปสู่การกลับมาของแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ระดับสูง ในราคาที่สูงขึ้นสำหรับผู้ใช้ตามบ้านและลูกค้าองค์กร ผู้ใช้บริการหลายคนยังคงโต้แย้งว่าแพ็คเกจเหล่านี้จะยังไม่ปรับปรุงความพร้อมใช้งานของปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน อีกทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลด้วยโปรแกรมบิตทอร์เรนต์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่ กสทช. อนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายตั้งค่าเกตเวย์อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของตนเอง เพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการเนื้อหาที่ต้องการปริมาณการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น
ต้นปี 2552 บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ภายใต้แบรนด์ "3BB" ในเมืองใหญ่ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 3 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน สิ่งนี้กระตุ้นให้ ทรู อินเทอร์เน็ต ขยายบริการจาก 5 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 8 เมกะบิตต่อวินาที ในราคาที่เท่ากับ 3BB
กลางปี 2552 3BB เสนอความเร็วขั้นต่ำ 4 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 590 บาทต่อเดือน และขยายบริการจาก 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 10 เมกะบิตต่อวินาที ในราคา 1,490 บาทต่อเดือนทำให้ ทรู อินเทอร์เน็ต เสนอเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตฟรีชั่วคราว สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้ความเร็ว 8 เมกะบิตต่อวินาที เป็น 12 เมกะบิตต่อวินาที ระหว่างนั้นลูกค้าของ "แม็กซ์เน็ต (Maxnet)" โดยทีทีแอนด์ที ก็ถูกโอนย้ายมายัง 3BB ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ (ล้มละลาย) ของทีทีแอนด์ที
ทีโอทีและ แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ (เอดีซี) มีข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้เพื่อให้ เอดีซี สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบประจำที่ บนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานของทีโอทีได้ เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเมืองใหญ่ยังคงอยู่บนเสาและไม่ได้อยู่ใต้ดิน จึงไม่จำกัดจำนวนสายโทรศัพท์ที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ สิ่งนี้ทำให้ผู้ให้บริการหลายราย เสนอบริการของตนเองโดยไม่มีบริการโทรศัพท์พื้นฐาน การเดินสายไฟใหม่ไปยังสถานที่ที่ต้องการบริการ โดยไม่ต้องผ่านข้อตกลงการใช้โครงข่ายเฉพาะวงจรบ้านผู้ใช้
แม้จะมีการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แต่ก็ยังมีปัญหาด้านเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับความหน่วงของเครือข่าย ความล่าช้าในเครือข่ายนั้นพิสูจน์แล้วว่าเป็นอันตรายต่อเกมออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูง ผู้เล่นอ้างว่ามีปัญหาด้านเครือข่ายซึ่งทำให้แพ้เกมไป
ผู้ให้บริการแบบมีสาย
แก้ชื่อบริการ | เทคโนโลยี | ความเร็ว | ผู้ใช้งาน | การบริหารงาน/ผู้ถือหุ้น |
---|---|---|---|---|
เอไอเอส ไฟเบอร์ (AIS Fibre) |
|
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที[13] [14] | 2.3 ล้านราย[15] | แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) |
ทรู อินเทอร์เน็ต |
|
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที [16] [17] | 3.8 ล้านราย [18] | ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) |
ทรีบรอดแบนด์ (3BB) |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที [19] | 3.7 ล้านราย [20] | ทริปเปิลที บรอดแบนด์ อยู่ระหว่างควบรวมกิจการกับเอไอเอส[21] |
เอ็นทีบรอดแบนด์ (NT Broadband) |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที [22][23] | ไม่ทราบข้อมูล | โทรคมนาคมแห่งชาติ |
เคเอสซี (KSC) |
|
ไม่ทราบข้อมูล | เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต | |
เคิร์ซ (KIRZ) |
|
สูงสุด 100 จิกะบิตต่อวินาที | ไม่ทราบข้อมูล | เคิร์ซ |
จัสมิน อินเตอร์เนต |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที | ไม่ทราบข้อมูล | จัสมิน อินเตอร์เนต |
ไอเอสเอสพี (ISSP) |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[27] | ไม่ทราบข้อมูล | อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ |
เอเน็ต (ANET) |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[28] | ไม่ทราบข้อมูล | กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช |
โอทาโร (Otaro) |
|
สูงสุด 400 จิกะบิตต่อวินาที[29] | ไม่ทราบข้อมูล | โอทาโร |
โปรเอ็น (PROEN) |
|
สูงสุด 2 จิกะบิตต่อวินาที[30] | ไม่ทราบข้อมูล | โปรเอ็น คอร์ป |
สนุก ซิสเต็มส์ (Sanuk Systems) |
|
สูงสุด 1 จิกะบิตต่อวินาที[31] | ไม่ทราบข้อมูล | สนุก ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) |
UIH |
|
สูงสุด 10 จิกะบิตต่อวินาที[32] | ไม่ทราบข้อมูล | ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ |
มิลคอม |
|
ไม่ทราบข้อมูล | มิลคอมซิสเต็มซ์ | |
ล็อกซเล่ย์ |
|
ไม่ทราบข้อมูล | ล็อกซเล่ย์ |
ผู้ให้บริการแบบไร้สาย
แก้ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต
แก้ชื่อศูนย์ข้อมูล | สถานที่ตั้ง | จังหวัด |
---|---|---|
NT Data Center (กรุงเทพ) | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
NT IDC DIGITAL (แจ้งวัฒนะ) | อาคาร 6 สำนักงานใหญ่โทรคมนาคมแห่งชาติ | กรุงเทพมหานคร |
NT IDC DIGITAL (กรุงเกษม) | ชุมสายโทรศัพท์โทรคมนาคมแห่งชาติกรุงเกษม | กรุงเทพมหานคร |
NT Data Center (นนทบุรี) | อาคารศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรี | นนทบุรี |
NT Data Center (เชียงใหม่) | ศูนย์ City Data Center เชียงใหม่ | เชียงใหม่ |
NT Data Center (ขอนแก่น) | ศูนย์บริการ NT | ขอนแก่น |
NT Data Center (ภูเก็ต) | ศูนย์บริการ NT | ภูเก็ต |
NT Data Center (แหลมฉบัง) | ศูนย์บริการ NT | ชลบุรี |
NT Data Center (ศรีราชา) | SuperNap THDC | ชลบุรี |
NT Data Center (สุราษฎร์ธานี) | ศูนย์บริการ NT | สุราษฎร์ธานี |
NT Data Center (หาดใหญ่) | ศูนย์บริการ NT | สงขลา |
CSL The Cloud | ถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา | กรุงเทพมหานคร |
CSL TELLUS | ถนนพหลโยธิน | ปทุมธานี |
CSL SILA Data Center | ถนนบางปะกง | ชลบุรี |
CSL-IDC (เชียงใหม่) | ถนนเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด | เชียงใหม่ |
CSL-IDC แก่นนคร | ถนนมิตรภาพ | ขอนแก่น |
CSL-IDC สิงขร | อำเภอหาดใหญ่ | สงขลา |
CSL Headquater | อาคารซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก | กรุงเทพมหานคร |
INET-IDC1 | อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถนนรางน้ำ | กรุงเทพมหานคร |
INET-IDC2 | อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรี | กรุงเทพมหานคร |
INET-IDC3 | ถนนมิตรภาพ | สระบุรี |
ISSP Internet Data Center | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
NIPA.Cloud Data Center (บางรัก) | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
NIPA.Cloud Data Center (นนทบุรี) | อาคารศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรี | นนทบุรี |
NIPA.Cloud Data Center (ขอนแก่น) | ศูนย์บริการ NT | ขอนแก่น |
KIRZ Data Center (นวมินทร์) | CSL The Cloud ถนนรัชดาภิเษก-รามอินทรา | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (เฉลิมพระเกียรติ์) | ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (ศรีนครินทร์) | อาคารพรีเมียร์เพลซ ศรีนครินทร์ | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (บางนา) | ถนนบางนา-ตราด | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (ศาลาแดง) | อาคาร สมูทไลฟ์ ทาวเวอร์ | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (สาทร) | อาคารดิ เอ็มไพร์ | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (บางรัก) | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
KIRZ Data Center (รัชดาภิเษก) | อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก | กรุงเทพมหานคร |
Nettree IDC | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
Pacnet Data Center | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
SiamIDC | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
SuperNap THDC | SuperNap THDC | ชลบุรี |
TCCtech-IDC (อมตะนคร) | อาคารอมตะ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ | ชลบุรี |
TCCtech-IDC (บางนา) | อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์ บางนา | กรุงเทพมหานคร |
TCCtech-IDC (อาคารดิ เอ็มไพร์) | อาคารดิ เอ็มไพร์ | กรุงเทพมหานคร |
True IDC (อีสต์ บางนา) | ถนนบางนา-ตราด | สมุทรปราการ |
True IDC (มิดทาวน์ รัชดา) | อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก | กรุงเทพมหานคร |
True IDC (มิดทาวน์ พัฒนาการ) | อาคารทรูทาวเวอร์ 2 ถนนพัฒนาการ | กรุงเทพมหานคร |
True IDC (นอร์ท เมืองทอง) | อาคารบางกอกแลนด์ เมืองทองธานี | นนทบุรี |
True IDC @ 101 True Digital Park | อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค | กรุงเทพมหานคร |
PROEN Data Center | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
OTARO Gigabit Data Center (บางรัก) | อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติบางรัก (เอ็นทีบางรัก) | กรุงเทพมหานคร |
OTARO Gigabit Data Center (บางนา) | อาคารอินเตอร์ลิ้งค์ ทาวเวอร์ บางนา | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังของนักข่าวไร้พรมแดนในปี พ.ศ. 2554[33] รวมถึงสถานะเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็น "ไม่เสรี" ใน รายงานเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต (Freedom on the Net Report) ของ Freedom House ซึ่งอ้างถึงการเซ็นเซอร์ทางการเมืองและการจับกุมบล็อกเกอร์และผู้ใช้ออนไลน์อื่นๆ[34]
แม้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะให้เสรีภาพในการคิด การพูด และสื่อ "ภายใต้เงื่อนไขหลายประการ" แต่รัฐบาลก็จำกัดสิทธิเหล่านี้อย่างจริงจัง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การแสดงออกซึ่งดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิด มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี[35]
มีการประมาณการว่ามีมากกว่า 110,000 แห่งถูกบล็อกและเพิ่มขึ้นใรปี 2553[36] และคาดการณ์ว่ารัฐบาลนำเงินมาเพื่อใช้เฝ้าระวังทางดิจิทัลกว่า 1.7 ล้านบาทต่อวัน[37]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ย้อนรอยอดีต ของอินเทอร์เน็ต มีที่มาที่ไปอย่างไร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-09-19.
- ↑ http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/10564/7/econ0547vh_ch4.pdf ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ↑ "Individuals using the Internet (% of population)". data.worldbank.org. Retrieved 22 July 2023.
- ↑ Fomon, Josh (4 Jan 2023). "The Speedtest Global Index Shows These Countries Sped Forward for Internet Experience in 2022". ookla.com. Retrieved 22 July 2023.
- ↑ Thailand: Rapid Growth in Broadband Use เก็บถาวร 2007-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2007. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ "Internet Users and Statistics in Thailand". internet.nectec.or.th.
- ↑ "Internet Users and Statistics in Thailand". internet.nectec.or.th.
- ↑ "Internet Users and Statistics in Thailand".
- ↑ "แผนภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ 2023-08-05.
- ↑ "แผนภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-05. สืบค้นเมื่อ 2023-08-05.
- ↑ "ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม". www.nbtc.go.th.
- ↑ "2Gbps Fibre". www.ais.th.
- ↑ "ส่องโปรเน็ตบ้าน 2Gbps จาก AIS Fibre แต่ละแพ็กเกจ ได้อะไรบ้าง". mxphone. December 20, 2021.
- ↑ "AIS รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2566 ธุรกิจหลักเติบโต ฐานผู้ใช้งาน 46.1 ล้านเลขหมาย". blognone.
- ↑ "True Gigatex PRO". true.
- ↑ Kridakorn, Pan. "TRUE ONLINE เปิดตัวเน็ตบ้าน 2Gbps อย่างเป็นทางการ เน้นไวไฟผ่าน Gigatex Pro".
- ↑ "ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการไตรมาส ฐานผู้ใช้มือถือเพิ่มเป็น 51.5 ล้านราย". blognone.
- ↑ "3BB GIGA Fiber". 3BB.
- ↑ "JAS เปิดผลประกอบการปี 2565". theกรุงเทพมหานครinsight.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "AIS ประกาศซื้อ 3BB มูลค่า 1.95 หมื่นล้านบาท, ซื้อหุ้นกองทุน JASIF อีก 1.29 หมื่นล้านบาท". blognone.
- ↑ "NT Package". NT Broadband.
- ↑ "NT Broadband". NTPLC.
- ↑ "Corporate Internet". KSC.
- ↑ "อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร (DIA)". KIRZ.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Corporate Internet and Branch Connect". ji-net.
- ↑ "Fiber Optic". ISSP.
- ↑ "CORPORATE INTERNET". ANET.
- ↑ "Corporate Leased Line Fiber Optic". otaro.
- ↑ "Virtual Leased Line Plus". PROEN.
- ↑ "Private Fiber". Sanuk-System.
- ↑ "Managed Services". UIH.
- ↑ Internet Enemies เก็บถาวร 2011-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, Paris, March 2011
- ↑ "Country Report: Thailand" เก็บถาวร 2011-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Freedom on the Net 2011, Freedom House, 18 April 2011
- ↑ "Thailand", Country Reports on Human Rights Practices for 2011, Bureau of Democracy, Human Rights and Labor, U.S. Department of State
- ↑ "Thailand's Massive Internet Censorship" เก็บถาวร 2013-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pavin Chachavalpongpun, Asia Sentinel, 22 July 2010
- ↑ Chongkittavorn, Kavi (2015-10-12). "Thailand's single gateway is an abyss". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015.