ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)
ไลน์ (อังกฤษ: Line เขียนตามสไตล์เป็น LINE)[11] เป็นแอปพลิเคชันฟรีแวร์สำหรับการส่งข้อความทันทีบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดย LY Corporation ผู้ใช้ไลน์สามารถแลกเปลี่ยนข้อความ, ภาพ, วิดีโอและเสียง และให้บริการการสนทนาแบบวอยซ์โอเวอร์ไอพีและการประชุมทางวิดีโอ นอกจากนี้ ไลน์ยังให้บริการอีกหลายแพลตฟอร์ม เช่น: กระเป๋าเงินดิจิทัลในฐานะ Line Pay, กระแสข่าวในฐานะ LINE Today, วีดิทัศน์ตามคำขอในฐานะ Line TV และผู้จำหน่ายคอมมิกดิจิทัลอย่าง Line Manga และ Line Webtoon
นักพัฒนา |
|
---|---|
วันที่เปิดตัว | 23 มิถุนายน ค.ศ. 2011 |
รุ่นเสถียร | |
ที่เก็บข้อมูล | github |
ระบบปฏิบัติการ | |
แพลตฟอร์ม | สมาร์ตโฟน, พีซี, ไอแพด, สมาร์ตวอทช์ |
ขนาด | |
ภาษา | 17 ภาษา[4] |
รายชื่อภาษา อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลี, จันตัวย่อ, จีนตัวเต็ม, ไทย, เวียดนาม, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, สเปน, โปรตุเกส, รัสเซีย, อินโดนีเซีย, มลายู, อาหรับ, ตุรกี | |
ประเภท | ระบบส่งข้อความทันที, เครือข่ายชุมชนออนไลน์ |
สัญญาอนุญาต | ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ |
เว็บไซต์ | line |
เอ็นเอชเอ็น เจแปน บริษัทย่อยของ Naver Corporation เปิดตัวไลน์ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011[12] เนื่องจากแอปพลิดคชันนี้ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับรสนิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และให้บริการโทรและส่งข้อความผ่านสมาร์ทโฟนฟรี ทำให้แซงหน้า KakaoTalk คู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความช่วยเหลือจากแคมเปญการตลาดขนาดใหญ่[12] โดยมีผู้ใช้ถึง 100 ล้านบัญชีภายใน 18 เดือน และ 200 ล้านบัญชีใน 6 เดือนต่อมา[13] ไลน์กลายเป็นเครือข่ายสังคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 2013 โดยมีผู้ใช้มากกว่า 300 ล้านบัญชี[14] จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 จึงมีผู้ใช้งาน 600 ล้านบัญชี[15]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 Z Holdings พันธมิตรของ SoftBank Group และผู้ให้บริการยาฮู! เจแปน รวมเข้ากับไลน์ คอร์ปอเรชั่น A Holdings ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ SoftBank Corporation และ Naver Corporation จะถือหุ้น 65.3% ใน Z Holdings ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการไลน์และยาฮู! เจแปน ภายใต้โครงสร้างใหม่[16] ไลน์เป็นแอปพลิเคชันส่งความยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น, ประเทศไต้หวัน และประเทศไทย[17][18]
การใช้งาน
แก้ไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยซิมการ์ดหรือไวไฟ และต้องลงทะเบียนผ่านอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ก่อนที่จะใช้งาน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูลตามบริการที่สมัครไว้เช่น ข้อความ สติกเกอร์ ภาพ เสียง วิดีโอ การถ่ายทอดสด เป็นต้น
ส่วนแบ่งการตลาด
แก้ไลน์เริ่มต้นให้บริการในฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 2011 ในฐานะระบบสื่อสารสำหรับพนักงานเอ็นเอชเอ็น เจแปน จากนั้นก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเปิดตัวสู่สาธารณะในเดือนมิถุนายนของปีนั้น ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2013 มีผู้ดาวน์โหลดไลน์ 100 ล้านครั้งทั่วโลก[19] จากนั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านครั้งในช่วงต้นกรกฎาคม ค.ศ. 2013 และถึง 200 ล้านครั้งในวันที่ 21 กรกฎาคม[20] ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 มีการอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นมีผู้ใช้งาน 68 ล้านบัญชี ส่วนประเทศไทยมี 33 ล้านบัญชี[21] ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 อินโดนีเซียมีผู้ใช้ 20 ล้านบัญชี ไต้หวันมี 17 ล้านบัญชี ส่วนอินเดียและสเปนมี 16 ล้านบัญชีแบ่งตามประเทศ[22] ตัวแทนเอ็นเอชเอ็นประกาศแผนให้มีผู้ใช้ถึง 300 ล้านบัญชีผ่านการขยายพื้นที่ในเอเชียตะวันออก, สเปน และชิลี[23] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 Naver ประกาศว่าไลน์มีผู้ใช้ทั่วโลกถึง 400 ล้านบัญชี[24] และใน ค.ศ. 2017 จึงเพิ่มขึ้นถึง 700 ล้านบัญชี[25]
ไลน์ ไลต์
แก้นักพัฒนา | ไลน์ คอร์ปอเรชั่น |
---|---|
รุ่นเสถียร | 2.17.1
/ 2021-09-13 [26] |
ที่เก็บข้อมูล | |
ระบบปฏิบัติการ | แอนดรอยด์ |
ขนาด | 8.89 MB |
เว็บไซต์ | line |
ใน ค.ศ. 2015 มีการเผยแพร่แอปพลิเคชันค่าใช้จ่ายต่ำในตลาดเกิดใหม่ชื่อ ไลน์ ไลต์ โดยรองรับการส่งข้อความและการโทร[27] แต่ไม่รองรับธีมหรือเส้นเวลา[28] เผยแพร่ทั่วโลกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015[29]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ไลน์ประกาศหยุดพัฒนาไลน์ ไลต์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
ข้อจำกัด
แก้บัญชีไลน์สามารถใช้ได้แค่อุปกรณ์โทรศัพท์เดียว (ใช้งานในแอป) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเดียว (ใช้งานในแอป) อุปกรณ์มือถืออื่นสามารถติดตั้งแอปได้ แต่ต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือที่อยู่อีเมลที่แตกต่างกันสำหรับบัญชีไลน์[30][31]
การเซ็นเซอร์
แก้ไลน์ระงับเนื้อหาในจีนเพื่อให้สอดคล้องกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล[32] การวิเคราะห์โดย Citizen Lab แสดงให้เห็นว่า บัญชีที่ลงทะเบียนด้วยหมายเลขโทรศัพท์จีนดาวน์โหลดรายการศัพท์ต้องห้ามที่ไม่สามารถส่งหรือรับผ่านไลน์ได้[33]
ไลน์เปิดเผยถึงการปฏิบัติดังกล่าวต่อสาธารณชนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013[34] อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2014 การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แชทไลน์ถูกบล็อกจากเกรตไฟร์วอลล์โดยสมบูรณ์ ในขณะที่บริษัทยังคงมีรายได้ในประเทศจีนจากร้านค้าในตึกรามบ้านช่อง[35][36]
ในประเทศอินโดนีเซีย ไลน์ตอบสนองต่อแรงกดดันจากกระทรวงคมนาคมและสารสนเทศอินโดนีเซียที่ให้ลบเอโมจิและสติกเกอร์ ซึ่งเชื่อว่าอ้างอิงถึงการรักร่วมเพศ เช่น เอโมจิ "ชายสองคนจับมือกัน" ทางไลน์ได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า "ทางไลน์รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสติกเกอร์บางอัน ซึ่งหลายคนมองว่ามีความละเอียดอ่อน ขอให้คุณเข้าใจ เพราะในขณะนี้เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้เพื่อนำสติกเกอร์ออก"[37]
ในประเทศไทย ไลน์ถูกสงสัยว่าตอบรับแรงกดดันจากรัฐบาลไทยให้ลบสติกเกอร์นั้น หลังอนุมัติสติกเกอร์ 'Red Buffalo' ซึ่งใช้อ้างอิงถึงกลุ่มเสื้อแดง[38][39]
ดูเพิ่ม
แก้- ไลน์เฟรนส์
- ไลน์ทีวี
- Line MyShop
- คาเคาทอล์ก (คาเคาเฟรนส์)
อ้างอิง
แก้- ↑ ผิดพลาด: ไม่สามารถแสดงข้อมูลอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง ดูคู่มือการใช้งานสำหรับรายละเอียด
- ↑ "LINE: Free Calls & Messages - Apps on Google Play". Google Play (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "LINE Version History 13.4.0 Mar 30, 2023". 30 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
- ↑ 4.0 4.1 "LINE". App Store. June 22, 2023.
- ↑ "LINE: Version 7.14.1.2907 Latest update Mar 23, 2023". 23 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
- ↑ "Get LINE". Microsoft Store (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "LINE: Version History 7.16.1 Mar 17, 2023". 17 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
- ↑ "LINE". Mac App Store. May 2, 2023.
- ↑ "LINE: Additional Information". 21 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
- ↑ "LINE". Chrome Web Store.
- ↑ https://play.google.com/store/apps/details%3Fid%3Djp.naver.line.android%26hl%3Den%26gl%3DUS%26referrer%3Dutm_source%253Dgoogle%2526utm_medium%253Dorganic%2526utm_term%253Dline%2Bjapan%26pcampaignid%3DAPPU_1_ITLfZNfvDcmVhbIP-qi4oAI&ved=2ahUKEwiXhK6V6-WAAxXJSkEAHXoUDiQQ5YQBegQIKhAC&usg=AOvVaw3MLSdI_XLeWxEm4zo-6YHA
- ↑ 12.0 12.1 Mac, Ryan (22 March 2015). "How KakaoTalk's Billionaire Creator Ignited A Global Messaging War". Forbes. สืบค้นเมื่อ 22 November 2021.
- ↑ "Line Hits 200 Million Users, Adding 100 Million in Just 6 Months". Tech In Asia. 23 July 2013. สืบค้นเมื่อ 24 July 2013.
- ↑ Akky Akimoto, 2013-12-17, Looking at 2013′s Japanese social-media scene, The Japan Times
- ↑ "Number of Line users to top 700 mil. this year". Korea Times. 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
- ↑ "SoftBank unit to invest $4.7bn in Yahoo-Line integration". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
- ↑ "Mobile Messaging App Map of the World - January 2019". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "How Japan's Line App Became a Culture-Changing, Revenue-Generating Phenomenon". 19 February 2015.
- ↑ Josh Robert Nay (19 January 2013). "Line VoIP and Messaging App Now Has More Than 100 Million Users". TruTower. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
- ↑ "Line exceeds 200 million users worldwide!". 23 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ "Line to raise $1bn in IPO". Bangkok Post. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
- ↑ "Number of registered Line app users in selected countries as of February 2014 (in millions)". statista.
- ↑ John Ure (7 July 2013). "Asia's Internet challenge". Live Mint & The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
- ↑ "Line app tops 500 million users". China Post. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014.
- ↑ "Line Revenue and Usage Statistics (2017) - Business of Apps". Business of Apps. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
- ↑ "LINE Lite: Free Calls & Messages APKs - APKMirror". APKMirror.
- ↑ "LINE Lite: Free Calls & Messages - Apps on Google Play".
- ↑ "Line Launches Lightweight Version of Its Chat App for Emerging Market Android Phones". July 23, 2015.
- ↑ "LINE Lite, New Streamlined Version of LINE, Available Almost Everywhere Worldwide!". August 18, 2015.
- ↑ "FAQ: Can I use the same Line account from multiple devices?". สืบค้นเมื่อ December 30, 2013.
- ↑ "Help Center - LINE". help.line.me.
- ↑ Hardy, Seth (14 November 2013). "Asia Chats: Investigating Regionally-based Keyword Censorship in LINE". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
- ↑ Ng, Jason Q.; Crete-Nishihata, Masashi; Hardy, Seth; Dalek, Jakub; Senft, Adam (30 April 2014). "Asia Chats: LINE Censored Keywords Update". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
- ↑ Crete-Nishihata, Masashi; Hardy, Seth; Ng, Jason Q.; Dalek, Jakub; Senft, Adam (6 December 2013). "Asia Chats: LINE Corporation Responds". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
LINE had to conform to local regulations during its expansion into mainland China, and as a result the Chinese version of Line, "Lianwo", was developed. The details of the system are kept private, and there are no plans to release them to the public.
- ↑ "Chat apps hit by China disruption". BBC News. 4 July 2014.
- ↑ Horwitz, Josh (August 3, 2015). "One year after the government banned it, Line is still in China—selling lattes". Quartz.
- ↑ "Indonesia bans 'gay' emojis on messaging apps". ABC News. 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
- ↑ Editor. "New Thai buffalo stickers for LINE | 2Bangkok.com" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Red buffalo sticker banned". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้