นักข่าวไร้พรมแดน

นักข่าวไร้พรมแดน (ฝรั่งเศส: Reporters sans frontières, RSF; อังกฤษ: Reporters Without Borders, RWB) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชนนานาชาติซึ่งสนับสนุนและปกป้องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร องค์การมีฐานดำเนินงานอยู่ที่ปารีส และมีสถานะที่ปรึกษาในสหประชาชาติ[1][2] ก่อตั้งโดยรอแบร์ เมนาร์

นักข่าวไร้พรมแดน
Reporters Sans Frontières (ฝรั่งเศส)
ก่อตั้งพ.ศ. 2528
ผู้ก่อตั้งรอแบร์ เมนาร์, เรมี ลูรี, ฌัก มอเลนา และเอมีเลียง ฌูว์บีโน
ประเภทองค์การไม่แสวงหาผลกำไร, องค์การเอกชนซึ่งมีสถานะที่ปรึกษาในสหประชาชาติ
สํานักงานใหญ่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ผู้อำนวยการ
คริสต็อฟ เดอลัวร์
(ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555)
บุคลากรหลัก
  • คริสต็อฟ เดอลัวร์
  • (เลขาธิการ)
  • ปีแยร์ อัสกี
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ ฝรั่งเศส)
  • Mickael Rediske
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ เยอรมนี)
  • คริสทีอัน เมียร์
  • (ประธานกรรมการบริหารแอร์แอ็สแอ็ฟ เยอรมนี)
  • รูบีนา เมอริง
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ ออสเตรีย)
  • อัลฟอนโซ อาร์มาดา
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ สเปน)
  • เฌราร์ ช็อป
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ สวิตเซอร์แลนด์)
  • Erik Halkjær
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ สวีเดน)
  • ยาร์โม แมเกแล
  • (ประธานแอร์แอ็สแอ็ฟ ฟินแลนด์)
งบประมาณ
6 ล้านยูโร (แอร์แอ็สแอ็ฟ ฝรั่งเศส)
พนักงาน
ประมาณ 100 คน
เว็บไซต์rsf.org
ฐานดำเนินงานปารีส

นักข่าวไร้พรมแดนมีกิจกรรมหลักสองกิจกรรม อย่างแรกคือการมุ่งด้านการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ และอีกอย่างคือการจัดหาเครื่องมือ งบประมาณ และความช่วยเหลือทางจิตใจแก่นักข่าวที่ถูกส่งไปในพื้นที่อันตราย[3] โดยมีพันธกิจดังนี้:

  • เฝ้าดูการโจมตีเสรีภาพข้อมูลข่าวสารทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
  • ประณามการโจมตีเหล่านั้นผ่านสื่อ
  • ดำเนินการโดยร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อสู้กับการตรวจพิจารณาและกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร
  • สนับสนุนนักข่าวที่ต้องโทษทั้งด้านการเงินและทางใจ รวมถึงครอบครัวของพวกเขา
  • เสนอเครื่องมือช่วยเหลือผู้สื่อข่าวสงคราม (war correspondent) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของพวกเขา

นักข่าวไร้พรมแดนแถลงว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจาก มาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[4] ใน พ.ศ. 2491 ซึ่งระบุว่าคนทุกคนมี "สิทธิในเสรีภาพแห่งความคิดเห็นและการแสดงออก" และสิทธิที่จะ "ค้นหา ได้รับ และ ติดต่อสื่อสาร" ข้อมูลและความคิด "โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน".

ในทุกปีนักข่าวไร้พรมแดนจะจัดทำดัชนีเสรีภาพสื่อเพื่อเปรียบเทียบประเทศที่ถูกรัฐแทรกแซงข่าว ใน พ.ศ. 2551 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 124 ขึ้นจากอันดับ 135 ในปี พ.ศ. 2550 (ซึ่งมีรัฐบาลจากการรัฐประหาร) ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 142

ประวัติ

แก้

นักข่าวไร้พรมแดนก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยรอแบร์ เมนาร์ (Robert Ménard), เรมี ลูรี (Rémy Loury), ฌัก มอเลนา (Jacques Molénat) และเอมีเลียง ฌูว์บีโน (Émilien Jubineau) ในเมืองมงเปอลีเย ประเทศฝรั่งเศส[5] สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บนท้องถิ่นการปกครองที่ 2 ของกรุงปารีส[6] RWB ยังมีสำนักกงานในเมืองเบอร์ลิน บรัสเซลล์ โรม สต็อกโฮล์ม ตูนิส เวียนนา และวอชิงตัน ดี.ซี. โดยสำนักงานแรกในเอเชียตั้งอยู่ที่เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560[7][8][9] RWB จัดอันดับประเทศไต้หวันว่ามีมีเสรีภาพสื่ออันดับต้น ๆ ติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีตั้งแต่ พ.ศ. 2556 และอยู่ในอันดับที่ 45 ใน พ.ศ. 2560[10]

แต่เดิมองค์การทำงานเพื่อสนับสนุนสื่อทางเลือก (alternative media) แต่เกิดการขัดแย้งระหว่างผู้ก่อตั้งจนสุดท้ายเหลือเพียงเมนาร์เท่านั้น เขาเปลี่ยนทิศทางขององค์การให้มุ่งสนับสนุนเสรีภาพสื่อ[5] นักข่าวไร้พรมแดนกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากมาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ซึ่งกล่าวว่าทุกคนมี "สิทธิทางเสรีภาพในการออกความคิดเห็นและในการแสดงออก" และมีสิทธิ "ค้นหา ได้รับ และบอกเล่า" ข้อมูลและความคิด "ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน"

เมนาร์เป็นเลขาธิการคนแรกของ RWB ต่อมา Jean-François Julliard รับหน้าที่นี้ใน พ.ศ. 2541[11] Christophe Deloire รับช่วงต่อ Julliard ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 เมื่อรับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่[12]

การกระทำโดยตรงของนักข่าวไร้พรมแดน ได้แก่ การอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่รัฐผ่านจดหมาย การร้องทุกข์ หรือการทำข่าว RWB รวบรวทข้อมูลและจัดการตรวจสอบเสรีภาพสื่อในแต่ละภูมิภาค (ยุโรป, เอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ และอเมริกา) หรือหัวข้อ ผ่านเครือข่ายประกอบด้วยกว่า 150 ตัวแทนทั่วโลก หากมีความจำเป็น องค์การจะส่งทีมเข้าประเมินสภาพแวดล้อมการทำงานสำหรับนักข่าวในประเทศเฉพาะ โดยเผยแพร่รายงานประจำปีและดัชนีด้านเสรีภาพของสื่อ (Press Freedom Index) ของแต่ละประเทศ องค์การยังริเริ่มการรณรงค์โฆษณาด้วยความช่วยเหลือจากบริษัทโฆษณาเพื่อเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับการคุกคามต่อเสรีภาพสื่อและเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร เพื่อบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของประเทศที่ถูกเรียกว่าเป็นศัตรูของเสรีภาพการแสดงออก และเพื่อขัดขวางการสนับสนุนทางการเมืองโดยนานาประเทศต่อรัฐบาลที่โจมตีแทนที่จะป้องกันเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร[5]

RWB ยังจัดหาการช่วยเหลือสำหรับนักข่าวและสื่อผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายหรือประสบความยากลำบากในการยังชีพ โดยการให้เงินเพื่อสนับสนุนนักข่าวที่อยู่ระหว่างลี้ภัยหรือที่ถูกจำคุกและครอบครัวของพวกเขารวมถึงครอบครัวของนักข่าวที่เสียชีวิต เพื่อทำให้นักข่าวสามารถหนีออกจากประเทศของตนได้หากตกอยู่ในอันตราย เพื่อซ่อมแซมผลกระทบของการทำลายช่องทางสื่อ เพื่อครอบคลุมค่าธรรมเนียมทางกฎหมายของนักข่าวที่ถูกดำเนินคดีจากการเขียนหรือค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่ถูกโจมตี และบางทีอาจจัดหาเสื้อเกราะกันกระสุนให้นักข่าวใช้[13]

พันธมิตร

แก้

นักข่าวไร้พรมแดนเป็นคณะกรรมการก่อตั้งของการแลกเปลี่ยนเสรีภาพการแสดงออกนานาชาติ (International Freedom of Expression Exchange, IFEX) ซึ่งเป็นเครือค่ายเสมือนขององค์การนอกภาครัฐที่เฝ้าดูการละเมิดสิทธิการแสดงออกอย่างเสรีทั่วโลกและปกป้องนักข่าว นักเขียน และผู้อื่นที่ถูกดำเนินคดีขณะใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกของตน

RWB อยู่ในกว่า 150 ประเทศผ่านตัวแทนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและผ่านการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคนท้องที่และกลุ่มเสรีภาพสื่อในภูมิภาค รวมถึง:[14]

ประเทศ องค์การ
บังกลาเทศ Bangladesh Centre for Development, Journalism and Communication (BCDJC)
เบลารุส Belarusian Association of Journalists (BAJ)
พม่า Burma Media Association (BMA)
โคลอมเบีย Ceso-FIP (Solidarity Centre-International Federation of Journalists)
โคลอมเบีย Colombian Federation of Journalists (FECOLPER)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Journalist In Danger (JED)
เอริเทรีย Association of Eritrean Journalists in Exile
ฮอนดูรัส Committee for Free Expression (C-Libre)
อิรัก Journalistic Freedom Observatory (JFO)
คาซักสถาน Journalists in Danger
เม็กซิโก Centre for Journalism and Public Ethics (CEPET)
ปากีสถาน Tribal Union of Journalists (TUJ)
โรมาเนีย Media Monitoring Agency
รัสเซีย Glasnost Defence Foundation (GDF)
โซมาเลีย National Union of Somali Journalists (NUSOJ)
ศรีลังกา Journalists for Democracy in Sri Lanka (JDS)
ไทย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network, TNN)
ซิมบับเว Zimbabwe Journalists for Human Rights (ZJHR)

รางวัลที่ได้รับ

แก้

RWB ได้รับรางวัลต่าง ๆ รวมถึง:[5]

  • พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014): 2014 DemokratiePreis แห่งเมืองบอนน์[15]
  • พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013): ได้รับรางวัล "Freedom of Speech Award" จาก International Association of Press Clubs ในวาร์ซอ[16]
  • พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012): ได้รับรางวัล "Club Internacional de Prensa" ในมาดริด
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009): ได้รับรางวัล "Roland Berger Human Dignity Award" ร่วมกับทนายความชาวอิหร่านเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเสรีภาพ Shirin Ebadi[17]
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009): ได้รับ "Médaille Charlemagne" สำหรับสื่อทวีปยุโรป
  • พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008): ได้รับรางวัล "Kahlil Gibran Award for Institutional Excellence" จาก Arab American Institute Foundation
  • พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007): ได้รับรางวัล "Asia Democracy and Human Rights Award" จาก Taiwan Foundation for Democracy และรางวัล "Dawit Isaak Prize" จาก Swedish Publicists' Association.
  • พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006): ได้รับรางวัล International Emmy Award จาก International Academy of Television Arts and Sciences
  • พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005): ได้รับรางวัล Sakharov Prize จากรัฐสภายุโรปสำหรับ "Freedom of Thought" ร่วมกับทนายความสิทธิมนุษย์ชนชาวไนจีเรีย Hauwa Ibrahim และการเคลื่อนไหว Ladies in White ในประเทศคิวบา[18]
  • พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997): ได้รับรางวัล "Journalism and Democracy Prize" จากสมัชชารัฐสภาของ Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE).
  • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992): ได้รับรางวัล "Lorenzo Natali Prize" จากคณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับการปกป้องสิทธิมนุษย์ชนและประชาธิปไตย

สิ่งพิมพ์

แก้

นักข่าวไร้พรมแดนแผยแพร่ข่าวแจก รายงานข้อเท็จจริง และวารสาร และยังเผยแพร่รายงานภารกิจในการพัฒนาประเทศใดประเทศ ภูมิภาค หรือหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นช่วง ๆ[19] ช่วงเดือนธันวาคมในแต่ละปี องค์การเผยแพร่ภาพรวมประจำปีของเหตุการณ์เกี่ยวกับเสรีภาพข้อมูลข่าวสารและความปลอดภัยของนักข่าว[20] เว็บไซต์หลัก (www.rsf.org เก็บถาวร 2016-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) เข้าถึงได้ในหกภาษา (ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ, ภาษาสเปน, ภาษาอาหรับ, ภาษาจีน, และภาษาเปอร์เซีย)[3]

ดัชนีด้านเสรีภาพของสื่อ

แก้
 
ดัชนีด้านเสรีภาพของสื่อ พ.ศ. 2557[21]
  สถานการณ์ร้ายแรงมาก
  สถานการณ์ลำบาก
  มีปัญหา
  สถานการณ์น่าพอใจ
  สถานการณ์ดี
  ไม่มีข้อมูล/ไม่ได้จัดอันดับ

RWB รวบรวมและเผยแพร่อันดับประจำปีของแต่ละประเทศบนฐานของการประเมินโดยองค์การเกี่ยวกับบันทึกทางเสรีภาพสื่อ ประเทศเล็ก ๆ เช่น ประเทศอันดอร์ราไม่รวมอยู่ในรายงานนี้

รายงานตั้งอยู่บนฐานของแบบสอบถามที่ถูกส่งไปยังองค์การพันธมิตรของนักข่าวไร้พรมแดน (กลุ่มเสรีภาพการแสดงออกจำนวน 14 กลุ่มในห้าทวีป) และทั้ง 130 ตัวแทนทั่วโลก รวมถึงนักข่าว นักวิจัย นักกฎหมาย และนักเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชน[22]

แบบสำรวจถามคำถามเกี่ยวกับการโจมตีโดยตรงต่อนักข่าวและสื่อรวมทั้งแหล่งความกดดันต่อเสรีภาพสื่อโดยอ้อม RWB ตั้งใจบันทึกว่าดัชนีนี้คำนึงถึงเสรีภาพทางสื่อเท่านั้น และไม่ได้วัดคุณภาพของข่าว เนื่องจากธรรมชาติของวิธีการสำรวมที่ตั้งบนฐานของแนวคิดของแต่ละคน อันดับของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละปี

ผู้ล่าเสรีภาพสื่อ (Predators of Press Freedom)

แก้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 นักข่าวไร้พรมแดนได้เผยแพร่รายชื่อ ผู้ล่าเสรีภาพสื่อ (Predators of Press Freedom) ในแต่ละปี โดยเน้นสิ่งที่องค์การคิดว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพสื่ออย่างร้ายแรงที่สุด[23][24]

ใน พ.ศ. 2559 RWB ระบุชื่อหัวหน้าหรือกลุ่มคนจำนวน 34 คน/กลุ่ม ว่าเป็นผู้ล่าเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร

หัวหน้า 7 คน และกลุ่ม 10 กลุ่มถูกนำออกจากรายชื่อผู้ล่าใน พ.ศ.​ 2559[25]

ตัวชี้วัดเสรีภาพสื่อ

แก้

RWB เผยแพร่ "ตัวชี้วัดเสรีภาพสื่อ" บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ แสดงถึงจำนวนของนักข่าว ผู้ช่วยเกี่ยวกับสื่อ พลเมืองเน็ต และนักข่าวพลเมืองที่เสียชีวิตหรือถูกจำคุกในแต่ละปี[26]

  เสียชีวิต ถูกจำคุก
ปี นักข่าว ผู้ช่วยเกี่ยวกับสื่อ พลเมืองเน็ต นักข่าว +
ผู้ช่วยเกี่ยวกับสื่อ
พลเมืองเน็ต
พ.ศ. 2560[26] 52 8 7 211 161
พ.ศ. 2559[27] 61 8 9 182 149
พ.ศ. 2558[28] 81 6 19 169 163
พ.ศ. 2557[29] 66 11 19 178 178
พ.ศ. 2556[30] 71 6 39 826 127
พ.ศ. 2555[31] 87 7 49 879 144
พ.ศ. 2554[32] 67 2 4 1044 199
พ.ศ. 2553[33] 58 1 0 535 152
พ.ศ. 2552[34] 75 1 0 573 151
พ.ศ. 2551[35] 60 1 0 673 59
พ.ศ. 2550[36] 88 22 0
พ.ศ. 2549[37] 85 32 0
พ.ศ. 2548[38] 64 5 0
พ.ศ. 2547[39] 63 16 0
พ.ศ. 2546[40] 43 3 0
พ.ศ. 2545[41] 25 4 0

คู่มือสำหรับนักข่าวและผู้เขียนบล็อก

แก้

RWB ได้ตีพิมพ์คู่มือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักข่าวและผู้เขียนบล็อก และเพื่อเพิ่มตวามตระหนัก ตัวอย่างเช่น:[42]

  • คู่มือสำหรับนักข่าวที่ถูกบังคับให้หนีเพื่อลี้ภัย (มิถุนายน 2555)[43]
  • คู่มือสำหรับผู้เขียนบล็อกและผู้คัดค้านทางไซเบอร์ (กันยายน พ.ศ. 2548, อัปเดตเมื่อมีนาคม 2551)[44]
  • คู่มือสำหรับนักข่าว (เมษายน 2550, อัปเดตเมื่อกุมภาพันธ์ 2556)[45]
  • คู่มือสำหรับนักข่าวระหว่างการเลือกตั้ง (กรกฎาคม 2555)[46]
  • คู่มือความปลอดภัยสำหรับนักข่าว (ธันวาคม 2558)[47]

รายชื่อศัตรูของอินเทอร์เน็ตและประเทศที่อยู่ภายใต้การสอดแนม

แก้

RWB อัปเดตรายชื่อศัตรูของอินเทอร์เน็ตและประเทศที่อยู่ภายใต้การสอดแนม ในวันต่อต้านการตรวจพิจารณาไซเบอร์โลก (World Day Against Cyber Censorship)[48]

ใน พ.ศ. 2549 องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters sans frontières, RSF) องค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชนนานาชาติ ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ที่ปารีส และสนับสนุนเสรีภาพสื่อ เริ่มเผยแพร่รายชื่อ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต"[49] องค์กรจัดให้ประเทศอยู่ในกลุ่มนี้เพราะว่า "ประเทศเหล่านี้ไม่เพียงแต่สามารถเซ็นเซอร์ข่าวสารและข้อมูลออนไลน์เท่านั้น แต่ยังสามารถปิดกันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ"[50] ใน พ.ศ. 2550 รายชื่อที่สองซึ่งมีประเทศที่อยู่ "ภายใต้การสอดแนม (Under Surveillance)" (แต่เดิมเรียกว่าภายใต้การเฝ้าดู หรือ Under Watch) ถูกเพิ่มเข้ามา[51]

ตอนที่รายชื่อ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี 2549 มีทั้งหมด 13 ประเทศที่อยู่ในรายชื่อ จาก 2549 ถึง 2555 จำนวนประเทศลดลงเหลือ 10 ประเทศและเพิ่มไปเป็น 12 ประเทศ รายชื่อไม่ได้รับการอัพเดทจนปี 2556 ในปี 2557 รายชื่อเพิ่มเป็น 19 ประเทศเมื่อเน้นการสอดแนมและการเซ็นเซอร์บนอินเทอร์เน็ต รายชื่อไม่ได้รับการอัพเดทในปี 2558 รายชื่อ "ประเทศที่อยู่ภายใต้การสอดแนม" ถูกเผยแพร่ในปี 2551 มีรายชื่อทั้งหมด 10 ประเทศ ระหว่างปี 2551 และ 2555 จำนวนเพิ่มเป็น 16 จากนั้นลดลงมาเหลือ 11 ประเทศ รายชื่อไม่ได้รับการอัพเดทในสามปีต่อมา


ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Introduction". Reports Without Borders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.
  2. "Ireland tops press freedom index". The Irish Times. 10 October 2009.
  3. 3.0 3.1 "Reporters Without Borders : For Freedom of Information" เก็บถาวร 2013-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 16 April 2012, retrieved 21 March 2013
  4. Universal Declaration of Human Rights, สหประชาชาติ, เรียกดูเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Who We Are?" เก็บถาวร 2012-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 12 September 2012, retrieved 8 March 2013
  6. "Contact us". Reports Without Borders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  7. Pei-ling, Chiang (2017/07/18). "Reporters without Borders opens office in Taipei". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "Reporters Without Borders Picks Taiwan for Asian Bureau". New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.
  9. "Reporters Without Borders opens first Asia office in Taiwan". AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-07. สืบค้นเมื่อ 7 April 2017.
  10. Taiwan, Reporters Without Borders, April 2017
  11. Charlotte Menegaux (26 September 2008). "Robert Ménard 'se passera très bien des médias'" (ภาษาฝรั่งเศส). Le Figaro. AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 24 December 2008. English translation: "Robert Ménard 'will be fine media' "
  12. "Christophe Deloire appointed Reporters Without Borders director-general" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 21 May 2012
  13. "Reporters Without Borders provides funding for journalists and media in danger". Reports Without Borders. 13 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.
  14. "Worldwide Presence" เก็บถาวร 2013-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 13 November 2012
  15. "International recognition", Reporters Without Borders, 4 June 2013. Retrieved 8 November 2016.
  16. "Reporters Without Borders, Laureate of the International Association of Press Clubs Award" เก็บถาวร 2013-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 4 June 2013. Retrieved 2 January 2013.
  17. "Roland Berger Human Dignity Award goes to Reporters Without Borders and Shirin Ebadi". Reports Without Borders. 25 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.
  18. "Ladies, Ibrahim and Reporters joint Sakharov prize winners", European Parliament, 27 June 2006
  19. "Mission Reports" เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, retrieved 21 March 2013
  20. "Overview" เก็บถาวร 2013-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, retrieved 21 March 2013
  21. "Press Freedom Index 2014" เก็บถาวร 2014-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 11 May 2014
  22. 2013 "World Press Freedom Index - Methodology" เก็บถาวร 2013-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 31 January 2013
  23. Artists Stephen Shanabrook and Veronika Georgieva with Saatchi and Saatchi for 25th anniversary campaign, 2010, for Reporters Without Borders en.rsf.org เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, including tv commercial youtube.com. The campaign was nominated for an award at 57th Cannes Lions International Advertising Festival canneslions.com เก็บถาวร 2010-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. "Predators gallery". Reporters Without Borders. สืบค้นเมื่อ 4 November 2016.
  25. "Predators of Freedom of Information in 2013" เก็บถาวร 2015-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders", 3 May 2013
  26. 26.0 26.1 "Journalists Killed 2017", Reporters Without Borders. Retrieved 15 April 2017.
  27. "Journalists Killed 2016", Reporters Without Borders. Retrieved 15 April 2017.
  28. "Journalists Killed 2015", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  29. "2014 round-up of violence against journalists" เก็บถาวร 2016-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 15 December 2014
  30. "71 journalists were killed in 2013" เก็บถาวร 2016-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 18 December 2013
  31. "Journalists Killed 2012", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016, Reporters Without Borders, 30 December 2012
  32. "The 10 most dangerous places for journalists" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders, 21 December 2011
  33. "Journalists Killed 2010", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  34. "Journalists Killed 2009", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  35. "Journalists Killed 2008", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  36. "Journalists Killed 2007", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  37. "Journalists Killed 2006", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  38. "Journalists Killed 2005", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  39. "Journalists Killed 2004", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  40. "Journalists Killed 2003", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  41. "Journalists Killed 2002", Reporters Without Borders. Retrieved 8 November 2016.
  42. "Handbooks" เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reporters Without Borders. Retrieved 26 December 2015.
  43. "Guidelines for exiled journalists" (PDF). Reporters Without Borders. June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 April 2012. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
  44. "Handbook for bloggers and cyber-dissidents" (PDF). Reporters Without Borders. March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.
  45. "Handbook for Journalists - January 2010 update". Reporters Without Borders. 19 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  46. "Handbook for journalists during elections". Reporters Without Borders. June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-20. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.
  47. "Safety Guide for Journalists" (PDF). Reporters Without Borders. December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015.
  48. "First Online Free Expression Day launched on Reporters Without Borders website". Reports Without Borders. 12 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 11 March 2013.
  49. List of the 13 Internet enemies Reporters Without Borders (Paris), 11 July 2006.
  50. "Internet enemies", Reporters Without Borders (Paris), 12 March 2009.
  51. Web 2.0 versus Control 2.0. Reporters Without Borders (Paris), 18 March 2010.
  52. 52.0 52.1 Internet Enemies, Reporters Without Borders (Paris), 12 March 2012
  53. "Internet Enemies", Enemies of the Internet 2014: Entities at the heart of censorship and surveillance, Reporters Without Borders (Paris), 11 March 2014. Retrieved 24 June 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้