แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ (อังกฤษ: Andrew MacGregor Marshall, เกิด 25 มีนาคม 2514) เป็นนักข่าวและเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวสกอต ซึ่งเน้นความขัดแย้ง การเมืองและอาชญากรรม เขาปฏิบัติงานในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางเป็นหลัก เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาลาออกจากรอยเตอส์ในพฤติการณ์ซึ่งมีการโต้เถียงหลังสำนักข่าวนั้นปฏิเสธตีพิมพ์เรื่องเฉพาะที่เขาเขียนถึงพระมหากษัตริย์ไทย หนังสือ A Kingdom in Crisis ของเขาใน พ.ศ. 2557[1] ถูกแบนในประเทศไทย [2] และฝ่ายนิยมเจ้าในไทยที่มีชื่อเสียงได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อตำรวจอย่างเป็นทางการ โดยกล่าวหาว่าเขาว่าก่ออาชญากรรมหลายประการ รวมถึงความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์[3]
แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ | |
---|---|
แอนดรูว์ใน พ.ศ. 2554 | |
เกิด | 25 มีนาคม ค.ศ. 1971 เอดินบะระ สกอตแลนด์ |
อาชีพ | นักข่าว นักเขียน |
สัญชาติ | สกอตแลนด์ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
อาชีพ
แก้มาร์แชลล์เป็นนักหนังสือพิมพ์ของรอยเตอส์ 17 ปี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักแบกแดดตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2548 เมื่อการก่อการกำเริบรุนแรงเข้าครอบงำประเทศอิรัก และเป็นบรรณาธิการบริหารของภูมิภาคตะวันออกกลางตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2551 หลังปี 2551 เขาประจำอยู่ในสิงคโปร์เป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงการเมืองและบรรณาธิการตลาดเกิดใหม่
การโต้เถียง "#thaistory"
แก้ในเดือนมิถุนายน 2554 มาร์แชลล์ประกาศลาออกจากรอยเตอส์เพื่อจัดพิมพ์ชุดเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยที่สำนักข่าวปฏิเสธลง ต่อมาในเดือนเดียวกัน เขาจัดพิมพ์เนื้อหาบางส่วนด้วยตนเอง มีการจัดพิมพ์ส่วนที่ประกาศสองจากสี่ส่วนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 โดยที่เหลือจะตามมา "สัปดาห์หน้า" แต่จวบจนปัจจุบันยังมิได้จัดพิมพ์สองส่วนที่เหลือดังกล่าว เนื้อหานั้นชื่อ "ขณะแห่งความจริงของประเทศไทย" (Thailand's Moment of Truth) การศึกษาของเขาวิเคราะห์บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการเมืองไทยและรวมการพาดพิงโทรเลขการทูตของสหรัฐที่รั่วหลายร้อยฉบับ ต่อมา วิกิลีกส์แพร่โทรเลขนั้น ประเทศไทยมีกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ที่รุนแรงซึ่งการวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์เป็นความผิดอาญา และนักหนังสือพิมพ์ที่เขียนถึงประเทศไทยมักยึดนโยบายการตรวจพิจารณาตัวเอง คือ งดเว้นไม่ออกความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอาจถูกมองได้ว่าวิจารณ์ การศึกษาของมาร์แชลล์ ซึ่งปกติถูกอ้างอิงด้วยแฮชแทกทวิตเตอร์ #thaistory ใช้หลักฐานจากโทรเลขเพื่อแย้งว่าพระมหากษัตริย์มีบทบาทการเมืองศูนย์กลางในประเทศไทยซึ่งไม่เคยรายงานอย่างเหมาะสม
ในบทความหนังสือพิมพ์ ดิอินดีเพนเดนท์ ของอังกฤษ มาร์แชลล์เขียนว่า เช่นเดียวกับการลาออกจากรอยเตอส์ การจัดพิมพ์ #thaistory ของเขาหมายความว่า เขาจะได้รับโทษจำคุกหากเข้ากลับประเทศไทย เขาว่า เขาเข้าใจเหตุที่รอยเตอส์ปฏฺเสธจัดพิมพ์เนื้อหานี้ เพราะความเสี่ยงที่เกิดได้ต่อพนักงานและธุรกิจในประเทศไทยหากกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์[4] รอยเตอส์ให้คำอธิบายอีกอย่างหนึ่งแก่ เดอะไทมส์ และ ดิอินดีเพนเดนท์ ว่า
รอยเตอส์ไม่จัดพิมพ์เรื่องนี้เพราะเราไม่คิดว่ามันได้ผลในรูปแบบที่ถูกส่งมา เรามีคำถามเกี่ยวกับความยาว การบอกแหล่งที่มา ปรวิสัยและประเด็นกฎหมาย นอกจากนี้ เรายังกังวลว่าผู้เขียนไม่มีส่วนในกระบวนการตรวจแก้ปกติที่จะใช้กับทุกเรื่องที่รอยเตอส์จัดพิมพ์[5]
#thaistory ของมาร์แชลล์ได้รับความเห็นและการอภิปรายอย่างสำคัญ นิโคลัส ฟาร์เรลลี (Nicholas Farrelly) วุฒิบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขียนว่า งวดแรกซึ่งจัดพิมพ์ "กลายเป็นความตื่นเต้นออนไลน์อย่างรวดเร็ว" และเสริมว่า "วิจารณญาณของเขาจะก้องในแวดวงวิเคราะห์ไทยเป็นเวลาอีกหลายปี"[6] โจชัว เคอร์แลนซิก (Joshua Kurlantzick) วุฒิบัณฑิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า งานของมาร์แชลล์ "บางทีเป็นลูกระเบิดใหญ่สุดของการรายงานเรื่องประเทศไทยในรอบหลายทศวรรษ"[7] Graeme Dobell แห่งสถาบันเพื่อนโยบายระหว่างประเทศโลวี (Lowy Institute for International Policy) อธิบาย #thaistory ว่า "การหนังสืพิมพ์ชั้นหนึ่ง"[8] และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาเขียนว่า "มาร์แชลล์ช่วยผลักดันพรมแดนไปไกลขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเมื่อผู้หนึ่งมองสถานะปัจจุบันของพระมหากษัตริย์ไทย"[9]
ทางการไทยมีนโยบายไม่รับรองการมีอยู่ของโทรเลขวิกิลีกส์อันเป็นที่โต้เถียง และไม่ออกความเห็นต่อ #thaistory นักวิจารณ์ชาวไทยที่เด่นที่สุด คือ ธนง ก้านทอง บรรณาธิการจัดการของหนังสือพิมพ์เนชั่น ซึ่งตั้งคำถามถึงเวลาการจัดพิมพ์ #thaistory ซึ่งใกล้เคียงกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และอ้างว่า เป็นส่วนหนึ่งของแผนระหว่างประเทศเพื่อบั่นทอนเสถียรภาพของประเทศไทย[10] บล็อกนักโทษการเมืองในประเทศไทยให้บทปริทัศน์วิจารณ์แก่ #thaistory โดยว่า มันมุ่งสนใจบทบาทและกลไกของอภิชนเกินไป นำให้ "ลดความสนใจของสำนักงานและอำนาจของตัวแสดง ประสบการณ์และทัศนะของผู้น้อยเป็นนัย"[11]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มาร์แชลล์อยู่ในนักวิชาการและผู้ประพันธ์ระหว่างประเทศ 224 คนที่ลงนามจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพื่ออนุญาตเสรีภาพการแสดงออก[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Marshall, Andrew MacGregor (9 October 2014). A Kingdom in Crisis: Thailand's Struggle for Democracy in the Twenty-First Century. London: Zed Books. ISBN 9781783600588. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2015. สืบค้นเมื่อ 16 December 2014.
- ↑ "Thai police bans book criticizing monarchy". Associated Press. 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 December 2014.
- ↑ "Thai royalist files lèse majesté complaint against Andrew McGregor Marshall". Prachatai. 10 December 2014. สืบค้นเมื่อ 4 March 2015.
- ↑ Andrew MacGregor Marshall, "Why I decided to jeopardise my career and publish secrets", The Independent, 23 June 2011
- ↑ Brian Rex, "Monarchy in spotlight: tensions that threaten new turmoil in Thailand" , The Independent, 23 June 2011
- ↑ Nicholas Farrelly, "Why criticising the Thai royal family might be bad for your career", The Conversation, 6 July 2011
- ↑ Joshua Kurlantzick, "Bombshell Report on Thailand May Open Debate on Monarchy", 27 June 2011
- ↑ Graeme Dobell, "The danger of a Thai civil war", 5 July 2011
- ↑ Pavin Chachavalpongpun, "Thailand’s Yingluck Factor: Can the Lady In Red Lead?" เก็บถาวร 2012-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Indonesian Strategic Review, August 2011
- ↑ Thanong Khanthong, "More Confrontation is Inevitable", The Nation, 1 July 2011
- ↑ Political Prisoners in Thailand, "Wikileaks cables, truth and Thailand", 28 June 2011
- ↑ Prachatai, "Over 200 international scholars, writers, and activists support the call to reform Article 112" เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1 February 2012