วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]

คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]

คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]

ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Otto F. von Feigenblatt. The Thai Ethnocracy Unravels: A Critical Cultural Analysis of Thailand’s Socio-Political Unrest[ลิงก์เสีย]. Journal of Alternative Perspectives in the Social Sciences. สืบค้น 7-9-2557.
  2. 2.0 2.1 Thai Cultural Profile 2012[ลิงก์เสีย]. Tablelands Regional Council Community Partners Program. สืบค้น 7-9-2557.