งานศพไทย มักมีพิธีแบบศาสนาพุทธที่มีพิธีหลากหลายขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมในภูมิภาคนั้น ๆ ผู้คนในบางกลุ่มชาติพันธุ์หรือศาสนามีธรรมเนียมพิเศษของตนเอง พิธีศพของไทยแบ่งออกเป็นพิธีรดน้ำศพหลังเสียชีวิตไม่นาน การอ่านบทสวดอภิธรรมของพระสงฆ์ และพิธีฌาปนกิจ โดยมีผู้ทำพิธีฌาปนกิจทั่วประเทศ ยกเว้นผู้ที่มีเชื้อสายจีน, มุสลิม และคริสเตียน

แขกและผู้ทรงเกียรติ (ซ้าย); โลงศพที่ตกแต่งด้วยดอกไม้และพวงหรีด (กลาง) และพระสงฆ์ (ขวา) อ่านบทสวดแก่แม่ของอดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย

พิธีศพ แก้

พิธีกรรมในงานศพไทยแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

พิธีรดน้ำศพ แก้

 
พิธีรดน้ำศพ

ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้วจะนำศพมาทำพิธี ซึ่งพิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า "พิธีรดน้ำศพ" ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย[1] ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป

เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพจากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ ท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับ

พิธีสวดอภิธรรม แก้

 
พิธีสวดอภิธรรม

งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้ว ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ธาตุ ๔) กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิตเจตสิก (ขันธ์ ๕ : เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณ ย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้ ดังนั้นการสวดพระอภิธรรมในงานศพ ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิต ตามธรรมชาติหรือธรรมดา[2] รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ และการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน

ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่าย หรือของใช้ประโขชน์ได้อย่างในปัจจุบันพวงหรีดพัดลมจะพบเห็นการส่งความอาลัยไปในงานศพกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หรือพวงหรีดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเอง ควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้ง[3]

เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพ ควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น

  • หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
  • หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
  • หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
  • หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ[4]

หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไป ด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ จึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืน

พิธีฌาปนกิจ แก้

 
พิธีฌาปณกิจ

นับเป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่ล่วงลับ ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพ เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดยการเวียนศพต้องเวียนซ้ายต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ ๓ รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลก นรก และสวรรค์ [5]

ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จึงทำการทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อยๆ เดินตามขึ้นเมรุเผา จากนั้นนำดอกไม้จันทน์วางที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง เพราะหากเดินย้อนกลับไปทางที่ขึ้นมาจะทำให้ขวางทางเดินผู้อื่นได้[6]

เมื่อพิธีเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้นสามารถมาเก็บอัฐิได้แต่ถ้าเป็นชนบทจะเก็บอัฐิภายหลังการเผาแล้ว 3 วัน เนื่องจากชนบทจะใช้ฟืนเผาจึงจะต้องรอให้ไฟมอดสนิทก่อน ลูกหลานจะเก็บส่วนที่สำคัญไว้บูชา และบางส่วนอาจจะนำไปลอยอังคาร ซึ่งอาจจะเป็นแม่น้ำ หรือทะเล ทั้งนี้มีความเชื่อที่ว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความสงบและร่มเย็น[7]

พิธีงานฌาปนกิจ งานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายและยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ตายและพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง ทำให้มีความตั้งใจในการทำความดีและทำบุญกุศลกันมากขึ้นต่อไป[8]

ค่าใช้จ่าย แก้

พิธีศพไทยสามารถเป็นพิธีที่มีความซับซ้อนได้ โดยเจ้าภาพจะต้องบริการอาหารให้แขก และในอดีตจะมีงานรื่นเริงแก่ชนชั้นสูง ถึงแม้ว่างานศพในปัจจุบันมักเคร่งขรึมกว่า ในพื้นที่ชนบทบางส่วน การให้ความบันเทิงแก่แขกยังคงมีบทบาทสำคัญ ภาษาไทยมีคำสุภาษิตเป็น "คนตายขายคนเป็น" ซึ่งหมายถึง การจัดงานศพอย่างฟุ่มเฟือยเกินฐานะจนเกิดหนี้สิน[9]

อ้างอิง แก้

[1]

  1. "พิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-27. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  2. "การสวดพระอภิธรรมในงานศพ โดย พระ,ดร". มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. 18 October 2015.
  3. "ข้อปฏิบัติเวลาไปงานศพ". lewreath.com. 7 October 2015.
  4. "จะทำตัวอย่างไรเมื่อไป "งานศพ"". สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ นิตยสารผู้จัดการ. 28 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  5. "พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตาย". traphangthong.org. 9 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-21. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
  6. "ข้อปฏิบัติเวลาไปงานศพ". lewreath.com. 15 October 2015.
  7. "ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย". 9bkk.com. 20 October 2015.
  8. "งานศพ งานฌาปนกิจ". romdee.net. 23 March 2019.
  9. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

[1]

อ่านเพิ่ม แก้

  • Anuman Rajadhon, Phraya (1987). Some traditions of the Thai and other translations of Phya Anuman Rajadhon's articles on Thai customs. Bangkok: Thai Inter-Religious Commission for Development & Sathirakoses Nagapradipa Foundation.
  • Williams, Paul; Ladwig, Patrice, บ.ก. (2012). Buddhist funeral cultures of Southeast Asia and China. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9781107003880.
  1. mai (2023-08-30). "ความเชื่อและพิธีงานศพในศาสนาต่าง ๆ ที่คุณไม่รู้". ร้านพวงหรีด168 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).