โรงพยาบาลในประเทศไทย

โรงพยาบาล (หรืออาจใช้ว่า สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์) เป็นสถานที่สำหรับการบริการทางด้านสุขภาพ โดยมักที่จะมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในประเทศไทยมีการให้บริการทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิก ที่เปิดบริการโดยทั่วไป

โรงพยาบาลรัฐบาล

แก้

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข[1] โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับ กรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด[2] เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต[3] เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร (กทม.) อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยทั่วไปโรงพยาบาลใน กทม. จะให้ความสำคัญเรื่องเตียงกับบัตรทองเป็นลำดับแรก (1st priority)[4]

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

แก้
 
โรงพยาบาลศิริราช
 
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ดังนี้

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์

แก้

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เป็นศูนย์จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในระดับชั้นคลินิก (ปีที่4-6) จัดตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ในการร่วมผลิตบัณฑิตแพทย์

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) จะอาศัย โรงพยาบาลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข, สภากาชาดไทย, กรมการแพทย์, กรุงเทพมหานคร, กองทัพอากาศ, และกองทัพเรือ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ ดังนั้นจึงให้มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้น ๆ [5]

โรงพยาบาลส่วนกลาง

แก้

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค

แก้

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A)

แก้

โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียง ปัจจุบันมีทั้งหมด35แห่ง [1] จำแนกตามเขตสุขภาพ

โรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S และ M1)

แก้

โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 86 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว) จำแนกตามภาค[6] ดังนี้

เขตสุขภาพที่ 1
แก้
เขตสุขภาพที่ 2
แก้
เขตสุขภาพที่ 3
แก้
เขตสุขภาพที่ 4
แก้
เขตสุขภาพที่ 5
แก้
เขตสุขภาพที่ 6
แก้
เขตสุขภาพที่ 7
แก้
เขตสุขภาพที่ 8
แก้
เขตสุขภาพที่ 9
แก้
เขตสุขภาพที่ 10
แก้
เขตสุขภาพที่ 11
แก้
เขตสุขภาพที่ 12
แก้

โรงพยาบาลชุมชน (ระดับ M2 F1 F2 และ F3)

แก้

โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง[1]

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

แก้

เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

แก้

ดูบทความหลักที่: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด[7]) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[8] โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520[9] ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง[10][1] ดังนี้

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ

แก้

โรงพยาบาลเฉพาะทาง

แก้

โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ

แก้

สภากาชาดไทย

แก้

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

แก้

เป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการตรวจรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการแพทย์และการพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลในสังกัดทั้งสิ้น 12 แห่ง ประกอบด้วย

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

กรมแพทย์ทหารบก

แก้

กรมแพทย์ทหารเรือ

แก้

กรมแพทย์ทหารอากาศ

แก้

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แก้

การรถไฟแห่งประเทศไทย

แก้

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

แก้

การไฟฟ้านครหลวง

แก้

กระทรวงการคลัง

แก้

กระทรวงยุติธรรม

แก้

องค์การมหาชน

แก้

โรงพยาบาลเอกชน

แก้

เป็นโรงพยาบาลที่จัดตั้งโดยเอกชน มีทั้งที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดด้วย โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาลทางด้านโรคตา โรงพยาบาลทันตกรรม เป็นต้น บางแห่งก็มีมากกว่าหนึ่งแห่งในกลุ่มบริษัทเดียวกัน

กรณีอื้อฉาว

แก้

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้ปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยชาวต่างชาติจนผู้ป่วยเสียชีวิต เกิดการวิจารณ์ในวงกว้าง[11][12][13][14] [15][16][17][18][19][20][21]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 จำนวนโรงพยาบาลในประเทศไทย
  2. "โครงสร้างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  3. "โครงสร้างกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  4. "เรื่องเตียงโรงพยาบาล". Apichaya Sukprasert. 8 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับทบวงมหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-28. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  6. "การจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ด้วยภูมิศาสตร์สารสนเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-31.
  7. "ประวัติโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
  8. http://www.cp-hosp.or.th/display/index.php เก็บถาวร 2009-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  9. "ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
  10. "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  11. ข่าวไทยฉาว ! สื่อ ตปท.โจมตี รพ.ปัดรักษาคนไข้จนเสียชีวิต, สืบค้นเมื่อ 2023-12-21
  12. ข่าวสด. 2566. สื่อนอกตีข่าว นักท่องเที่ยวไต้หวันมาไทย ถูกรถชน-โดนปฏิเสธรักษา สุดท้ายดับสลด. (Online) https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8004737 12 ธ.ค. 2566 11:51 น.
  13. chaidee, nawinda. "ทัวร์ลง! รพ.เอกชน ไล่ต่างชาติถูกรถชนไป รพ.รัฐ กลัวเบิกไม่ได้-สุดท้ายสิ้นใจ". เดลินิวส์.
  14. มติชน. 2566. ต่างชาติถูกชนโคม่า กู้ภัยหามส่งรพ.เอกชนอยู่ใกล้ เจอไล่ไปรพ.รัฐ ลั่นไม่คิดเหรอจะเบิกยังไง. https://www.matichon.co.th/social/news_4322208 วันที่ 8 ธันวาคม 2566 - 17:07 น.
  15. "สบส.-สพฉ.สอบข้อเท็จจริง รพ.เอกชน ปฏิเสธรักษาชาวไต้หวันถูกรถชน". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-13.
  16. "กระทรวงท่องเที่ยวฯ เสียใจ ปมนักท่องเที่ยวไต้หวันถูก รพ.เอกชน ปฏิเสธการรักษาจนถึงแก่ความตาย ด้าน สธ. สั่งสอบด่วน หากผิดจริงดำเนินการขั้นเด็ดขาด". THE STANDARD. 2023-12-12.
  17. แพร _เหมือนแพร (2023-12-12). "ไต้หวันตีข่าวฉาว นทท. ถูกรถชนในไทย รพ. เอกชน ปฏิเสธรับตัว สุดท้ายดับสลด". kapook.com.
  18. "สธ.ลั่น เตียงเต็มฟังไม่ขึ้น รพ.เอกชนปฏิเสธ "นักท่องเที่ยวไต้หวัน"". Thai PBS.
  19. ""ชลน่าน" สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง รพ.เอกชน ปฏิเสธรักษานักท่องเที่ยวไต้หวัน". www.thairath.co.th. 2023-12-12.
  20. Pool, T. V. "สื่อนอกซัดไทย นักท่องเที่ยวไต้หวันที่ถูกรถชน แต่ถูกปฏิเสธการรักษา | tvpoolonline.com". LINE TODAY.
  21. "Exclusive ! ญาติชาวไต้หวันเผย "ยังไร้คำชี้แจงจากทางการไทยและโรงพยาบาล" หวังรัฐบาลไทยมอบความเป็นธรรม". mgronline.com. 2023-12-19.

ดูเพิ่ม

แก้