โรงพยาบาลศรีสะเกษ

โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการริเริ่มของ ขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ตั้งแต่เมื่อครั้งจังหวัดศรีสะเกษ ยังใช้ชื่อเดิมว่า "จังหวัดขุขันธ์" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "จังหวัดศรีสะเกษ" ในปี พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษจึงใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" ตามชื่อจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่[2][3]

โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Si Sa Ket Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้งเลขที่ 0859 ถนนกสิกรรม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง1 ธันวาคม พ.ศ. 2491
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง
จำนวนเตียง998 เตียง[1]
แพทย์153 คน
บุคลากร1,300 คน
เว็บไซต์เว็บไซต์โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ปัจจุบัน โรงพยาบาลตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ท้องที่ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ บนเนื้อที่ 41 ไร่ บริเวณริมฝั่งลำน้ำห้วยสำราญ อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เพื่อให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ฟื้นฟู และรักษาโรค แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงในภูมิภาคอีสานใต้ ตลอดจนผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน[3] นอกจากนั้น ยังเป็นสถาบันการผลิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในฐานะศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ประวัติ แก้

 
โรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ

โรงพยาบาลศรีสะเกษ ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2451[4] โดยขุนเวชการบริรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ ในลักษณะอาคารไม้ชั้นเดียว บริเวณถนนปลัดมณฑลและถนนศรีวิเศษ (ที่ตั้งบ้านพักนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ขุนสุขวิชวรการ สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์ คนใหม่ ได้ดำเนินการก่อสร้างสุขศาลาชั้นหนึ่งขึ้นเพื่อขยายบริการด้านสาธารณสุข ในบริเวณวังเจ้าเมืองเดิมท่าลี่ ริมฝั่งห้วยสำราญ ใกล้แนวทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ขยายการก่อสร้างมาถึงตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2472 บนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24 ไร่เศษ (ที่ตั้งของโรงพยาบาลศรีสะเกษในปัจจุบัน) สุขศาลาแห่งนี้มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีห้องทำงานรวม 6 ห้อง เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

พ.ศ. 2481 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์เป็นจังหวัดศรีสะเกษ "สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์" จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ" และ "สุขศาลาจังหวัดขุขันธ์" ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ" หลังจากนั้นระหว่าง พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2485 เกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น จังหวัดศรีสะเกษได้รับการกำหนดให้เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง จึงได้มีการก่อสร้างฐานบินและสนามบินทหารขึ้น (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในปัจจุบันและพื้นที่โดยรอบ) บริเวณสุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษได้เป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงของกองทัพอากาศและที่พักของหน่วยทหาร สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษจึงมีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับในการรักษาผู้เจ็บป่วยทั้งทางทหารและพลเรือนตลอดช่วงภาวะสงคราม

พ.ศ. 2491 นายแพทย์ขุนวิชิตภัยพยาธิ (นายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์) ได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดศรีสะเกษ และได้แบ่งส่วนงานสาธารณสุขออกเป็นกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนขุนสุขวิชวรการ ได้ไปดำรงตำแหน่งอนามัยจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมอนามัย "สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาโรงพยาบาลศรีสะเกษขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีนายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลแห่งนี้[2][3]

ปัจจุบันนอกจากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์แก่ชาวจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงแล้ว โรงพยาบาลศรีสะเกษ เป็นสถาบันการศึกษาและฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการแพทย์ แก่นักศึกษาแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยเป็นสถาบันสมทบร่วมผลิตแพทย์กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ ทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์ดังกล่าว ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 – 6) ตามโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (สบพช.) กระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการให้บริการที่สอดคล้องกับจำนวนประชากรผู้มารับบริการ ทั้งจากภายในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน

รายนามหัวหน้าสุขศาลาและผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ แก้

 
อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก และอาคารอำนวยการ โรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ
รายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. ขุนเวชการบริรักษ์ พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2477

(ปี พ.ศ. 2451 เริ่มก่อตั้ง โดยใช้ชื่อ"สาธารณสุขจังหวัดขุขันธ์")

2. ขุนสุขวิชวรการ พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2491

(ก่อนปี พ.ศ. 2481 ใช้ชื่อ"สุขศาลาจังหวัดขุขันธ์" / ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อเป็น"สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ")

3. นายแพทย์ขุนวิชิตภัยพยาธิ (นายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์) 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2504

(1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 เริ่มใช้ชื่อ"โรงพยาบาลศรีสะเกษ")

4. นายแพทย์นุกูล ตันสิทธิแพทย์ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
5. นายแพทย์สุรศักดิ์ บุญยะประภัศร 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2517
6. นายแพทย์วรา โรจนหัสดินทร์ 27 มีนาคม พ.ศ. 2517 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2518
7. นายแพทย์สละ สุขตระกูล 21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2525
8. นายแพทย์เจตน์ อจลพงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2526
9. นายแพทย์รัตน์ ปาลิวนิช 5 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529
10. นายแพทย์สนั่น ประเสริฐศิลป์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532
11. นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534
12. นายแพทย์เฉลิมชัย เหล่าพูลสุข 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542
13.นายแพทย์อนุศักดิ์ ตั้งไพบูลย์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545
14. นายแพทย์ชาย ธีระสุต 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
15. นายแพทย์อุดม เพชรภูวดี 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559
16. แพทย์หญิงเพิ่มศิริ เลอมานุวรรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563
17. นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

หน่วยงานภายใน แก้

โรงพยาบาลศรีสะเกษ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ [2]

  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
  • กลุ่มงานอายุรกรรม
  • กลุ่มงานศัลยกรรม
  • กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรมฯ
  • กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
  • กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและออร์โธปิดิกส์
  • กลุ่มงานจักษุวิทยา
  • กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา
  • กลุ่มงานรังสีวิทยา
  • กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู
  • กลุ่มงานพยาธิวิทยา
  • กลุ่มงานเภสัชกรรม
  • กลุ่มงานทันตกรรม
  • กลุ่มงานการพยาบาล
  • กลุ่มงานจิตเวช
  • ศูนย์โรคหัวใจ[5]
  • กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
  • กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
  • กลุ่มงานผู้ป่วยนอก
  • กลุ่มงานฝ่ายการเจ้าหน้าที่
  • กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
  • ศูนย์พัฒนาคุณภาพ
  • ศูนย์สิทธิประโยชน์
  • ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์
  • ฝ่ายธุรการ
  • ฝ่ายการเงินและบัญชี
  • ฝ่ายพัสดุและบำรุงรักษา
  • ฝ่ายโภชนาการ
  • ฝ่ายสุขศึกษา

ศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ แก้

 
สภาพพื้นที่ภายในโรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ

ปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ ประกอบด้วยศูนย์เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (ระดับตติยภูมิ) ใน 7 สาขาดังนี้

  • ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เปิดบริการสวนหัวใจ ผ่าตัดหัวใจ (ระดับ 2) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 1
  • ศูนย์โรคมะเร็งและรังสีวินิจฉัย (ระดับ 2) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 1
  • ศูนย์โรคไต (ระดับ 2) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 2+
  • ศูนย์เด็กและทารกแรกเกิด (ระดับ 2) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 1
  • ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน (ระดับ 2) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 1
  • ศูนย์ตา (ระดับ 1)
  • ปลูกถ่ายอวัยวะ (ระดับ 3) เตรียมยกระดับเป็นระดับ 2

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ มีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ แก่นักศึกษาแพทย์หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์รวม 102 ท่าน ใน 20 สาขาดังนี้[6]

กลุ่มแพทย์อายุรศาสตร์
  • สาขาอายุรศาสตร์
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคไต
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • สาขาอายุรศาสตร์ประสาทวิทยา
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
  • สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด
  • สาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร
  • ประสาทวิทยา
  • ตจวิทยา

กลุ่มแพทย์ศัลยศาสตร์

  • สาขาศัลยศาสตร์
  • สาขาศัลยศาสตร์มะเร็ง
  • สาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
  • สาขาประสาทศัลยศาสตร์
  • สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด
  • สาขาศัลยศาสตร์ตับและทางเดินท่อน้ำดี
  • สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก

กลุ่มแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

  • สาขาออร์โธปิดิกส์
  • สาขาออร์โธปิดิกส์กุมารเวชศาสตร์

กลุ่มแพทย์สูติ-นรีเวชศาสตร์

  • สาขาสูติ-นรีเวชศาสตร์
  • สาขามะเร็งนรีเวช

กลุ่มแพทย์กุมารเวชศาสตร์

  • สาขากุมารเวชศาสตร์
  • สาขากุมารเวชศาสตร์โรคเลือด
  • สาขากุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ
  • สาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
  • สาขากุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา
  • สาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มแพทย์สีวินิจฉัย

  • สาขารังสีวินิจฉัย
  • สาขารังสีวิทยา

กลุ่มแพทย์จิตเวชศาสตร์

  • สาขาจิตเวชศาสตร์ [5]

กลุ่มแพทย์โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

  • สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

  • สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

กลุ่มแพทย์จักษุวิทยา

  • สาขาจักษุวิทยา
  • สาขาจักษุจอประสาทตา
  • สาขาจักษุต้อหิน
  • สาขาจักษุจอศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง
  • สาขาจักษุจักษุวิทยากระจกตา

กลุ่มแพทย์ครอบครัว

  • สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
  • สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เฉพาะทางแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทย

กลุ่มแพทย์เวชปฏิบัติ

  • สาขาเวชปฏิบัติ

กลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

  • สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา

  • สาขาวิสัญญีวิทยา

กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา

  • สาขาระบาดวิทยา

กลุ่มแพทย์วิสัญญีวิทยา

  • สาขานิติเวชศาสตร์

กลุ่มแพทย์พยาธิ

  • สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค

สถาบันฝึกแพทย์ประจำบ้าน แก้

เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว 3ตำแหน่ง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ โรงพยาบาลศรีสะเกษ". กระทรวงสาธารณสุข. 31 ธันวาคม 2022.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 ประภา ปัญญาเพียร. คุณภาพบริการพยาบาลตามการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาขาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545. ISBN 974-668-974-6.
  3. 3.0 3.1 3.2 วรัญญู ศิริวรรณ์. โครงการปรับปรุงโรงพยาบาล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541.
  4. ประวัติและพัฒนาการโรงพยาบาลศรีสะเกษ รวบรวมโดยโรงพยาบาลศรีสะเกษ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.sskh.moph.go.th/main/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1 เก็บถาวร 2 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 ปรเมศร์ กลิ่นหอม. ผลของการฝึกวิปัสสนาแบบ "ปัญญาอบรมใจ" ต่อการลดความเครียด : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547. OCLC 1281261471.
  6. สาขาการเรียนการสอน ในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.sskh.moph.go.th/mec/ เก็บถาวร 28 ธันวาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้