โรงพยาบาลระยอง เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดระยอง ประเทศไทย และได้รับการจัดโดยกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค ซึ่งมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยของวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โรงพยาบาลระยอง
Rayong Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง138 ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21000, ประเทศไทย
พิกัด12°40′56″N 101°16′35″E / 12.682107°N 101.276479°E / 12.682107; 101.276479
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง555 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ13 เมษายน พ.ศ. 2494
ลิงก์
เว็บไซต์rayonghospital.go.th

ประวัติ

แก้

ใน พ.ศ. 2489 ได้มีการเสนอให้ก่อสร้างโรงพยาบาลในเมืองระยอง เนื่องจากมีปัญหาในการติดต่อและเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยได้ตัดสินใจว่าสถานที่ควรอยู่ที่วัดจันทอุดม เนื่องจากที่ตั้งของวัด และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งวัดที่พังยับเยินดังกล่าวได้รับการรื้อถอนและเหลือเพียงเจดีย์เท่านั้น ส่วนโรงพยาบาลได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2494 และได้เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคใน พ.ศ. 2540[1]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลระยอง กระทรวงสาธารณสุข และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเขตภาคตะวันออก ณ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

แก้

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-06. สืบค้นเมื่อ 2022-03-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้