วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อังกฤษ : College of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University) เป็นคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อจากคณะเภสัชศาสตร์ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามการจัดตั้ง และเป็นโรงแพทย์แห่งที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา[1]ถัดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตแพทย์ในเขตพื้นที่ชนบท และรองรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งการวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขตภูมิภาค

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
College of Medicine and Public Health
Ubon Ratchathani University
ชื่อย่อวพสธ. / CMP
สถาปนา26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (17 ปี)
คณบดีนายแพทย์ประวิ อ่ำพันธุ์
ที่อยู่
วารสารวารสารการแพทย์และสาธารณสุข
สี  สีเขียวหัวเป็ด
มาสคอต
คทาคาดูเซียส
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
โรงพยาบาลศรีสะเกษ
เว็บไซต์http://www.cmp.ubu.ac.th

ประวัติ แก้

จากแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 - 2549 มีเป้าหมายระบุถึงการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคกับการสนับสนุนการพัฒนาศักย ภาพทางปัญญาของระบบสุขภาพ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ ข้อที่ 6 ที่ระบุให้ดำเนินการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และระบบสุขภาพใหม่ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วย 19 จังหวัด ประชากร 20 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ กลับมีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพียงแห่งเดียว จึงเห็นควรมีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ เพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดใหญ่มีโรงพยาบาลขนาด 1,000 เตียง และขณะนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีความพร้อมที่จะขยาย การผลิตบุคลากรในสาขาที่จำเป็นและขาดแคลนอีกทั้งเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ สาขาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โครงการก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขริเริ่มโดย นพ.ไพจิตร ปวะบุตร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งนัดหมายให้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 เรื่องการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือ ศ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ และ ศ.นพ.ประสิทธิ์ เพ็งสา ร่วมด้วยตัวแทนจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ คือ นพ.กวี ไชยศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพร้อมด้วยตัวแทนแพทย์จากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เข้าร่วมประชุมโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ที่ประชุมเห็นพร้อม ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในวันที่ 3 กันยายน 2546 มีการบันทึกความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในการผลิตบัณฑิตแพทย์ก่อนหน้านั้นในเดือนตุลาคม 2545 ศ.ดร.ประกอบ วิโรจน์กูฎ ได้ขออนุญาตให้ ศ.นพ.ประสิทธิ์ เพ็งสา มาช่วยปฏิบัติราชการ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเพื่อร่วมก่อตั้งโครงการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

ต่อมาในปี 2546 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 7/2546 มีมติแต่งตั้งศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ เพ็งสา เป็นคณบดีผู้ก่อตั้งโครงการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข และได้นำเสนอหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่อการประชุมสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ 2546 และผ่านการรับรองจากแพทย์สภาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ 2549 นับเป็นการสถาปณาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างเป็นทางการ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นับเป็นโรงเรียนแพทย์ลำดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับการรับรองจากแพทย์สภา และได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 50 คน ต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 5/2548 ได้อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์และได้เปิดรับนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549[2]

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบไปด้วยกลุ่มวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอน ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวิชาแพทยศาสตร์
  • กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์
หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

  • สาขาแพทยศาสตร์

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)

  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาเทคนิคการแพทย์ (กำลังดำเนินงาน)
  • สาขาอุตสาหกรรมการแพทย์ (กำลังดำเนินงาน)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาชีวเวชศาสตร์

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์

ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาชีวเวชศาสตร์ (กำลังดำเนินการ)

สาธารณสุขศาสตรดุษฏีบัณฑิต (ส.ด.)

  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แก้

การเปิดรับนักศึกษาแพทย์ โดยวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)หรือเทียบเท่า สายการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 จังหวัด (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) คือ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดยโสธร, จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ และตามข้อกำหนดต่างๆ ของวิทยาลัยฯ ปัจจุบันเปิดรับนักศึกษาแพทย์ปีละ 68 คน

คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข แก้

ทำเนียบคณบดี รายนามคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
-. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประสิทธิ์ เพ็งสา พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549 รักษาการคณบดีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประสิทธิ์ เพ็งสา พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551 คณบดีผู้ก่อตั้ง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ป่วน สุทธิพินิจธรรม พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2559
3. นายแพทย์ นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2564 รักษาราชการแทน
5. นายแพทย์ประวิ อ่ำพันธุ์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

สถาบันร่วมผลิตแพทย์และสาธารณสุข แก้

โรงพยาบาลที่ผลิตแพทย์ร่วมกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) มีทั้งสิ้น 3 โรงพยาบาล โดยร่วมมือกับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้ง ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ ขึ้นมาอีกโรงพยาบาลหนึ่งในการร่วมผลิตแพทย์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และกรสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

  1. แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
  2. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ประวัติความเป็นมา. เก็บถาวร 2020-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 17 มีนาคม 2565.