โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ดูเพิ่มเติม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
สว่างแดนดิน

Sawang Dandin Crown Prince Hospital

Sawang Dandin Crown Prince Hospital
ประเภทโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลทั่วไป
ที่ตั้ง291 หมู่ 11 ตำบลสว่างแดนดิน
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 47110
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2496
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์โสภณ นิลกำแหง
จำนวนเตียง320 เตียง
เว็บไซต์Sawang Dean Din Crown Prince Hospital

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน เป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ขนาด 320 เตียง ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นเพียง "สุขศาลา" ในขณะนั้น

ประวัติ แก้

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 เป็นสุขศาลา ตั้งอยู่ริมถนนพลานุกูล โดยมีนายสวัสดิ์ โล่อุทัย เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย

  • พ.ศ. 2500 เปลี่ยนเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง โดยมี นายแพทย์ธวัชชัย เชี่ยวชาญวิทย์ เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย
  • พ.ศ. 2517 เปลี่ยนเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย โดยมี นายแพทย์ชวลิต ทิพยานุรักษ์สกุล เป็นหัวหน้าศูนย์
  • พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ขนาด 30 เตียง ในวันที่ 16 กันยายน 2520 บนเนื้อที่ราชพัสดุริมถนนภูมิภักดี ตำบลสว่างแดนดิน
  • พ.ศ. 2521 เปิดบริการแก่ประชาชนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2521 โดยมี นายแพทย์ชาญชัย คุ้มพงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ( พ.ศ. 2521 - 2530 )
  • พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินในวันที่ 26 มกราคม 2522
  • พ.ศ. 2523 ก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน ขนาด 30 เตียง โดยความกรุณา จากพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์ วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนครพร้อมผู้มีจิตศรัทธา และยกฐานะเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ขนาด 60 เตียงในวันที่ 23 เมษายน 2523 โดยมี นายแพทย์ชาญชัย คุ้มพงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ( พ.ศ. 2521 - 2530 )
  • พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2530
  • พ.ศ. 2536 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ขนาด 90 เตียง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2536 ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณ โดยมีนายแพทย์วิรัตน์ พุทธิเมธี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (พ.ศ. 2530 -2539)
  • พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ในวันที่ 23 สิงหาคม 2537
  • พ.ศ. 2539 เป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินขนาด 90 เตียง โดยมี นายแพทย์สมชาย ภาสอาจ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (พ.ศ. 2539 – 2544 )
  • พ.ศ. 2544 เป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินขนาด 90 เตียง มี นายแพทย์วิโรจน์ วิโรจนวัธน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (พ.ศ. 2544 – 2558)
  • พ.ศ. 2558 ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 128 เตียง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 โดยมี นายแพทย์วิโรจน์ วิโรจนวัธน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (พ.ศ. 2558 – 2559)

ปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 320 เตียง ในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 โดยมี นายแพทย์วิโรจน์ วิโรจนวัธน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (พ.ศ. 2558 – ประมาณ พ.ศ. 2564)[1]

ภาพปัจจุบัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้