สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อังกฤษ: School of Anti-Aging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2551 นับเป็นสำนักวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันการศึกษาด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพในสังกัดของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
School of Anti-Aging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University | |
ชื่อย่อ | ARM / MFU. |
---|---|
คติพจน์ | งามทั้งกายใจ เด่นดีด้วยปัญญา
เป็นผู้พร้อมพัฒนา เลิศล้ำวิทยาการ |
สถาปนา | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (15 ปี 305 วัน) |
คณบดี | ดร.ภก.กานต์ วงศ์ศุภสวัสดิ์[1] |
ที่อยู่ | 36/87-88 ตึก พี เอส ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนอโศกมนตรี ซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 |
วารสาร | Anti-Aging MFU |
เพลง | เวชศาสตร์ชะลอวัยแม่ฟ้าหลวง |
สี | สีเขียวเข้ม |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร |
เว็บไซต์ | สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ประวัติ
แก้สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพได้เปิดหลักสูตรทางด้านศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ทำการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในหลักสูตรตจวิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และหลักสูตรเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ โดยหลักสูตรตจวิทยา, หลักสูตรเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เน้นการรักษาเหมาะสำหรับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจสปา ความงาม หรือการดูแลสุขภาพ โภชนาการ การออกกำลังกาย หรือผู้สนใจทั่วไป[2]
ทุกวันนี้ความรู้และการวิจัยเกี่ยวกับโรคผิวหนังการต่อต้านริ้วรอยและเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีในสาขานี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงจัดตั้งสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. 2551 และปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ สาขาตจวิทยา สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (ทั้งหมด 6 หลักสูตร) โดยสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ได้ลงทุนเปิดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นคลินิกฝึกภาคปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบให้กับนักศึกษาของสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งให้บริการประชาชนทั่วไป ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ทั้งแผนกอายุรกรรม แผนกโรคผิวหนัง แผนกเวชศาสตร์ผิวพรรณ แผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ทางสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ยังเปิดหลักสูตรระยะสั้นและเข้มข้นในสาขาเวชศาสตร์ความงาม, การแพทย์โฮมิโอพาธีย์, การดูดไขมันเฉพาะจุด, ฟิลเลอร์, การฉีดโบท็อกซ์, โภชนบำบัดทางการแพทย์, ตจศัลยศาสตร์, เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น ทางสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับสถาบันต่างประเทศซึ่ง ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ทั้งนี้สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีศูนย์เทคโนโลยีขั้นสูงและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เกี่ยวกับเวชสำอางเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น CO2 Laser, Helios, Gentle Yag, IPL, Q-switched ND Yag, VASER, Inbody, EStech, Bone densitometry, Mammogram, Ultrasound, Ulthera, VBeam, eMatrix, Excimer Lase ที่ให้บริการสำหรับผู้ป่วยและสำหรับนักศึกษาที่จะทำการวิจัย ทั้งนี้สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เป็นสถาบันที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นผู้นำในศาสตร์ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ[3]
ทำเนียบคณบดี
แก้ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย | พ.ศ. 2551 - 2556 | |
2. นายแพทย์ ไพศาล รัมณีย์ธร | พ.ศ. 2556 - 2565 | |
3. ดร.ภก.กานต์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หลักสูตรที่เปิดสอน
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก | ||
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ รายนามผู้บริหารสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ↑ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563
- ↑ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เก็บถาวร 2020-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563