โรงพยาบาลพระจอมเกล้า

โรงพยาบาลพระจอมเกล้า (อักษรโรมัน : Phra Chom Klao Hospital) เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนรถไฟ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี มีขนาดความจุเตียงไข้ใน 442 เตียง

โรงพยาบาลพระจอมเกล้า
Phra Chom Klao Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรถไฟ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2491
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ
จำนวนเตียง442 เตียง[1]
เว็บไซต์www.phrachomklao.go.th

ประวัติ

แก้

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดประพาสเมืองเพชร พระองค์ได้ทรงสร้างพระราชวังเพื่อใช้เป็นที่ประทับเพื่อเสด็จมาเมืองเพชรใช้ชื่อว่า ”พระราชวังพระนครคีรี” ซึ่งถือเป็นพระราชวังที่สร้างบนภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย และใน พ.ศ. 2404 พระองค์ได้ทรงโปรดให้คณะมิชชันนารีนิกายโปรเตสเต้นส์ เข้ามาเผยแพร่ศาสนา ก่อตั้งโรงเรียนและทำการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบัน นายแพทย์ซามูเอ เรโนลด์เฮ้าส์ เป็นแพทย์จากคณะมิชชันนารีคนแรกที่มาตั้งสำนักงานมิชชันนารี และทำการรักษาผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบุรี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 จังหวัดเพชรบุรีก็ได้มีโรงพยาบาลที่ทำการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณวัดไชยสุรินทร์(วัดน้อย) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยมีนายแพทย์ อี.เอ สาติรช เป็นผู้ดูแลคณะแพทย์มิชชันนารี จำนวน 11 คน ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติงาน กิจการของโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการกระทั่งปี 2477 ก็ได้ปิดกิจการลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

พ.ศ. 2472 สถานีเอื้อนอนามัยของสภากาชาดสยาม(เอื้อนอนามัย) ได้ก่อจั้งขึ้นด้วยเงินกองมรดกของเจ้าจอมเอื้อนในพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) (ซึ่งเป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์(เทศ บุนนาค) เจ้าเมืองเพชร ใน พ.ศ. 2401-2437) และเงินสมทบจากการแสดงละครการกุศลของข้าราชการในสมัยนั้น ปัจจุบันสถานีเอื้อนอนามัยหรือสถานีกาชาดที่ 8 ก็ยังเปิดดำเนินการอยู่ พ.ศ. 2478 ก็ได้มีการสร้างสุขศาลาก้านเกตุมณี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองเพชรบุรี ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองเพชรบุรี

โรงพยาบาลเพชรบุรี ได้ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยการนำของพระสมัครสโมสร(เสงี่ยม สมัครสโมสร) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการจังหวัดได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรการกุศล ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ตลอดจนประชาชน ได้ร่วมบริจาคเงิน เพื่อนำไปสมทบกับงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยพระบำราศโรคาพาฬห์ (สาธารณสุขจังหวัด ในขณะนั้น) สร้างบนที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ริมทางรถไฟสายใต้ ใกล้สถานีรถไฟเพชรบุรี และเขาพนมขวด ในอดีตชาวบ้านบางคนอาจเรียก โรงพยาบาลเขาพนมขวดและร่วมเป็นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2492 โรงพยาบาลเพชรบุรี เป็นส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดของกรมการแพทย์

โรงพยาบาลเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นชื่อโรงพยาบาลว่า "โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี" (Phra Chom Klao Hospital, Phetchaburi Province ) เมื่อวันที่ 2 มีนาคมพ.ศ. 2532 [2] เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานลำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประกอบกิจคุณูประการ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายแพทย์ ชุมพล เดชะอำไพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนเสียชีวิตในการนี้ได้พระราชทานโกศ​พระราชทานเพลิงศพ[3]

สถานฝึกปฏิบัติ

แก้

บริการและคลินิกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า

แก้

รายนามผู้บริหารโรงพยาบาล

แก้
รายนามผู้บริหารโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
ลำดับ รายนาม การศึกษา ชื่อตำแหน่งบริหาร ระยะเวลา หมายเหตุ
1. นายแพทย์สมประสงค์ วีระไวทยะ แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2497
2. นายแพทย์ ม.ร.ว. ไพฑูรย์ สุทัศนีย์ แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2500
3. นายแพทย์วุฒธิ โพธิสุนทร แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2503
4 นายแพทย์มนู สาริกะภูติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบุรี พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2517
5 นายแพทย์บำเพ็ญ กำเนิดศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบุรี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2532
6. นายแพทย์ธีระ พิทักษ์ประเวช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534
7. นายแพทย์ถาวร ลอประยูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2538
8. นายแพทย์วิชิต บุญยวรรธนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539
9. นายแพทย์สวัสดิ์ เถกิงเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2540
10. นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2551
11. นายแพทย์จินดา แอกทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2551 – พ.ศ.2552
12. นายแพทย์พูลสวัสดิ์ สมบูรณ์ปัญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2556
13. นายแพทย์สาธิต รัตนศรีทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560
14. นายแพทย์ชุมพล เดชะอำไพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2563
15. นายแพทย์เกรียงศักดิ์ คำอิ่ม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2564
16. นายแพทย์พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ พ.บ. (แพทยศาสตร์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°07′05″N 99°56′17″E / 13.118056°N 99.938056°E / 13.118056; 99.938056