คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Pharmacy, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 8 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 6 ของประเทศและเป็นคณะวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเพียงคณะเดียวของมหาวิทยาลัย

คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Pharmacy, Silpakorn University
ชื่อย่อภ. / PC
สถาปนา5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (39 ปี)
คณบดีศ. ดร. ภก.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์
ที่อยู่
อาคารคณะเภสัชศาสตร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสาร
  • วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์
สี  สีเขียวมะกอก[1]
มาสคอต
พระคเณศ
สถานปฏิบัติสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "เภสัชศาลา"
เว็บไซต์https://pharmacy.su.ac.th

ประวัติ

แก้

"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 นับเป็น คณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา ดำรงตำแหน่งคณบดีในสมัยนั้น นับเป็นคณบดีผู้ประศาสน์การ ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในสายงานเภสัชกรรมและสายงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงการพัฒนาให้เกิดภารกิจเชิงรุกในการให้บริการด้านเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามภารกิจและพันธกิจแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่ดำเนินไปในลักษณะผสมผสานความรู้และทักษะเพื่อประโยชน์สูงสุด

นอกจากการจัดการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์มีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนาทางเภสัชศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ให้งานบริการวิชาการแก่ชุมชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีความร่วมมือด้านต่าง ๆ กับต่างประเทศโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น

หน่วยงาน

แก้

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้

การบริหารงานภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ศูนย์วิสาหกิจ
  • สำนักงานเลขานุการคณะเภสัชศาสตร์
  • สาขาชีวการแพทย์และสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
  • สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ
  • สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม
  • สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการบริหารทางเภสัชศาสตร์
  • ศูนย์บริการสุขภาพ
    • สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "เภสัชศาลา"
    • คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น "ศิลปากร"
  • ศูนย์เครือข่ายเภสัชสนเทศ "ประชานาถ"
  • ศูนย์ภูมิปัญญาทางเภสัชศาสตร์ "ประโชติ เปล่งวิทยา"

หลักสูตร

แก้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.)

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  • สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ
  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพและสุขภาวะ
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

ทำเนียบคณบดี

แก้
รายนามคณบดีคณะเภสัชศาสตร์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2531[2]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย รักษาการในตำแหน่งคณบดี 20 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2531[3]
3
รองศาสตราจารย์ ดร. สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535[4]
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539[5]
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[6]
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[7]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[8]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[9]
5
รองศาสตราจารย์ ดร. จุไรรัตน์ นันทานิช 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[10]
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[11]
6
ศาสตราจารย์ ดร. ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[12]

2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[13]

7
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย รักษาราชการแทนคณบดี

7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

8
ศาสตราจารย์ ดร. พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน[14]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อันดับของคณะเภสัชศาสตร์

แก้
อันดับคณะเภสัชศาสตร์
โดยผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
ปีการศึกษา อันดับ(ร้อยละที่ผ่าน)
2552 9 (65.4)
2553 1 (92.7)
2554 2 (94.8)
2555 2 (95.7)
2556 1 (99.4)
2560 3 (98.1)
2561 3 (98.73)
2562 8 (96.99)

จากผลการรายงาน 50 อันดับของคณะทางสาขาชีวการแพทย์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนและงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้อันดับที่ 29 ในสาขาด้านชีวการแพทย์ทั้งหมด เป็นอันดับที่ 3 ในคณะเภสัชศาสตร์ทั้งหมด[15][16] ในส่วนผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยสภาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมีร้อยละของนักศึกษาผู้สอบผ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ โดยสถิติตั้งแต่ปี 2552 โดยสภาเภสัชกรรม มีดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2552 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 65.4 (อันดับที่ 9)[17]
  • ปี พ.ศ. 2553 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 92.7 (อันดับ 1)[18]
  • ปี พ.ศ. 2554 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 94.8 (อันดับ 2)
  • ปี พ.ศ. 2555 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 95.7 (อันดับ 2)[19]
  • ปี พ.ศ. 2556 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 99.4 (อันดับ 1)[20]
  • ปี พ.ศ. 2560 มีนักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 98.1 (อันดับ 3)[21]
  • ปี พ.ศ. 2561 มีนักศึกษาผ่านร้อยละ 98.73 (อันดับ 3)[22]
  • ปี พ.ศ. 2562 มีนักศึกษาผ่านร้อยละ 96.99 (อันดับ 8) [23]
  • ปี พ.ศ. 2563 มีนักศึกษาสอบผ่านขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผ่านร้อยละ 100 (ค่าเฉลี่ยสอบผ่านจากทุกสถาบันทั่วประเทศ ร้อยละ 92.12)
  • ปี พ.ศ. 2564 มีนักศึกษาสอบผ่านขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผ่านร้อยละ 89.35 (ค่าเฉลี่ยสอบผ่านจากทุกสถาบันทั่วประเทศ ร้อยละ 65.5)
  • ปี พ.ศ. 2565 มีนักศึกษาสอบผ่านขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผ่านร้อยละ 80.26 (ค่าเฉลี่ยสอบผ่านจากทุกสถาบันทั่วประเทศ ร้อยละ 75.62)

เกร็ด

แก้
  • คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 6 ในประเทศไทย
  • คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับ EdPEx ระดับ 300
  • คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ที่ผ่านการประเมิน "สำนักงานสีเขียว (Green Office)" ในระดับดีเยี่ยม (เหรียญทอง)

อ้างอิง

แก้
  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก. ที่ 599/2529 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2529
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 484/2531 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2531
  4. คำสั่ง มศก.ที่ 822/2531 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2531
  5. คำสั่ง มศก.ที่ 941/2535 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2535
  6. คำสั่ง มศก.ที่ 1194/2543 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
  7. คำสั่ง มศก.ที่ 938/2547 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 949/2539 ลงวันที่ 6 กันยายน 2539
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 1173/2543 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2543
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 1729/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551
  11. คำสั่ง มศก.ที่ 1475/2555 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2555
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 1466/2559 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2559
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 214/2566 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 1066/2566 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
  15. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 50 อันดับคณะชีวการแพทย์ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  16. เปิด 50 อันดับสาขาด้าย "วิจัย-สอน" สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  17. Unigang เก็บถาวร 2011-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สภาเภสัชฯห่วงคุณภาพ 'หมอยา'ไทยชี้บัณฑิตเภสัชฯม.เอกชนห่วย-ส่อเค้าสั่งห้ามผลิต สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  18. [1] เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2553 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  19. Unigang เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลสอบใบประกอบวิชาชีพ เภสัช 2555 !! ! สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  20. [2] ขอแสดงความยินดีกับผลสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2556 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  21. [3] ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2560 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  22. [4] ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564
  23. [5] ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ปี 2562 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้