โรงพยาบาลยะลา เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดยะลา ประเทศไทย โดยได้รับการจัดอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค ซึ่งมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทที่อบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

โรงพยาบาลยะลา
Yala Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง152 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000, ประเทศไทย
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง513 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมสุขศาลาเทศบาลเมืองยะลา
เปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2492
ลิงก์
เว็บไซต์Yala Hospital website

ประวัติ

แก้

ใน พ.ศ. 2485 ภายหลังการก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการริเริ่มนโยบายการสร้างโรงพยาบาลในทุกจังหวัด ในช่วงปลาย พ.ศ. 2491 สุขศาลาเทศบาลเมืองยะลาได้รับการยกระดับเป็นโรงพยาบาลยะลา โดยมีการเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 และไปสู่สถานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาคเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลนี้มีข้อตกลงในการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์และทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสอนคลินิกแก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)[1][2]

ทั้งนี้ โรงพยาบาลยะลาเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการบาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ณ สามจังหวัดอย่างปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส ที่ความขัดแย้งเข้มข้นที่สุด

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลยะลา กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2547 ในเขตภาคใต้ ณ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ประวัติ

แก้

โรงพยาบาลยะลาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้แพทย์ลาออกมากขึ้น จึงเกิดการแก้ไขโดยโครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัด ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ที่มีความรู้และเจดคติที่ดีในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกระทรวงสาธารณสุข ในพุทธศักราช 2547 กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทได้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 3 แห่งในโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลปัตตานี โดยรับนักศีกษาแพทย์รุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 30 คน โดยแบ่งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกละ 10 คน

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

แก้

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา รับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยสงขลานตรินทร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติรพ. ยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-25.
  2. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 ณ กุมภาพันธ์ 2565". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้