สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อังกฤษ: School of Medicine, Mae Fah Luang University) เป็นโรงเรียนแพทย์ในจังหวัดเชียงรายของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 19 ของประเทศไทย ได้รับการรับรองจากแพทยสภา โดยมีพันธกิจในการสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพแพทย์ ให้บริการวิชาการ และบริการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็นสถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน[2]
School of Medicine, Mae Fah Luang University | |
![]() | |
คติพจน์ | "สถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ยั่งยืน" |
---|---|
สถาปนา | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (11 ปี 140 วัน) |
คณบดี | ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์[1] |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
สี | สีเขียวใบไม้ |
มาสคอต | ชื่อสำนักวิชาบนพื้นวงกลมสีเขียวล้อมพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลลำพูน |
เว็บไซต์ | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
สถานที่ตั้งปัจจุบันของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คือ เลขที่ 365 หมู่ 12 ตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประวัติแก้ไข
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555 เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐในด้านการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร และมีคุณภาพมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปฏิรูประบบบริหารจัดการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาและเพิ่มจำนวนแพทย์เพื่อสนองตอบตามความต้องการของท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากแพทยสภา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 และทำการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน โดยมี พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[3]
โดยในช่วงแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในสังกัดของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และหลังจากนั้นสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ต่อไป ซึ่งการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วเสร็จ และจะเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป[4]
ทำเนียบคณบดีแก้ไข
ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร | พ.ศ. 2555 - 2563 | |
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ศุภกร โรจนนินทร์ | พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน |
หลักสูตรการศึกษาแก้ไข
ปัจจุบันสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดทำการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) ซึ่งมีระยะเวลาของหลักสูตร 6 ปี
หลักสูตรที่เปิดสอนในสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
---|---|---|---|
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) |
การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแก้ไข
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีโครงการรับนักศึกษาแพทย์เข้าทำการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยจัดให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่ง ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก และมีการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (Quota)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
- โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (Quota)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
- โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยรับสมัครร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแก้ไข
- ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี
- ระบบการศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และตามแผนการการจัดการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ภาควิชาแก้ไข
ปัจจุบันสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีภาควิชาทั้งสิ้น 23 ภาควิชา ดังต่อไปนี้[5]
ภาควิชาแก้ไข
|
|
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์แก้ไข
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) ณ โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์อีก 3 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอน และเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการบริการร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นมาตรฐานคุณภาพของบัณฑิตแพทย์จากทุกสถาบันชั้นคลินิกภายใต้การประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้มีคุณภาพเดียวกัน โดยมีดังนี้
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
---|---|---|---|
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย | จังหวัด | สังกัด | |
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | จังหวัดเชียงราย | สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
---|---|---|---|
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ | จังหวัด | สังกัด | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง | กรุงเทพมหานคร | สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ | กรุงเทพมหานคร | สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร | |
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน (ร่วมผลิตแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567) | จังหวัดลำพูน | กระทรวงสาธารณสุข |
กิจกรรมและประเพณีของสำนักวิชาแพทยศาสตร์แก้ไข
สโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักวิชา โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและประเพณีอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เอง หรือเป็นกิจกรรมที่เข้าร่วมกับสถาบันแพทยศาสตร์อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าย และการรับน้องใหม่แก้ไข
กิจกรรม How to live and learn
- จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และบางส่วนต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเร่งรัด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษต่อไป และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่นักศึกษารุ่นพี่ได้เตรียมไว้ เพื่อต้อนรับน้องใหม่ อย่างเช่น กิจกรรมน้องใหม่ปลูกป่า น้องใหม่ใส่บาตร กิจกรรมจุดเทียนส่องใจ เป็นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และเริ่มต้นเข้าเรียนชั้นปี 1 พร้อมกันในวันเปิดภาคการศึกษา
งานแรกพบ สพท. (สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย)
- จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ภายหลังจากการประกาศผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว โดยงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการรับน้องให้แก่นิสิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ทั่วประเทศ ซึ่งงานนี้เต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ ๆ ได้ไปสนุกกัน มีทั้งกิจกรรมเวียนฐาน กิจกรรมสันทนาการ รวมไปถึงแนะนำองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย โดยจุดประสงค์หลักของงานนี้คือการให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ต่างสถาบันได้มารู้จักกัน
กิจกรรมงานสานสัมพันธ์แรกพบแพทยศาสตร์
- กิจกรรมรับน้องใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาใหม่รู้จักมหาวิทยาลัยรวมถึงสำนักวิชาแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น และเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนใหม่ ๆ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างน้อง-พี่
ค่ายหมอน้องใหม่ร่วมใจพัฒนาสังคม
- สโมสรสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดกิจกรรมดี ๆ ขึ้นในชื่อว่า "หมอน้องใหม่ร่วมใจพัฒนาสังคม" เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี โดยจะให้น้อง ๆ ปี 1 ได้ไปแบ่งปันรอยยิ้มและความสุขให้กับน้อง ๆ ตามโรงเรียนหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตชนบทใน จ.เชียงราย
พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานเลี้ยงขันโตก
- ประเภณีนี้จัดตามความเชื่อของคนภาคเหนือที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยเฉพาะในช่วงยามที่เริ่มต้นในสิ่งใหม่ ๆ เช่นเดียวกับนักศึกษาใหม่ที่เพิ่งก้าวมาสู่รั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้อธิการบดี ผู้บริหาร และคณาจารย์จะได้ผูกข้อไม้ข้อมืออวยชัยให้พรแก่ดาวเดือนจากสำนักวิชาต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนนักศึกษาให้โชคดีมีชัยในการเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในรั้วแดงทองแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงต่าง ๆ แบบล้านนาเชียงรายให้นักศึกษาที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคได้รับชม เพื่อที่จะได้เข้ากันบรรยากาศงานเลี้ยงขันโตกที่ได้ชิมอาหารเหนือขึ้นชื่อ ล้วนทำให้นักศึกษาใหม่ได้สัมผัสมนต์เสน่ห์เมืองเหนือและร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นล้านนา อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย กิจกรรมนี้ถูกจัดในช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปี
พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณ
- พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจัดในช่วงต้นเดือนกันยายน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนเพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
กิจกรรมพี่น้องร่วมใจชิงธงสำนักวิชา
- กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างนักศึกษาใหม่กับนักศึกษารุ่นพี่ และเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมหาวิทยาลัยในพระสมัญญานาม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีรูปแบบของกิจกรรมคือ เหล่านักศึกษาใหม่ของแต่ละสำนักวิชาจะต้องร่วมร้องเพลงมาร์ช มฟล. ให้พร้อมเพรียงไพเราะจนสามารถพิชิตใจกรรมการให้ยกธงเขียวให้ผ่านได้สำเร็จ กิจกรรมนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประเพณีเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้สอดแทรกเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้เกิดความเคารพระหว่างนักศึกษารุ่นพี่และนักศึกษารุ่นน้อง เกิดความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย ตลอดจนเป็นกิจกรรมที่สืบสานประเพณีอันดีงามของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ส่งต่อความภาคภูมิใจจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย กิจกรรมนี้ถูกจัดในช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปี
กิจกรรมกีฬาแก้ไข
การแข่งขันกีฬาลำดวนเกมส์
- กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาสำนักวิชาต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์และผู้นำเชียร์ของสำนักวิชาต่าง ๆ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
กีฬาเข็มสัมพันธ์ (Syringes Games)
- หรือที่ในอดีตเรียกว่า "กีฬา 13 เข็มสัมพันธ์" เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันผลิตแพทย์ต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยจัดขึ้นทุกปีในช่วงปลายเดือนธันวาคม สถาบันที่เป็นเจ้าภาพนั้นจะจัดหมุนเวียนสลับกันไป
กิจกรรมวิชาการแก้ไข
สัปดาห์วิทยาศาสตร์
- จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ของทุกปี โดยในส่วนของสำนักวิชาแพทยศาสตร์นั้นมีการจัดงานเพื่อให้ความรู้ต่อผู้ที่สนใจได้สัมผัสและเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ และภายในงานยังมีนิทรรศการและการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่าง ๆ อีกมากมาย
กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแก้ไข
พิธีไหว้ครูสำนักวิชาแพทยศาสตร์
- เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปีได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของอาจารย์แพทย์ ซึ่งนอกจากพิธีไหว้ครูแล้ว ยังมีพิธีการมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาแพทย์ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในแต่ละชั้นปี การมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาแพทย์ที่ดำรงตำแหน่งในสโมสรนักศึกษาแพทย์ในปีที่ผ่านมา รวมถึงการมอบประกาศนียบัตรแก่อาจารย์ในดวงใจที่นักศึกษาโหวตให้คะแนนสูงสุด และมอบโล่เกียรติคุณจากแพทยสภาให้แก่อาจารย์แพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม
วันมหิดล
- ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ได้จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมีกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล เช่น การตรวจสุขภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นต้น และในส่วนของสโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้จัดให้นักศึกษาแพทย์ได้รับบริจาคเงินจากบุคคลทั่วไปโดยสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่
- จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นปี 2 ที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์เป็นเจ้าภาพงานร่วมด้วย งานทำบุญอาจารย์ใหญ่จะจัดขึ้นก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ รายนามผู้บริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ↑ "วิสัยทัศน์/พันธกิจ-สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" web.medicine.mfu.ac.th
- ↑ ประวัติความเป็นมาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555
- ↑ ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงhttp://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/4housing/57/F57_4915.pdf
- ↑ ภาควิชาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เก็บถาวร 2013-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโมสรนักศึกษาแพทย์แม่ฟ้าหลวง
- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เก็บถาวร 2020-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลกลาง
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลลำพูน เก็บถาวร 2020-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน