การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย
การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย สังเกตจากจำนวนอาวุธปืนภายใต้การครอบครองของพลเรือนที่ได้รับการประมาณอยู่ที่ 10,000,000 ชิ้น ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลกในแง่ของจำนวนปืนที่อยู่ภายใต้การครอบครอง ในหมู่ปืนจำนวน 10,000,000 กระบอก มีเพียง 3,870,000 กระบอกเท่านั้นที่มีการขึ้นทะเบียน ทำให้มากกว่า 6,000,000 กระบอกยังคงอยู่ภายใต้การครอบครองอย่าผิดกฎหมาย[1] ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 จำนวนประชากรในประเทศไทยอยู่ที่ 66,720,153 คน และมี GDP (PPP) อยู่ที่ 586.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2553)[2]
ใน พ.ศ. 2543 มีรายงานคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนเป็นจำนวน 20,032 ครั้ง นับเป็นหนึ่งในจำนวนมากที่สุดในโลก[3]
จำนวนการครอบครองปืนสูงเป็นพิเศษในแถบจังหวัดภาคใต้ รวมถึง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งอยู่ภายใต้ความไม่สงบตั้งแต่ พ.ศ. 2547 [4]
อัตราการถูกทำร้ายแก้ไข
แม้อัตราการถูกทำร้ายในประเทศไทยจะลดลงมาจาก 10.0 เป็น 5.9 ต่อประชากร 100,000 คนเทียบจากปี 2546 จนถึง 2551[5] รายงานในปี 2554 พบว่าใน 6 ปีที่ผ่านมามีการตายจากกระประทะติดอาวุธมากกว่า 4,000 ศพ[6] นอกจากนี้ ยังมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 6892 รายจากการประทะเหล่านี้[7]
ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจแก้ไข
ปฏิญญาเจนีวาว่าด้วยความรุนแรงทางอาวุธและการพัฒนา (Geneva Declaration on Armed Violence and Development) รายงานในปี 2541 ชี้ว่าในประเทศไทยการเสียชีวิตด้วยเหตุจากความรุนแรงสร้างความเสียหายรวมต่อ GDP เป็นจำนวน 5,503 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางเดียวกัน ค่ารักษาพยาบาลจากความรุนแรงในปี 2548 ได้รับการประมาณไว้ที่ 1.3 พันล้านบาท (40.3 ล้านดอลลาร์สรหัฐ) ค่ารักษาพยาบาลโดยอ้อมมากกว่าประมาณ 10 เท่า อยู่ที่ 14.4 พันล้านบาท (432.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8]
ความพยายามปัจจุบันแก้ไข
ประเทศไทยมุ่งที่จะสนับสนุน ยอมรับ และ นำโครงการขององค์กรของสหประชาชาติไปปฏิบัติ เพื่อต่อสู้ ป้องกัน และกำจัดการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย[9] โครงการยุติความรุนแรงนานาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Nonviolence International South East Asia, NVISEA) องค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงหากำไรกำลังทำงานเพื่อพยายามหยุดยั้งความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับวาวุธในประเทศ[10]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Completing the Count: Civilian firearms. Small Arms Survey 2007: Guns and the City. Cambridge:Cambridge University Press, 27 August" (PDF).[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
- ↑ "CIA World Factbook on Thailand".
- ↑ "Seventh United Nations Survey of Crime Trends and Operations of Criminal Justice Systems 1998-2000" (PDF).
- ↑ Beech, Hannah (23 November 2009). "Thailand: Aiming For Parity" (Paywall). Time.
- ↑ "United Nations Office on Drugs and Crimes: International Statistics on Crime and Justice" (PDF).
- ↑ "Amnesty International 2010 Annual Report" (PDF).
- ↑ "Rule By The Gun: Armed Civilians and Firearms Proliferation in Southern Thailand NONVIOLENCE INTERNATIONAL SOUTHEAST ASIA May 2009 report" (PDF).
- ↑ "Global Burden of Armed Violence Report 2008" (PDF).
- ↑ "United Nation General Assembly 2001. 'Programme of Action to Prevent, Combat and Eradicate the Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons in All Its Aspects.'" (PDF).
- ↑ "Nonviolence International Southeast Asia Core Programs".