ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2516–2544)

ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ปี 2516 ถึง 2544 เป็นช่วงที่ประชาธิปไตยไม่มีเสถียรภาพ กองทัพกลับเข้าปกครองประเทศอีกครั้งหลังรัฐประหารในปี 2519

ประวัติศาสตร์ไทย
Wat Phra Sri Sanphet 01.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง (ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.)
บ้านเก่า (ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.)
อาณาจักรมอญ-เขมร
ฟูนาน (611–1093)
ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12–16)
ละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12–1630)
เขมร (1345–1974)
หริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–1835)
ตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13–14)
อาณาจักรของคนไท
ลพบุรี (1648–1931)
กรุงสุโขทัย (1781–1981)
สุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)
พะเยา (1637–1881)
ล้านนา (1835–2101)
น่าน (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา (1893–2310)
ประเทศราชเชียงใหม่ (2101–2317)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี (2310–2325)
เชียงใหม่ (2317–2437)
กรุงรัตนโกสินทร์
กรุงรัตนโกสินทร์ (2325–2475)
ประเทศสยาม
ประเทศสยาม (2475–2516)
ประเทศสยาม (2516–2544)
ประเทศไทย
ประเทศไทย (2544–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ
ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2516–2544)
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
330x330
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์สำคัญ
← ก่อนหน้า
ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)
ถัดไป →
ประวัติศาสตร์ไทยหลัง พ.ศ. 2544

เปรม ติณสูลานนท์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วง 2523-2531 การเมืองเข้าสู่ระบบ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ที่หมายถึงการประนีประนอมระหว่างการเมืองระบบรัฐสภากับอำนาจเผด็จการ หลังจากนั้นการเมืองไทยอยู่ในระบบรัฐสภายกเว้นระบอบทหารช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2534 ถึง 2535

"ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน"แก้ไข

เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม 2516 เป็นการปฏิวัติการเมืองไทย เป็นครั้งแรกที่ชนชั้นกลางในเมืองซึ่งมีนักศึกษาเป็นผู้นำคัดค้านคณะผู้ยึดอำนาจปกครอง และดูเหมือนได้รับความเห็นชอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย หัวหน้ารัฐบาลทหารถูกบีบให้ลาออก ทั้งหมดลี้ภัยไปยังสหรัฐไม่ก็ไต้หวัน

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่มีชนชั้นการเมืองที่สามารถดำเนินการประชาธิปไตยใหม่นี้อย่างราบรื่น ผลการเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2518 ไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดครองเสียงข้างมากในสภา และการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2519 ก็ได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นักการเมืองผู้คว่ำหวอด หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และน้องชาย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สลับกันครองอำนาจ แต่ไม่สามารถดำเนินการโครงการปฏิรูปที่สอดคล้องกัน ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2517 นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับความนิยมคือการเรียกร้องให้ถอนกำลังอเมริกันออกจากประเทศไทย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ มีความเคลื่อนไหวมากขึ้นในชนบท โดยเป็นพันธมิตรกับปัญญาชนและนักศึกษาในเมือง

เวียดนามใต้ ลาว และกัมพูชากลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2518 ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้านทำให้ประชาชนตื่นตระหนก การสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ติดกับชายแดนไทย การเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ลาวอายุ 600 ปี การไหลบ่าของผู้ลี้ภัยจากประเทศลาวและกัมพูชาหันมติมหาชนไปเข้ากับฝ่ายขวา และฝ่ายอนุรักษนิยมคว้าที่นั่งมากขึ้นในการเลือกตั้งปี 2519 ปลายปี 2519 ความเห็นของชนชั้นกลางสายกลางในเมืองหันออกจากการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ซึ่งมีความเห็นเอียงไปทางฝ่ายซ้ายมากยิ่งขึ้น กองทัพและพรรคการเมืองฝ่ายขวาเริ่มสงครามโฆษณาชวนเชื่อต่อลัทธิเสรีนิยมของนักศึกษาโดยกล่าวหาว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์และฆ่านักศึกษาเหล่านี้ผ่านองค์การกึ่งทหารทางการอย่างลูกเสือชาวบ้านและกระทิงแดง

สถานการณ์สุกงอมในเดือนตุลาคม 2519 เมื่อจอมพลถนอม อดีตทรราช เดินทางกลับประเทศไทยโดยจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดประจำราชวงศ์ ความตึงเครียดระหว่างคนงานและเจ้าของโรงงานดุเดือดยิ่งขึ้น เมื่อขบวนการสิทธิพลเมืองมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นตั้งแต่ปี 2516 อุดมการณ์สังคมนิยมและฝ่ายซ้ายได้รับความนิยมในหมู่ปัญญาชนและชนชั้นแรงงาน บรรยากาศการเมืองมีความตึงเครียดมากขึ้น พบศพคนงานถูกแขวนคอในจังหวัดนครปฐมหลังประท้วงเจ้าของโรงงาน

ผู้ประท้วงนักศึกษาใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจัดการประท้วงต่อการเสียชีวิตอย่างรุนแรงของคนงานและจัดการแสดงล้อแขวนคอ ซึ่งมีการกล่าวหาว่าคนหนึ่งคล้ายกับมกุฎราชกุมาร วันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์บางฉบับ รวมทั้ง บางกอกโพสต์ พิมพ์ภาพถ่ายฉบับดัดแปลงซึ่งแนะว่าผู้ประท้วงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฝ่ายขวาและอนุรักษนิยมประณามผู้ประท้วง และปลุกปั่นวิธีการรุนแรงเพื่อปราบปราม จนลงเอยด้วยการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519

นักวิชาการต่างประเทศมองว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนส่งเสริมเหตุการณ์จากการสนับสนุนกลุ่มฝ่ายขวาและการเสด็จฯ เยี่ยมพระถนอม[1]:31

เผด็จการฝ่ายขวาแก้ไข

เย็นวันเดียวกัน คณะทหารก่อการรัฐประหาร ประกาศให้รัฐบาลผสมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำสิ้นสุดลง กองทัพตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตผู้พิพากษาที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมอย่างยิ่ง เป็นนายกรัฐมนตรีและกวาดล้างมหาวิทยาลัย สื่อ และข้าราชการพลเรือน นักศึกษา ปัญญาชนและฝ่ายซ้ายหลายพันคนหนีออกจากกรุงเทพมหานครและลี้ภัยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในภาคเหนือและภาคอีสาน บางส่วนหนีออกนอกประเทศ เช่น ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เศรษฐกิจก็ประสบปัญหาร้ายแรงเช่นกัน เนื่องจากนโยบายของธานินทร์ส่วนหนึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติหวาดกลัว

รัฐบาลใหม่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่มีเสถียรภาพเช่นเดียวกับการทดลองประชาธิปไตยที่เคยปฏิบัติมา ในเดือนตุลาคม 2520 กองทัพอีกส่วนหนึ่งก่อรัฐประหารอีกครั้ง และเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีจากธานินทร์เป็นพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี 2521 รัฐบาลเสนอนิรโทษกรรมแก่คอมมิวนิสต์ไทย และยังเสนอที่อยู่อาศัย การรวมญาติและความปลอดภัย

จนถึงบัดนี้ กองทัพไทยจำต้องรับมือกับสถานการณ์อันเกิดจากการบุกครองกัมพูชาของเวียดนาม มีการไหลบ่าของผู้ลี้ภัยอีกระลอก โดยกำลังเวียดนามและเขมรแดงข้ามเข้ามาในเขตแดนไทยเป็นระยะ ทำให้เกิดการปะทะตามแนวชายแดน การเดินทางเยือนประเทศจีนในปี 2522 ทำให้เติ้ง เสี่ยวผิงตกลงยุติการสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ของไทย เพื่อแลกกับทางการไทยให้ที่พักปลอดภัยแก่กำลังเขมรแดงที่หลบหนีกัมพูชาเข้ามาในประเทศ การเปิดเผยอาชญากรมของเขมรแดงหลังแพ้สงครามกลางเมืองลดเสน่ห์ดึงดูดของลัทธิคอมมิวนิสต์ต่อสาธารณชนไทย ไม่นานฐานะของพลเอกเกรียงศักดิ์ก็รับไม่อยู่และถูกบีบให้ลงจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 ในช่วงปัญหาเศรษฐกิจ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก สืบตำแหน่งต่อมา เขาเป็นพวกนิยมเจ้าอย่างเหนียวแน่นและมีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์

ระหว่างปี 2522 ถึง 2531 กำลังยึดครองเวียดนามในกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย โดยอ้างว่ามองหากองโจรกบฏที่ซ่อนอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งมีผู้ลี้ภัยชาวลาวและเวียดนามอาศัยอยู่จำนวนมาก เกิดการรบปะทะประปรายตามแนวชายแดนระหว่างปี 2528 ถึง 2531 เมื่อทหารเวียดนามตีโฉบฉวยข้ามชายแดนเป็นระยะ ๆ เพื่อกวาดล้างค่ายตามชายแดนของเขมรแดง ซึ่งมีจีนเป็นผู้สนับสนุนหลัก บางทีการโจมตีนี้ถูกกองทัพไทยขับกลับไป

"ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ"แก้ไข

ส่วนใหญ่ของคริสต์ทศวรรษ 1980 เห็นกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยที่พลเอกเปรมเป็นผู้ควบคุมดูแล

ยุคพลเอกเปรมแก้ไข

ในเดือนเมษายน 2524 มีนายทหารชั้นผู้น้อยซึ่งเรียก "ยังเติร์ก" พยายามรัฐบาลโดยยึดกรุงเทพมหานคร คณะรัฐประหารยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสัญญาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แต่กบฏล้มเหลวอย่างรวดเร็วเมื่อพลเอกเปรมรับรองพระบรมวงศานุวงศ์ไปยังนครราชสีมา เมื่อการสนับสนุนพลเอกเปรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรากฏชัดเจน กำลังฝ่ายรัฐบาลภายใต้พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เข้าควบคุมเมืองหลวงได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อ

การเมืองบทนี้ยิ่งเพิ่มเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานภาพของพลเอกเปรมว่าค่อนข้างมีลักษณะสายกลาง ฉะนั้นจึงมีการประนีประนอมกัน การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ยุติลงและกองโจรส่วนใหญ่ได้รับนิรโทษกรรม ในเดือนธันวาคม 2525 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดรับธงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในพิธีการที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง นักรบคอมมิวนิสต์และผู้สนับสนุนส่งมอบอาวุธและสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาล

ขณะเดียวกัน มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งตั้งวุฒิสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งเพื่อคานกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง มีการจัดการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2526 ทำให้พลเอกเปรมในคราบนักการเมืองพลเรือน ได้ที่นั่งฝ่ายข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (เป็นข้อตกลงที่ต่อมาเรียก "เปรมาธิปไตย")

พลเอกเปรมยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการปฏิวัติทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วซึ่งแผ่ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอยในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญ และสินค้าผลิตอย่างชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สิ่งทอและรองเท้าเป็นสินค้าส่งออกหลักแทนข้าว ยางพาราและดีบุก เมื่อสงครามอินโดจีนและการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ยุติ การท่องเที่ยวมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและกลายเป็นรายได้สำคัญ ประชากรเมืองยังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ประชากรโดยรวมเริ่มเติบโตช้าลง ทำให้มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นแม้แต่ในพื้นที่ชนบท แม้ว่าภาคอีสานยังคงตามหลังภาคอื่น แม้ประเทศไทยไม่ได้เติบโตเร็วเท่ากับสี่เสือแห่งเอเชีย แต่ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี โดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอีกสองครั้งในปี 2526 และ 2529 และยังได้รับความนิยม แต่การฟื้นฟูประชาธิปไตยทำให้มีการเรียกร้องผู้นำที่กล้าได้กล้าเสียมากขึ้น ในปี 2531 การเลือกตั้งทำให้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรมปฏิเสธคำเชิญของพรรคการเมืองใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สาม

พลเอกสุจินดาและพฤษภาทมิฬแก้ไข

พลเอกชาติชายปล่อยให้กลุ่มแยกหนึ่งของกองทัพร่ำรวยขึ้นจากสัญญาของรัฐ ทำให้เกิดกลุ่มแยกคู่แข่งนำโดยพลเอก สุนทร คงสมพงษ์, พลเอก สุจินดา คราประยูร และสมาชิกโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 มีรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 โดยกล่าวหารัฐบาลพลเอกชาติชายว่าฉ้อฉล ("รัฐบาลบุฟเฟ่ต์") คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองเรียกตนว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) รสช. แต่งตั้งอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนซึ่งยังขึ้นกับทหาร มาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงและตรงไปตรงมาของเขาทำให้ได้รับความนิยม

มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2535 รัฐบาลผสมตั้งพลเอก สุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยให้คำสัตย์ว่าจะไม่รับตำแหน่ง และยืนยันข้อสงสัยของสาธารณชนว่ารัฐบาลใหม่จะเป็นรัฐบาลทหารแฝงตัวมา การกระทำของเขาทำให้มีประชาชนหลายแสนคนเดินขบวนในกรุงเทพมหานคร นำโดย อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตรี จำลอง ศรีเมือง นับเป็นการเดินขบวนใหญ่สุดในกรุงเทพมหานคร

พลเอกสุจินดานำหน่วยทหารที่ภักดีต่อเขาโดยตรงเข้าสู่กรุงเทพมหานครและพยายามปราบปรามการเดินขบวนด้วยกำลัง ทำให้เกิดการสังหารหมู่และการจลาจล ซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าแทรกแซงโดยทรงเรียกพลเอกสุจินดาและพลตรีจำลองเข้าเฝ้าโดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และทรงให้ทั้งสองหาทางออกอย่างสันติ หลังจากนั้น พลเอกสุจินดาลาออก

รัฐบาลพลเรือนหลังพฤษภาทมิฬแก้ไข

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งอานันท์ซึ่งเป็นผู้นิยมเจ้ากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจนมีการจัดการเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้ชวน หลีกภัยเป็นรัฐบาล โดยได้รับเสียงจากกรุงเทพมหานครและภาคใต้เป็นหลัก ชวนเป็นนักบริหารที่สามารถและดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2538 จนเขาแพ้การเลือกตั้งให้แนวร่วมพรรคอนุรักษนิยมและต่างจังหวัดซึ่งมีบรรหาร ศิลปอาชาเป็นผู้นำ เมื่อรัฐบาลเต็มไปด้วยข้อกล่าวหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงตั้งแต่ต้น ทำให้รัฐบาลถูกบังคับให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดในปี 2539 โดยพรรคความหวังใหม่ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธได้รับเลือกตั้งอย่างเฉียดฉิว

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ร่าง จนได้ชื่อว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 สถาปนาระบบสองสภาซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิก 500 คน และวุฒิสภาที่มีสมาชิก 200 คน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากกว่ารัฐธรรมนูญอื่น ๆ มีการเพิ่มศาลรัฐธรรมนูญเข้าสู่ระบบศาล โดยมีเขตอำนาจพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและกิจการการเมืองต่าง ๆ

ไม่นานหลังเข้าดำรงตำแหน่ง พลเอกชวลิตเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี 2540 หลังได้รับเสียงวิจารณ์อย่างแรงจากการรับมือวิกฤตของเขา จึงลาออกในปี 2540 และชวนกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ชวนสามารถตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งทำให้ค่าเงินกลับมามีเสถียรภาพและให้ IMF เข้าแทรกแซงการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

ระหว่างการเลือกตั้งปี 2544 ความตกลงของชวนกับ IMF และการใช้เงินทุนอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเหตุให้มีการถกเถียงใหญ่โต ส่วนนโยบายของทักษิณ ชินวัตรดึงดูดใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ทักษิณรณรงค์ต่อต้านการเมืองแบบเก่า การฉ้อราษฎร์บังหลวง องค์การอาชญากรรมและยาเสพติด ในเดือนมกราคม 2544 เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย โดยได้รับเสียงจากประชาชนร้อยละ 40 ซึ่งมากกว่าอดีตนายกรัฐมนตรีคนใดที่มาจากการเลือกตั้ง

ลำดับเหตุการณ์กราฟิกแก้ไข

1
2
3
 
 
 
2516
2520
2524
2528
2532
2536
2540
2544

ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2516–2544
แถวแรก:   = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)

อ้างอิงแก้ไข

  1. อึ๊งภากรณ์, ใจ; ยิ้มประเสริฐ, สุธาชัย; และคณะ (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (PDF). คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519. ISBN 9748858626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข