อำเภอมายอ

อำเภอในจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย

มายอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี

อำเภอมายอ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mayo
คำขวัญ: 
มายอเมืองสงบ เคารพกฎหมาย
หลากหลายอาชีพ แหล่งผลิตบาติกสวย
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอมายอ
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอมายอ
พิกัด: 6°43′7″N 101°24′36″E / 6.71861°N 101.41000°E / 6.71861; 101.41000
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด216.1 ตร.กม. (83.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด61,395 คน
 • ความหนาแน่น284.11 คน/ตร.กม. (735.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94140,
94190 (เฉพาะตำบลลางา
และหมู่ที่ 1-4 ตำบลกะหวะ)
รหัสภูมิศาสตร์9405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมายอ ถนนยะรัง-มายอ ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 94140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอมายอตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
ย่านเขตเทศบาลตำบลมายอ
 
ชุมชนในตำบลถนน
 
ทุ่งนาในเขตตำบลตรัง
 
ทิวทัศน์ภูเขาในเขตตำบลลุโบะยิไร
 
ชุมชนในเขตตำบลลุโบะยิไร
 
ถนนและการคมนาคมในเขตตำบลลุโบะยิไร

ประวัติ

แก้

เมื่อ พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงบริเวณ 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ปรากฏชื่ออำเภอมายอขึ้นในสมัยนั้น เรียกว่า “อำเภอระเกาะ” โดยเรียกชื่อตามคลองน้ำที่อยู่ใกล้ ๆกับที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะจัน คำว่า “ระเกาะ” เป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า แรเกาะ เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า “คด” หมายถึง ลำคลองที่มีลักษณะคดเคี้ยวไปมา และมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในเขตของแขวงเมืองยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการพิจารณาเห็นว่าบริเวณสถานที่ตั้งอำเภอไม่เหมาะสม จึงย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาสร้างใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น บริเวณเนินเขาในเขตเทศบาลตำบลมายอ และในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ทางกระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “อำเภอระเกาะ” มาเป็น “อำเภอมายอ”[1] เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ จวบจนถึงปัจจุบัน คำว่า “มายอ” ภาษามลายู หมายถึง “ต้นมะตูม” ภาษามลายูกลางอ่านว่า “มายา” สอดคล้องกับชื่อเมืองหมันยาในบทละครเรื่องอิเหนา หมายถึง “ต้นมะตูม” และยังได้สันนิษฐานว่า "มายอ" คำมาลายูอาจกลายเสียงจากคำเดิมในภาษาไทย คือ ชื่อหมู่บ้านในอดีตที่เป็นชุมชนใหญ่ เรียกว่า “เมืองยอน”

  • วันที่ 20 มิถุยายน 2452 สร้างสะพานข้ามคลองระเกาะ และสะพานข้ามพรุตำบลมายอ[2] ในอำเภอระเกาะ แขวงเมืองยะหริ่ง
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอระเกาะ จังหวัดปัตตานี เป็น อำเภอมายอ[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลเกาะจัน แยกออกจากตำบลมายอ ตั้งตำบลปากู แยกออกจากตำบลน้ำดำ ตั้งตำบลปะโด แยกออกจากตำบลตรัง ตั้งตำบลสะกำ แยกออกจากตำบลลางา ตั้งตำบลสาคอบน แยกออกจากตำบลสาคอ[4]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลมายอ ในท้องที่หมู่ 1,2 ของตำบลมายอ[5]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลน้ำดำ สภาตำบลตะโละแมะนา สภาตำบลปากู สภาตำบลมายอ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลมายอ) สภาตำบลกระหวะ สภาตำบลกระเสาะ สภาตำบลเกาะจัน สภาตำบลปานัน สภาตำบลสาคอใต้ สภาตำบลสาคอบน สภาตำบลปะโด สภาตำบลถนน สภาตำบลสะกำ และสภาตำบลลางา[6]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลพิเทน สภาตำบลลุโบะยิไร และสภาตำบลตรัง[7]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา ตำบลน้ำดำ ตำบลปากู และตำบลพิเทน จากอำเภอมายอ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง[8] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมายอ
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอมายอ เป็น อำเภอทุ่งยางแดง[9]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลลางา สภาตำบลลุโบะยิไร สภาตำบลเกาะจัน สภาตำบลปะโด สภาตำบลกระหวะ สภาตำบลสะกำ สภาตำบลถนน สภาตำบลกระเสาะ สภาตำบลตรัง และสภาตำบลสาคอบน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลางา องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะยิไร องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน องค์การบริหารส่วนตำบลปะโด องค์การบริหารส่วนตำบลกระหวะ องค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ องค์การบริหารส่วนตำบลถนน องค์การบริหารส่วนตำบลกระเสาะ องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน[10]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมายอ เป็นเทศบาลตำบลมายอ[11] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลปานัน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปะโด และยุบสภาตำบลสาคอใต้ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน[12] กับยุบสภาตำบลมายอ รวมกับเทศบาลตำบลมายอ[13]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอมายอแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่

1. มายอ (Mayo) 3 หมู่บ้าน 8. เกาะจัน (Ko Chan) 5 หมู่บ้าน
2. ถนน (Thanon) 4 หมู่บ้าน 9. ปะโด (Pado) 5 หมู่บ้าน
3. ตรัง (Trang) 4 หมู่บ้าน 10. สาคอบน (Sakho Bon) 3 หมู่บ้าน
4. กระหวะ (Krawa) 5 หมู่บ้าน 11. สาคอใต้ (Sakho Tai) 4 หมู่บ้าน
5. ลุโบะยิไร (Lubo Yirai) 8 หมู่บ้าน 12. สะกำ (Sakam) 4 หมู่บ้าน
6. ลางา (La-nga) 7 หมู่บ้าน 13. ปานัน (Panan) 2 หมู่บ้าน
7. กระเสาะ (Kraso) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอมายอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมายอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมายอทั้งตำบล (เขตสุขาภิบาลมายอเดิม)[5][11][13]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระหวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระหวะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะยิไร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุโบะยิไรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลางา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลางาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเสาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเสาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะจันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะโด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโดและตำบลปานันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาคอบนและตำบลสาคอใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกำทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างสะพานข้ามคลองระเกาะ และข้ามพรุตำบลมายอ รวม ๒ สะพาน ในท้องที่อำเภอระเกาะ เมืองยะหริ่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 422. June 20, 1909.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-62. January 7, 1957.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. August 24, 1973.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (44 ง): 2177. May 24, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  11. 11.0 11.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. September 15, 2004.
  13. 13.0 13.1 [1] เก็บถาวร 2019-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาลตำบล