อำเภอหนองฉาง
หนองฉาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานี
อำเภอหนองฉาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nong Chang |
คำขวัญ: เมืองอุทัยเก่า เผ่าคนมอญ ประเพณีสำรับคาวหวาน โบราณสมุดข่อย | |
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอหนองฉาง | |
พิกัด: 15°23′29″N 99°50′29″E / 15.39139°N 99.84139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 341.2 ตร.กม. (131.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 42,733 คน |
• ความหนาแน่น | 125.24 คน/ตร.กม. (324.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 61110, 61170 (เฉพาะตำบลเขาบางแกรก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6104 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอหนองฉาง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 61110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอหนองฉาง เคยเป็นเมืองในยุคทวารวดีจะมีชื่อเดิมอย่างใดไม่ปรากฏ แต่สันนิฐานว่าเป็นเพียงเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พอประมาณ ปัจจุบันยังมีร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างที่ปรักหักพังให้เป็นหลงเหลืออยู่บ้างที่เมืองการุ้งในเขตของอำเภอบ้านไร่ และเมืองโบราณบึงคอกข้าง อยู่ในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ และเมื่ออาณาจักรของทวาราวดีเสื่อมโทรมไปเมืองหนองฉางก็เสื่อมโทรมและร้างไปในที่สุด
ต่อมาในสมัยต้นกรุงสุโขทัย ท่านท้าวมหาพรหมได้มาสร้างเมืองอุทัยที่ตำบลอุทัยเก่า อำเภอหนองฉางอีกครั้ง เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดีและเหมาะสม เนื่องจากมีน้ำอุดมสมบูรณ์และพืชพรรณธัญญาหารเจริญงอกงามดีพอสร้างเมืองเสร็จแล้ว ราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้เคียงก็อพยพกันเข้ามาอยู่กันอย่างหนาแน่น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พะตะเบิด ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองคนแรก จึงมีการจัดทำเนียบหัวเมืองขึ้น ดังนั้น เมืองอุทัยได้จัดอยู่เป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระอินทรเดช เป็นนายด่านหนองสรวง (ปัจจุบันตำบลนี้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองฉางประมาณ 2 กิโลเมตร) และมีพระพลสงคราม เป็นนายด่านแม่กลอง (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านไร่)
ครั้นต่อมาเมื่อกิจการค้าขายทางน้ำเจริญขึ้นตัวเมืองอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอหนองฉางในปัจจุบัน และอยู่ห่างจากแม่น้ำมาก การประกอบอาชีพไม่ดีเท่าที่ควร จึงเริ่มเสียความสำคัญไปราษฎรส่วนมากจึงพากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่บ้านสะแกกรัง แขวงเมืองมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในทางค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนจนกลายเป็นชุมชนหนาแน่น และคับคั่งไปด้วยผู้คนมากมายถึงแม้จะอยู่ในเขตของจังหวัดชัยนาท แต่ราษฎรส่วนใหญ่ก็ถือว่าตนเป็น “คนอุทัย” ซึ่งในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ มีบุคคลสำคัญของตระกูลหนึ่งนำโดยหมื่นมหาสนิท (ทองคำ) ชื่อนายทองดี มีอายุพอสมควร ท่านบิดาจึงได้ส่งเข้าไปรับราชการที่กรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “พระพินิจอักษร“ เจ้ากรมเสมียนตราท่านผู้นี้คือ “สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก” ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์จักรี
ในปี พ.ศ. 2310 ชาวไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าราษฎรชาวเมืองอุทัยทั้งที่เมืองหนองฉาง และบ้านสะแกกรังถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลยยังเมืองเมาะตะมะเกือบทั้งหมดทำให้ เมืองอุทัยเกือบเป็นเมืองร้าง ครั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์โปรดให้กองทัพกรุงธนบุรีมาขับไล่พม่าให้พ้นไปจากเมืองอุทัย และโปรดให้หลวงสรวิชิต (หน) เป็นนายด่านเมืองอุทัย
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2376 พระยาอุทัยธานีซึ่งเป็นชาวกรุงเทพ เห็นว่าบ้านสะแกกรังมีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น อยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง การคมนาคม และการขนส่งสินค้าสะดวกกว่าที่อำเภอหนองฉางที่อยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสมไม่มีแม่น้ำไหลผ่านจึงได้ย้ายไปว่าราชการที่บ้านสะแกกรัง แขวงเมืองชัยนาท และพระยาชัยนาทซึ่งเป็นเพื่อนกับพระยาอุทัยธานีก็ไม่รังเกียจขัดขวาง จึงได้จัดตั้งสำนักงานและว่าราชการที่ “บ้านสะแกกรัง” สืบต่อมาจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2445 กระทรวงมหาดไทยจึงมีคำสั่งประกาศย้ายเมืองอุทัยธานีอย่างเป็นทางการจากที่ตั้งเดิมที่อำเภอหนองฉางไปยัง “บ้านสะแกกรัง” ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี ส่วนเมืองอุทัยธานีเดิมก็เปลี่ยนมาเป็นอำเภอหนองฉางในปัจจุบัน ส่วนที่ตั้งเมืองอุทัยธานีเดิมในปัจจุบัน คือ "บ้านอุทัยเก่า ตำบลอุทัยเก่า อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี"[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุไทยเก่า จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอหนองฉาง[2]
- วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2464 มีฐานะเป็นอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี มณฑลนครสวรรค์ มีทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองฉาง ตำบลหนองสรวง ตำบลอุทัยเก่า ตำบลบ้านเก่า ตำบลทุ่งพง ตำบลเกาะกร่าง ตำบลหนองยาง ตำบลหนองนางนวล[3]
- วันที่ 2 เมษายน 2465 ตั้งตำบลทุ่งกองโพ (ตำบลทุ่งโพ) แยกออกจากตำบลอุทัยเก่า[4] ในท้องที่อำเภอหนองฉาง
- วันที่ 31 ธันวาคม 2483 ยุบตำบลหนองสรวง และตำบลเกาะกร่าง รวมกับท้องที่ตำบลหนองฉาง
- วันที่ 30 กันยายน 2490 แบ่งการปกครองหมู่ที่ 5,7,8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองฉาง ตั้งขึ้นเป็นตำบลหนองสรวง[5]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองฉาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองฉาง[6]
- วันที่ 6 ธันวาคม 2498 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 3 บ้านหนองจิกยาว (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งพง ไปขึ้นกับหมู่ 10 ตำบลอุทัยเก่า กับโอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 3 บ้านหนองมะกอก (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองนางนวล ไปขึ้นกับหมู่ 2 ตำบลหนองยาง และโอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 8 บ้านห้วยขานาง (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งโพ ไปขึ้นกับหมู่ 1 ตำบลหนองยาง[7]
- วันที่ 24 ธันวาคม 2506 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหนองฉาง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[8] ให้เขตสุขาภิบาลหนองฉาง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลหนองฉาง ตำบลหนองยาง ตำบลหนองนางนวล ตำบลหนองสรวง ตำบลบ้านเก่า ตำบลอุทัยเก่า ตำบลทุ่งโพ ตำบลทุ่งพง และตำบลเขาบางแกรก อำเภอหนองฉาง
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2508 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์หนองฉาง[9] อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
- วันที่ 7 ธันวาคม 2519 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหนองฉาง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[10] ให้เขตสุขาภิบาลหนองฉาง มีเขตสุขาภิบาลตามปี พ.ศ. 2498
- วันที่ 2 สิงหาคม 2520 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาบางแกรก ในท้องที่หมู่ 1,2,4 และ 5 ตำบลเขาบางแกรก[11]
- วันที่ 25 กันยายน 2522 ตั้งตำบลเขากวางทอง แยกออกจากตำบลทุ่งโพ[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลหนองฉาง และสุขาภิบาลเขาบางแกรก เป็นเทศบาลตำบลหนองฉาง และเทศบาลตำบลเขาบางแกรก ตามลำดับ[13] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลบ้านเก่า รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉาง[14]
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลเขาบางแกรก รวมกับเทศบาลตำบลเขาบางแกรก[15]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอหนองฉางมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทัพทัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองขาหย่าง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองมะโมง (จังหวัดชัยนาท) อำเภอบ้านไร่ และอำเภอห้วยคต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลานสัก
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอหนองฉางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[16] |
---|---|---|---|---|
1. | หนองฉาง | Nong Chang | 7
|
4,432
|
2. | หนองยาง | Nong Yang | 10
|
5,566
|
3. | หนองนางนวล | Nong Nang Nuan | 10
|
3,165
|
4. | หนองสรวง | Nong Suang | 5
|
2,766
|
5. | บ้านเก่า | Ban Kao | 9
|
1,363
|
6. | อุทัยเก่า | Uthai Kao | 10
|
2,453
|
7. | ทุ่งโพ | Thung Pho | 15
|
7,728
|
8. | ทุ่งพง | Thung Phong | 11
|
2,044
|
9. | เขาบางแกรก | Khao Bang Kraek | 7
|
6,144
|
10. | เขากวางทอง | Khao Kwang Thong | 12
|
7,072
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอหนองฉางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลหนองฉาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองฉางและตำบลหนองสรวง
- เทศบาลตำบลเขาบางแกรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาบางแกรกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเก่าทั้งตำบลและตำบลหนองฉาง (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองฉาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนางนวล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองนางนวลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสรวง (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองฉาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุทัยเก่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งโพทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งพงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขากวางทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากวางทองทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติความเป็นมา - สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองฉาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ May 21, 2021.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. February 26, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 2–3. April 2, 1922.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. September 30, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 103-105. September 17, 1955.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่จังหวัดขอนแก่น แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี ปัตตานี สงขลา นครราชสีมา และพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (94 ง): 2918–2920. December 6, 1955.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121 ง): 2740–2741. December 24, 1963.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขศรีขรภูมิ, ยางตลาด หนองบัวลำภู และหนองฉาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (55 ง): 1829. July 13, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (150 ง): 3707–3709. December 7, 1976.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาบางแกรก อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (70 ง): 3185–3187. August 2, 1977.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองฉาง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (167 ง): 3262–3269. September 25, 1979.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. September 15, 2004.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). September 24, 2004: 1–2.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.