อำเภอน้ำหนาว
น้ำหนาว เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูง มีเขตป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษา "ไทหล่ม" เช่นเดียวกับ อำเภอหล่มเก่า และ อำเภอหล่มสัก
อำเภอน้ำหนาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nam Nao |
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวในเขตตำบลหลักด่าน | |
คำขวัญ: แผ่นดินสูงเฉียดฟ้า แหล่งป่าไม้นานาพันธุ์ มหัศจรรย์ถ้ำใหญ่น้ำหนาว รอยเท้าสัตว์ล้านปี ประเพณีเผาข้าวหลาม เลื่องลือนามข้าวพญาลืมแกง | |
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอน้ำหนาว | |
พิกัด: 16°46′6″N 101°40′18″E / 16.76833°N 101.67167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 620.0 ตร.กม. (239.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 18,667 คน |
• ความหนาแน่น | 30.11 คน/ตร.กม. (78.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 67260 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6709 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอน้ำหนาว หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 67260 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอน้ำหนาวมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหล่มเก่า และอำเภอภูหลวง (จังหวัดเลย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภูกระดึง (จังหวัดเลย) และอำเภอภูผาม่าน (จังหวัดขอนแก่น)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคอนสาร (จังหวัดชัยภูมิ)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหล่มสักและอำเภอหล่มเก่า
ประวัติ
แก้อำเภอน้ำหนาว เมื่อ พ.ศ. 2400 เดิมเป็นเพียงกลุ่มบ้าน มีบ้านเรือนประมาณ 4-5 ครอบครัว ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านห้วยน้ำหนาว กลุ่มบ้านดังกล่าวเป็นชุมชนที่ยังไม่ถาวร มีการเคลื่อนย้ายหมู่บ้านเมื่อมีการเจ็บป่วยล้มตาย หรือเกิดโรคระบาดของคนในหมู่บ้าน ประชาชนจะอพยพครอบครัวหนีโรคร้ายเข้าไปอาศัยอยู่ตามป่าเขา ไร่นา เมื่อโรคร้ายสงบลงจึงอพยพกลับถิ่นเดิมหรือไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่โดยมีความเชื่อกันว่า ผีกินหรือผีมารังควาน เมื่อย้ายหมู่บ้านคราใดก็เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านไปเรื่อย ๆ ตามสภาพที่ตั้งของหมู่บ้าน เช่น บ้านห้วยขอนเปลือย บ้านโนนจำปา บ้านโคกลานกลอย บ้านห้วยตำแย บ้านห้วยน้ำหนาว และบ้านท่าไร่ เป็นต้น หมู่บ้านทั้งหมดนี้ขึ้นต่อการปกครองตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า ต่อมามีการตั้งหมู่บ้านขึ้น ได้แก่ บ้านนาพอสอง บ้ายห้วยหอย (บ้านวังกวาง) บ้านตาดข่า บ้านกกกล้วยนวล ทำให้การตรวจตราและดูแลราษฎรของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก[1]
พ.ศ. 2457 ทางราชการได้แยกพื้นที่บ้านห้วยน้ำหนาว ออกจากตำบลหล่มเก่าตั้งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหล่มเก่า เรียกว่า "ตำบลน้ำหนาว" กำนันตำบลน้ำหนาวคนแรกคือ นายมูล คัมภีร์ ที่บ้านห้วยลาด ต่อมาปี พ.ศ. 2487 รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ได้มีการสำรวจและเกณฑ์แรงงานราษฎรในการสร้างเส้นทางจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สู่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเริ่มต้นเส้นทางที่บ้านศรีฐาน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ผ่านบ้านวังกวาง ภูผาลา บ้านหลักด่าน ป่าห้วยอีหม้อ บ้านตาดกลอย สู่เขตอำเภอหล่มเก่า บ้านกกกะทอน หัวหน้าคณะผู้สำรวจเส้นทางในสมัยนั้น คือ นายช่างเต็ม วิภาคย์ จนกิจการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวผู้คนต้องเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะไข้มาลาเรียในป่าน้ำหนาวเป็นจำนวนมาก ตรงบริเวณข้างสะพานห้วยผาลาเป็นสุสานที่ฝังศพของผู้เสียชีวิต เส้นทางสายนี้ก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องลาออก การก่อสร้างดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป
พ.ศ. 2521 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าตำบลน้ำหนาว และตำบลหลักด่าน ของอำเภอหล่มเก่า เป็นพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลคมนาคม เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง เพราะเป็นพื้นที่ชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ประกอบกับมีการแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และยากต่อการปราบปราม ซึ่ง ผบ.พตท.1617 และผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าควรจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น และกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอตามประกาศลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2521[2] โดยให้ขึ้นกับอำเภอหล่มเก่า ในปีแรกใช้อาคารเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านนาพอสอง (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนอนุบาลน้ำหนาว) เป็นที่ทำการชั่วคราว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ทางราชการได้ที่ว่าการกิ่งอำเภอสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นอาคาร 2 ชั้น และใช้เป็นที่ว่าการอำเภอถึงปัจจุบันนี้ นายเน็ด โฉมอุดม ปลัดอำเภอหล่มเก่าเป็นปลัดอำเภอหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก พร้อมทั้งจัดตั้งตำบลโดยแยกหมู่ 2,10 บ้านวังกวาง หมู่ 4 บ้านซำม่วง หมู่ 11 บ้านไร่ใต้ หมู่ 12 บ้านดงคล้อ และหมู่ 14 บ้านห้วยหินลับ ของตำบลน้ำหนาว รวม 6 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลวังกวาง[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้แยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านป่ารวก หมู่ 6 บ้านกกกะบก หมู่ 7,12 บ้านโคกมน หมู่ 8 บ้านห้วยสนามทราย และหมู่ 11 บ้านดงมะไฟ ของตำบลน้ำหนาว รวม 6 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลโคกมน[4] เนื่องจากหลักเกณฑ์การตั้งอำเภอต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล (ในพื้นที่ห่างไกล) และได้ตั้งเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอน้ำหนาวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | น้ำหนาว | (Nam Nao) | 6 หมู่บ้าน | |||
2. | หลักด่าน | (Lak Dan) | 7 หมู่บ้าน | |||
3. | วังกวาง | (Wang Kwang) | 11 หมู่บ้าน | |||
4. | โคกมน | (Khok Mon) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอน้ำหนาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหนาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำหนาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลักด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักด่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมนทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์". สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำหนาว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (130 ง): 4080. วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (127 ง): 2798–2799. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอน้ำหนาว และกิ่งอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-55. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ก): (ฉบับพิเศษ) 29-32. วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534