อำเภอพรานกระต่าย
พรานกระต่าย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอพรานกระต่าย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phran Kratai |
คำขวัญ: เอกลักษณ์ภาษาถิ่น หินอ่อนเมืองพาน ตำนานถ้ำกระต่ายทอง เห็ดโคนดองรสดี | |
แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอพรานกระต่าย | |
พิกัด: 16°39′54″N 99°35′18″E / 16.66500°N 99.58833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กำแพงเพชร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,081.791 ตร.กม. (417.682 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 69,717 คน |
• ความหนาแน่น | 64.45 คน/ตร.กม. (166.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 62110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6206 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพรานกระต่าย ถนนประเวสไพรวัน ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 62110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ตำนานพรานกระต่าย
แก้จากคำบอกเล่าที่เล่าต่อกันมาว่า มีชายคนหนึ่งมีอาชีพในทางล่าสัตว์ ตั้งนิวาสสถานอยู่บริเวณเมืองพาน ได้ออกป่ามาล่าสัตว์ถึงบริเวณที่ราบลุ่มแถววัดโพธิ์ปัจจุบัน เพราะบริเวณนี้มีน้ำอุดม หญ้าและต้นไม้ขึ้นเขียวชะอุ่มตลอดปี พวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมาอาศัยหากินอยู่บริเวณนี้ บังเอิญได้พบกระต่ายตัวหนึ่งมีขนเป็นสีเหลืองเข้ม เหมือนสีทองสวยงามมากจึงไล่จับ กระต่ายตัวนั้นได้วิ่งหลบหายไปในพุ่มไม้ที่ขึ้นรกแห่งหนึ่ง ค้นหาเท่าไรก็ไม่พบจึงกลับไปบอกพวกญาติพี่น้องให้ทราบ ทุกคนต่างก็อยากได้กระต่ายตัวนั้นเพื่อนำไปเลี้ยงเพราะเป็นของแปลก ไม่เคยเห็นมาก่อน จึงพากันมาดักดูกระต่ายตัวนั้น เมื่อพบแล้วก็พากันไล่จับแต่กระต่ายก็วิ่งหลบเข้าพุ่มไม้หายไปทุกที จึงช่วยกันถาง พุ่มไม้นั้นออกก็พบว่าบริเวณนั้นเป็นเตาถลุงเหล็กเก่า มีโพรงมีบ่อ หลายแห่ง จึงรู้ว่ากระต่ายต้องอยู่ในโพรงนั้นแน่นอน แต่ไม่อาจขุดหาได้จึงได้แต่นั่งเฝ้าปากโพรงไว้รอให้ กระต่ายออกจากโพรงแล้วจะจับ แต่รอเท่าไรกระต่ายก็ไม่โผล่ออกมาให้เห็นอีกเลย จึงกลับไปอพยพครอบ ครัวมาตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณนั้นเลย เพราะนอกจากจะมีความหวังในกระต่ายตัวนั้นแล้ว ยังเห็นว่าบริเวณนั้น เป็นที่ลุ่มดีเหมาะสำหรับจะปลูกข้าวเลี้ยงชีพได้ ด้วยมีน้ำไหลออกจากโพรงของเตาถลุงแห่งหนึ่งตลอดเวลา ทั้งสัตว์ป่าก็ชุกชุมสามารถล่ามาเลี้ยงชีพได้ อีกอย่างก็ได้มาตั้งรกรากเป็นการถาวรแล้วจึงได้แผ้วถางที่ทำมาหากินจนเป็นทุ่งโล่งขึ้นเรื่อยๆ และสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์มาจนเป็นชุมชนใหญ่ ส่วนเตาถลุงและบ่อเหล็ก ที่เป็นต้นตำนานของท้องที่นั้น ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำกระต่ายทอง เรื่อยมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอพรานกระต่ายตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก (จังหวัดตาก) และอำเภอบ้านด่านลานหอย (จังหวัดสุโขทัย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศ (จังหวัดสุโขทัย) และอำเภอลานกระบือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไทรงามและอำเภอเมืองกำแพงเพชร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโกสัมพีนคร และอำเภอเมืองตาก (จังหวัดตาก)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอพรานกระต่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | พรานกระต่าย | (Phran Kratai) | 6. | เขาคีริส | (Khao Khirit) | ||||||||||
2. | หนองหัววัว | (Nong Hua Wua) | 7. | คุยบ้านโอง | (Khui Ban Ong) | ||||||||||
3. | ท่าไม้ | (Tha Mai) | 8. | คลองพิไกร | (Khlong Phikrai) | ||||||||||
4. | วังควง | (Wang Khuang) | 9. | ถ้ำกระต่ายทอง | (Tham Kratai Thong) | ||||||||||
5. | วังตะแบก | (Wang Tabaek) | 10. | ห้วยยั้ง | (Huai Yang) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอพรานกระต่ายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพรานกระต่าย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพรานกระต่ายและตำบลถ้ำกระต่ายทอง
- เทศบาลตำบลบ้านพราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรานกระต่าย (นอกเขตเทศบาลตำบลพรานกระต่าย)
- เทศบาลตำบลคลองพิไกร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพิไกรทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขาคีริส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาคีริสทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัววัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัววัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังควง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังควงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะแบก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะแบกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุยบ้านโอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุยบ้านโองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำกระต่ายทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำกระต่ายทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลพรานกระต่าย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยั้งทั้งตำบล