อำเภอวังสะพุง

อำเภอในจังหวัดเลย ประเทศไทย

วังสะพุง เป็นอำเภอในจังหวัดเลย

อำเภอวังสะพุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Wang Saphung
สนามกีฬาอำเภอวังสะพุง
สนามกีฬาอำเภอวังสะพุง
คำขวัญ: 
วังสะพุงแดนเกจิอาจารย์ ต้นตำนานเมืองเซไล
เสมาหินทรายเลื่องชื่อ นามระบือศูนย์ศิลป์สิรินธร
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอวังสะพุง
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอวังสะพุง
พิกัด: 17°18′6″N 101°46′6″E / 17.30167°N 101.76833°E / 17.30167; 101.76833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเลย
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,145.0 ตร.กม. (442.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,116 คน
 • ความหนาแน่น97.05 คน/ตร.กม. (251.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 42130
รหัสภูมิศาสตร์4209
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวังสะพุง ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2016 ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 42130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง
ศูนย์ศิลป์สิรินธร เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในบริเวณโรงเรียนศรีสงครามวิทยา

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอวังสะพุงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ แก้

ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ (เจ้าพ่อศรีสงคราม) ได้เดินทางมากับนายโส เดินทางขึ้นตแม่น้ำเลยไป จนมาถึงวังน้ำวนจึงได้หยุดพัก และที่ตรงวังน้ำวนนั้นมีต้นสะพุงต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ 7 คน กางแขนโอบรอบได้พอดี ตรงที่มีต้นสะพุงต้นใหญ่อยู่นั้น ปัจจุบันนี้คือเป็นที่ตั้งของวัดศรีชมชื่น ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ ได้ปรึกษากับนายพรานโสว่าตรงนี้ร่มรื่นดี สมควรจะตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนี้ เพราะว่าตามที่เดินผ่านมาแรมวัน แรมคืน แรมเดือนนั้นไม่เห็นตรงไหนที่จะร่มรื่นน่าอยู่เหมือนกับที่ต้นสะพุงใหญ่อยู่ ทั้งสองท่านก็ลงความเห็นกันว่าเหมาะสมที่จะตั้งเป็นบ้านเมืองได้ ก็ได้มาตั้งหลักฐานอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อศรีสงคราม ชื่อของบ้านวังสะพุงได้มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่าเป็นการรวมกันของคำว่า "วัง" รวมกับคำว่า "สะพุง" ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณวังน้ำวนนั้นจึงเรียกว่า "บ้านวังสะพุง"

วังสะพุงเดิมแบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวงโดยยึดถือลำน้ำปวนเป็นเส้นแบ่งเขต ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองหล่มศักดิ์ ในมณฑลพิษณุโลก ส่วนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองกมุทธาไสย ต่อมาปรากฏว่าแขวงทั้งสองมีพลเมืองหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2440 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอวังสะพุง" โดยให้อยู่ในความปกครองของเมืองหล่มสัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการจัดแบ่งเขตการปกครองใหม่ อำเภอวังสะพุง จึงถูกโอนมาขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเลย จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอวังสะพุงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 144 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วังสะพุง (Wang Saphung) 14 หมู่บ้าน 6. ผาน้อย (Pha Noi) 21 หมู่บ้าน
2. ทรายขาว (Sai Khao) 20 หมู่บ้าน 7. ผาบิ้ง (Pha Bing) 6 หมู่บ้าน
3. หนองหญ้าปล้อง (Nong Ya Plong) 20 หมู่บ้าน 8. เขาหลวง (Khao Luang) 13 หมู่บ้าน
4. หนองงิ้ว (Nong Ngio) 9 หมู่บ้าน 9. โคกขมิ้น (Khok Khamin) 20 หมู่บ้าน
5. ปากปวน (Pak Puan) 12 หมู่บ้าน 10. ศรีสงคราม (Si Songkhram) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอวังสะพุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองวังสะพุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังสะพุงและตำบลศรีสงคราม
  • เทศบาลตำบลปากปวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากปวนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศรีสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสงคราม (นอกเขตเทศบาลเมืองวังสะพุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังสะพุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสะพุง (นอกเขตเทศบาลเมืองวังสะพุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรายขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหญ้าปล้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองงิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผาบิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาบิ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขมิ้นทั้งตำบล

ทำเนียบรายนามนายอำเภอวังสะพุง แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 หลวงราชภักดี (พิกุล) 2441-2442
2 หลวงภักดีณรงค์ (ท่า) 2442-2443
3 หลวงภักดีอักษร (เทียม) 2443-2445
4 ขุนพิพัฒนกิจนุศาสตร์ (บัวรส) 2445-2448
5 หลวงพินิจอักษร (เทียม) 2448-2450
6 ขุนพิพัฒนสพุงเขต (คำพัน มงคลวัฒน์) 2450-2457
7 หลวงบรรหารอรรถคดี 2457-2460
8 หลวงวิจิตรคุณสาร (โต๊ะ พลวิเศษ) 2460-2465
9 นายถวิล เจียรมานพ 2465-2466
10 หลวงพิศาลสารกิจ 2466-2469
11 หลวงภูมิพิริการ 2470-2476
12 นายทิพย์ กฤษมานิต 2476-2481
13 ขุนอารักษ์ ธุระราษฎร์(กำปั่น เณรโต) 2481-2482
14 นายประสาน วสุวัติ 2482-2486
15 นายแคล้ว โกศลวรรธนะ 2486-2488
16 นายสุเทพ สุธรรมมา 2488-2489
17 นายประยูร จามิกร 2489-2489
18 ขุนพระยาประสาท (แก้วทองพัสสา) 2490-2490
19 นายบุญชัย สอนอิ่มศาสตร์ 2491-2495
20 นายเชาว์ พงศ์ประดิษฐ์ 2495-2496
21 นายคม จันทบาตร 2496-2497
22 นายพิชัย ศรีอุทัย 2497-2499
23 นายต่วน ไกรศรีวรรธนะ 2499-2501
24 นายประเสริฐ รัตนารมย์ 2501-2502
25 ร.ต.ต.สุข ศรีเพ็ญ 2502-2508
26 นายสุริยัน ตันตวสี 2508-2510
27 นายฤทัย ชิวรัตน์ 2510-2512
28 นายอภัย หล้าสุวงษ์ 2512-2514
29 พ.ต.สีห์พนม วรสาร 2514-2517
30 นายกวี บำเพ็ญบุตร 2517-2518
31 นายพิชัย ยุวนิช 2518-2519
32 ร.ต.ไมตรี บุญณะ 2519-2521
33 นายวีรเทพ หาญณรงค์ 2521-2523
34 นายประสพ สุจริตจันทร์ 2523-2527
35 นายจีรศักดิ์ เกษียนบุตร 2527-2531
36 ร.อ.คุณมี รัตนปริญญา 2531-2532
37 นายธวัช เสถียรนาม 2532-2535
38 นายวิชา ทัพธง 2535-2539
39 นายชีวิต แก้ววัฒนะ 2539-2542
40 นายสมศักดิ์ นันทศักดิ์ศิริ 2542-2543
41 นายเทพ บูรมิ 2543-2547
42 นายเริงชัย ไชยวัฒน์ 2547-2550
43 นายเสน่ห์ นนทะโชติ 2550-2554
44 นายธนพล จันทรนิมิ 2554- 2554
45 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ 2554 - 2558
46 นายวิสา ยัญญลกษณ์ 2558 - 2559
47 นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว 2559 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้