อำเภอเนินสง่า
เนินสง่า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด โดยอำเภอเนินสง่านับเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิที่มีทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ผ่าน มีสถานีรถไฟหนองฉิม เป็นสถานีรถไฟย่อยประจำอำเภอ
อำเภอเนินสง่า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Noen Sa-nga |
คำขวัญ: เลื่องชื่อไข่เค็มตาเนิน เพลินตาเสื่อกกหนองฉิม กะฮาดปลาร้าบองชวนชิม พริ้มพรายผ้าไหมรังงาม สมนามเนินสง่าพาเจริญ | |
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอเนินสง่า | |
พิกัด: 15°33′51″N 102°0′6″E / 15.56417°N 102.00167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชัยภูมิ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 222.03 ตร.กม. (85.73 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,968 คน |
• ความหนาแน่น | 116.96 คน/ตร.กม. (302.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 36130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3615 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเนินสง่า หมู่ที่ 5 ตำบลหนองฉิม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ 36130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้เดิมท้องที่อำเภอเนินสง่าทั้งหมดถูกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส ต่อมาในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกการปกครองหมู่ที่ 2,4,6,12-13,19-20,23-25 จากตำบลละหาน จัดตั้งเป็นตำบลตาเนิน[1] และในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ได้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลละหานอีกครั้ง รวมตั้งเป็นตำบลหนองฉิม[2] วันที่ 1 กันยายน 2513 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกการปกครองหมู่ที่ 4-9,11,13,15,18 จากตำบลตาเนิน จัดตั้งเป็นตำบลกะฮาด[3][4] และในวันที่ 10 ตุลาคม 2529 กระทรวงมหาดไทยได้มีการแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลหนองฉิม จัดตั้งเป็นตำบลรังงาม[5]
ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิเขต 3 สมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิเขตเลือกตั้งอำเภอจัตุรัส พ่อค้า ประชาชนได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือและพิจารณาเห็นว่าพื้นที่จำนวน 4 ตำบลของอำเภอจัตุรัส ประกอบด้วยตำบลหนองฉิม ตำบลตาเนิน ตำบลกะฮาด และตำบลรังงาม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแต่อยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอจัตุรัส จึงได้มีมติยื่นเรื่องให้กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น โดยแยกพื้นที่การปกครอง 4 ตำบลของอำเภอจัตุรัส ซึ่งทางราชการได้พิจารณาหลักเกณฑ์และสภาพปัญหาข้อเท็จจริง จึงได้ประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอเนินสง่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535[6] โดยกำหนดที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบริเวณที่สาธารณประโยชน์ บ้านหนองผักชี หมู่ที่ 5 ตำบลหนองฉิม เนื้อที่ 36 ไร่ และราษฎรบริจาคที่ดินสมทบ จำนวน 25 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา รวมที่ดินตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอเนินสง่าทั้งหมด 61 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา และในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ทางราชการได้ตั้งสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอเนินสง่า[7] ซึ่งเขตอำนาจความรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองของสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอเนินสง่าที่ตั้งขึ้นใหม่ครอบคลุมสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531[8] จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินอีกต่อไป ซึ่งเดิมสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านตาเนินมีพื้นที่สอบสวนในเขตตำบล ตำบลตาเนิน ตำบลหนองฉิม ตำบลกะฮาด และตำบลรังงามในอำเภอเนินสง่าในปัจจุบัน
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเนินสง่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ปีเดียวกัน[9] โดยการตั้งชื่ออำเภอเป็น "เนินสง่า" นั้น เกิดจากสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นเนินสูง เพื่อให้เป็นชื่อที่ไพเราะมากยิ่งขึ้น จึงตั้งชื่อว่า "เนินสง่า"
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเนินสง่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจัตุรัสและอำเภอเมืองชัยภูมิ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านเหลื่อมและอำเภอคง (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคงและอำเภอพระทองคำ (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจัตุรัส
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเนินสง่าแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | หนองฉิม | (Nong Chim) | 15 หมู่บ้าน | ||||
2. | ตาเนิน | (Ta Noen) | 14 หมู่บ้าน | ||||
3. | กะฮาด | (Kahat) | 10 หมู่บ้าน | ||||
4. | รังงาม | (Rang Ngam) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเนินสง่าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองฉิมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเนินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะฮาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะฮาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลรังงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังงามทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1938–1939. September 5, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ง): 1938–1944. July 27, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2430–2445. September 1, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (111 ง): 3375–3376. December 1, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 10-12. October 10, 1986.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเนินสง่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 16. April 22, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๔ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (210 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. December 15, 1993.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (188 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-5. November 16, 1989.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. September 26, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.