อำเภอบัวใหญ่

อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

บัวใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา โดยถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ทางตอนเหนือซึ่งมีชุมทางที่มีทางรถไฟสองสาย ได้แก่ สายนครราชสีมา–หนองคาย และสายแก่งคอย–ลำนารายณ์–บัวใหญ่ มาบรรจบกัน

อำเภอบัวใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bua Yai
สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ (อาคารหลังเก่า)
คำขวัญ: 
นามเดิมด่านนอก เมืองดอกบัวไหม
ชุมทางรถไฟ บึงใหญ่งดงาม
ลือนามโต๊ะจีน ถิ่นหลานย่าโม
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอบัวใหญ่
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอบัวใหญ่
พิกัด: 15°34′59″N 102°25′23″E / 15.58306°N 102.42306°E / 15.58306; 102.42306
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด548.48 ตร.กม. (211.77 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด81,072 คน
 • ความหนาแน่น147.81 คน/ตร.กม. (382.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30120
รหัสภูมิศาสตร์3012
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบัวใหญ่ ถนนรถไฟ 1 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 30120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ แก้

พื้นที่อำเภอบัวใหญ่เดิม มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบกระจัดกระจายอยู่ในเขตพื้นที่เป็นจำนวนมาก อาทิ บ่อไก่แก้วปรางค์ บ้านสีดา ที่อำเภอสีดา ปราสาทนางรำ ที่อำเภอประทาย ปรางค์กู่ที่บ้านกู่ ต.ดอนตะหนิน เครื่องภาชนะดินเผาพบที่บริเวณบ้านบัวใหญ่ กำไรสำลิดและไหหินพบที่บริเวณบ้านจาน เสมาหินทรายที่บ้านเสมาใหญ่ เทวรูปสำริดที่ขุดพบจากพื้นที่หลายแห่ง ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก ฝังเรียงรายทับซ้อนลงไปเป็นชั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเคยขุดพบที่บ้านหนองไอ้แหนบ บ้านหญ้าคา และหลังสุดขุดพบไหหรือหม้อดินเผาที่บรรจุกระดูกเป็นจำนวนมากที่เนินดินท้ายหมู่บ้านกระเบื้อง เมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งมีภาชนะบรรจุกระดูกนับพันไห เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการขาดของทางราชการ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าน่าจะมีอายุราว 1,500 ปี เป็นประเพณีฝังศพครั้งที่สอง โดยครั้งแรกจะนำศพไปฝังก่อน ภายหลังจะทำการขุดศพมาทำพิธีกรรมอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนำโครงกระดูกบรรจุลงหม้อดินเผาฝังบรรจุในสุสาน หลักฐานทั้งหลายเหล่านี้ทำให้น่าเชื่อว่าพื้นที่อำเภอบัวใหญ่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ร่องรอยทางประวัติศาสตร์เหล่านี้คือแหล่งความรู้ที่ทำให้ประชาชนอำเภอบัวใหญ่ในปัจจุบันสืบสานรับวัฒนธรรมเหล่านั้น มาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีถ่ายทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน

ในยุครัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ. 2390 ในสมัยพระกำแหงสงคราม(แก้ว) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งด่านเพื่อระวังศัตรูตรวจตรารักษาความสงบ และทำหน้าที่เก็บส่วยสาอากร (ภาษี) มีด่านทองหลาง ด่านชวน ด่านจาก ด่านกระโทก ด่านขุนทด โดยเฉพาะ “ด่านนอก” เป็นด่านนอกสุดของเมืองนครราชสีมา เพื่อดูแลเขตชายเมือง “ด่านนอก” ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายที่อยู่ในเขตพระราชอาณาจักร ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ถัดขึ้นไปทางเหนือนั้นถือเป็นเมืองประเทศราชขึ้นต่อนครเวียงจันทน์

ที่ทำการของ “ด่านนอก” ตั้งอยู่ที่บ้านทองหลางใหญ่ บนเนินดินริมห้วยกระเบื้อง หลักด่านด้านเหนือสุดของด่านนอก อยู่ที่ริมห้วยเอก ที่หมู่บ้านหลักด่าน

พ.ศ. 2417 เกิดศึกฮ่อเข้ามารุกรานเมืองหนองคาย ทุกหัวเมืองระดมกำลังป้องกันเขตเมืองของตน เมืองนครราชสีมาได้ส่ง “ขุนณรงค์” คุมกำลังพลจาก “ด่านชวน” มารักษาการณ์ที่ “ด่านนอก” นับเป็นนายด่านคนสุดท้าย

  • ราว พ.ศ. 2429 มีการปรับปรุงระบบราชการ “ด่านนอก” ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “แขวงด่านนอก” และย้ายสถานที่ทำการแขวงมาอยู่ที่บ้านทองหลางน้อย แขวงมีฐานะเช่นเดียวกับอำเภอ
  • พ.ศ. 2440 หรือ ร.ศ. 116 ทางการได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 แขวงด่านนอกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ชื่ออำเภอ “นอก” ขณะนั้นมณฑลนครราชสีมา มี 10 อำเภอ แต่ที่ทำการยังใช้ที่บ้านทองหลางน้อยเช่นเดิม
  • พ.ศ. 2448 ขุนพลราษฎรบำรุง เป็นนายอำเภอ ได้ยายที่ทำการอำเภอจากบ้านทองหลางน้อยมาตั้งที่ริมบึงบัวใหญ่ (บริเวณที่เป็นที่ตั้งสำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอบัวใหญ่ ในขณะนี้) เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสมมีเส้นทางหลวง (ทางเกวียน)สายนครราชสีมาไปยังมณฑลอุดรตัดผ่าน และมีโรงโทรศัพท์สำหรับการติดต่อราชการตามแนวเส้นทางหลวง แต่ยังคงใช้ชื่อ “อำเภอนอก” อยู่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ คราวตรวจราชการ ที่มลฑลนครราชสีมา – มณฑลอุดร – มลฑลร้อยเอ็ด ความว่า

“ที่บ้านบัวใหญ่นี้ เพิ่งย้ายที่ว่าการอำเภอนอก จากตำบลทองหลางใหญ่ มาตั้งใหม่เมื่อเดือนเมษายน ศก 125 นี้เอง เพราะที่นี่เป็นย่านกลางในการไปมาระหว่างที่ต่าง ๆ และใกล้ทางหลวง ซึ่งเดินทางไปมณฑลอุดร ที่ว่าการอำเภอที่ตั้งใหม่อยู่บนเนินสูง เป็นทำเลเหมาะดี เวลานี้มีหมู่บ้านอยู่ 3 หมู่บ้าน ราษฎร 500 คน มีร้านขายของคืออ้อยเป็นต้น อยู่ 4 – 5 แห่ง แล้วต่อไปราษฎรจะยกมาอยู่อีกมาก การหาเลี้ยงชีพของราษฎรในอำเภอนี้ ส่วนที่ทำกินและซื้อ – ขายกันเองในหมู่บ้าน คือทำนา ทำไร่ ทำไร่ฝ้าย ทำไหม การที่ทำหำหรับขายไปที่อื่น คือ หีบอ้อย ทำน้ำอ้อย หม้อ ผสมโค และเลี้ยงสุกรเป็นมากกว่าอย่างอื่น จำนวนราษฎรทั้งอำเภอนี้ 20,000 คน" นับเป็นเอกสารชิ้นสำคัญทำให้เห็นภาพของอำเภอบัวใหญ่เมื่อร้อยปีก่อน

  • พ.ศ. 2455 เปลี่ยนชื่อ จากอำเภอ “นอก” เป็นอำเภอ “บัวใหญ่” ตามชื่อหมู่บ้าน และบึงบัวใหญ่
  • พ.ศ. 2481 นายอำเภอขุนวัฒน์วิจารณ์ ดำริจะย้ายที่ว่าการอำเภอมายังตลาดเพ็ดเฟื้อย เพราะตลาดเพ็ดเฟื้อยเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นชุมชนการค้า เพราะเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบัวใหญ่และมีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมไปจังหวัดชัยภูมิ เป็นแหล่งรวมผลิตผลทางการเกษตร เพื่อส่งเข้าไปยังตลาดเมืองนครราชสีมา และไปยังกรุงเทพมหานคร มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้น มีฉางข้าวขนาดใหญ่ของแม่ริ้ว แม่ฉ่ำ ตั้งอยู่ย่านสถานีรถไฟเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกส่งลำเลียงเข้ากรุงเทพฯ ผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ จากชัยภูมิ จัตุรัส ภูเขียว พุทไธสง หลั่งไหลเข้ามาสู่บัวใหญ่ พ่อค้าและเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขายที่บัวใหญ่ จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคกลับคืนไป ทำให้มีร้านขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นมากมาย พ่อค้าชาวบัวใหญ่ได้รวบรวมทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินยกให้ทางราชการ จำนวน 34 ไร่ แต่ได้ทำการย้ายเพียงสถานีตำรวจ พร้อมบ้านพักตำรวจ 4 หลัง และสุขศาลา 1 หลัง มาก่อสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าว ส่วนที่ว่าการอำเภอยังขาดงบประมาณ จึงชะงักไปหลังจากนายอำเภอขุนวัฒน์วิจารณ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองนครราชสีมา
  • วันที่ 1 มีนาคม 2481 แยกพื้นที่ตำบลเมืองคง ตำบลวังโพธิ์ และตำบลตาจั่น อำเภอบัวใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคง ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ [1]
  • พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอคงเป็น “อำเภอคง”
  • พ.ศ. 2491 นายวิชัย หทยะวัฒน์ เป็นนายอำเภอ ได้ตัดสินใจสานต่อโครงการย้ายที่ว่าการอำเภอตามคำเรียกร้องของประชาชน โดยทำเรื่องขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย
  • วันที่ 30 มิถุนายน 2493 ลงมือก่อสร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่บนที่ดินที่ได้รับบริจาคตามแบบกรมโยธาธิการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2493 โดยใช้ค่าก่อสร้างจากงบประมาณแผ่นดิน 150,000 บาท และงบบริจาคซึ่งได้รับมาก่อนหน้าและรับบริจาคเพิ่ม รวมงบประมาณทั้งสิ้น 350,000 บาท
  • วันที่ 25 มกราคม 2494 ได้ย้ายเข้าปฏิบัติงานในที่ว่าการอำเภอหลังใหม่
  • วันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ทำพิธีเปิดป้ายที่ว่าการอำเภออย่างเป็นทางการ และจัดงานเฉลิมฉลอง 3 วัน 3 คืน โดยขุนวรคุตต์คณารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานจัดงาน และขุนภักดีดำรงฤทธิ์ข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ภาค 3 เป็นประธานพิธีเปิด ในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2496 ได้โอนหมู่ 2,3,6,7,9,17 และ 18 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ ไปขึ้นกับตำบลเมืองคง อำเภอคง และ โอนหมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ ไปขึ้นกับตำบลตาจั่น อำเภอคง [2]
  • ในช่วง พ.ศ. 2498 มีมติคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ให้ยกฐานะอำเภอบัวใหญ่ เป็นจังหวัดปทุมทอง โดยรวมอำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เข้ามาขึ้นต่อจังหวัดปทุมทองด้วย เพราะขณะนั้นการเดินทางจากอำเภอพุทไธสง เข้าไปจังหวัดบุรีรัมย์ ต้องรอนแรมมาขึ้นรถไฟที่สถานีบัวใหญ่ ไปค้างคืนที่เมืองนครราชสีมา แล้วจึงต่อรถไฟไปบุรีรัมย์ การยกฐานะบัวใหญ่เป็นจังหวัดในครั้งนั้น โดยการผลักดันของ นายเลื่อน พงษ์โสภณ ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม แต่การตั้งจังหวัดในขณะนั้น ต้องใช้งบประมาณถึง 500 ล้านบาท เนื่องจากยังขาดงบประมาณส่วนนี้ จึงได้ชะลอไว้ก่อน เรื่องนี้จบลงพร้อมกับรัฐบาลของจอมพล ป.หลังถูกรัฐประหารในปี 2500
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบัวใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบัวใหญ่ [3]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500 จัดตั้งเทศบาลตำบลบัวใหญ่ โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลบัวใหญ่ [4]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย ในท้องที่ตำบลประทาย อำเภอบัวใหญ่[5]
  • วันที่ 1 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโนนทองหลาง แยกออกจากตำบลบัวใหญ่ ตั้งตำบลบึงพะไล แยกออกจากตำบลแก้งสนามนาง ตั้งตำบลห้วยยาง ออกมาจากตำบลด่านช้าง ตั้งตำบลกระทุ่มราย แยกออกจากตำบลวังหิน ตั้งตำบลหนองหว้า แยกออกจากตำบลบัวลาย และ ตั้งตำบลหนองพลวง แยกออกจากตำบลประทาย [6]
  • วันที่ 1 มกราคม 2504 แยกพื้นที่ตำบลประทาย ตำบลโนนเพชร ตำบลวังหิน ตำบลโนนตาเถร ตำบลกระทุ่มราย และตำบลหนองพลวง อำเภอบัวใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอประทาย ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ [7]
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2504 ตั้งตำบลสีดา และ ตำบลโพนทอง แยกออกจากตำบลกุดจอก [8]
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2506 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย กิ่งอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และจัดตั้งสุขาภิบาลประทาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลประทาย[9]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะกิ่งอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ เป็น อำเภอประทาย [10]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองบัวลาย ในท้องที่บางส่วนของตำบลบัวลาย [11]
  • วันที่ 15 กันยายน 2515 ตั้งตำบลหนองบัวสะอาด แยกออกจากตำบลห้วยยาง [12]
  • วันที่ 16 กันยายน 2517 ตั้งตำบลเสมาใหญ่ แยกออกจากตำบลดอนตะหนิน [13]
  • วันที่ 28 กันยายน 2519 ตั้งตำบลโนนจาน แยกตำบลตำบลบัวลาย และ ตั้งตำบลสีสุก แยกออกจากตำบลบึงพะไล [14]
  • วันที่ 1 กันยายน 2521 ตั้งตำบลสามเมือง แยกออกจากตำบลกุดจอก [15]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลโนนสำราญ แยกออกจากตำบลแก้งสนามนาง และ ตั้งตำบลขุนทอง แยกออกจากตำบลด่านช้าง [16]
  • วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลหนองตาดใหญ่ แยกออกจากตำบลสีดา[17]
  • วันที่ 7 มกราคม 2529 ได้แยกพื้นที่ตำบลแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ ตำบลบึงพะไล และตำบลสีสุก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ [18]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลเมืองพะไล แยกออกจากตำบลหนองหว้า [19]
  • วันที่ 13 มิถุนายน 2532 จัดตั้งสุขาภิบาลสีดา ในท้องที่บางส่วนของตำบลสีดา ตำบลสามเมือง และตำบลโพนทอง [20]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลโนนประดู่ แยกออกจากตำบลโพนทอง [21]
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะกิ่งอำเภอแก้งสนามนาง อำเภอบัวใหญ่ เป็น อำเภอแก้งสนามนาง[22]
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลหนองแจ้งใหญ่ แยกออกจากตำบลบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวสะอาด และตำบลโนนทองหลาง [23]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ได้แยกพื้นที่ตำบลเมืองพะไล ตำบลโนนจาน ตำบลบัวลาย และตำบลหนองหว้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบัวลาย ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ พร้อมกับโอนสุขาภิบาลหนองบัวลาย มาขึ้นกับ กิ่งอำเภอบัวลาย [24] และ ได้แยกพื้นที่ตำบลสีดา ตำบลโพนทอง ตำบลโนนประดู่ ตำบลสามเมือง และตำบลหนองตาดใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสีดา ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ พร้อมกับโอนสุขาภิบาลสีดา มาขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอสีดา [25]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลหนองบัวลาย และสุขาภิบาลสีดา เป็นเทศบาลตำบลหนองบัวลาย และเทศบาลตำบลสีดา ตามลำดับ
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลบัวใหญ่ เป็น เทศบาลเมืองบัวใหญ่ [26]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอสีดา อำเภอบัวใหญ่ เป็น อำเภอสีดา และกิ่งอำเภอบัวลาย อำเภอบัวใหญ่ เป็น อำเภอบัวลาย [27]

เนื่องจากความกว้างใหญ่ของเขตการปกครองและความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจทำให้อำเภอบัวใหญ่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 จนถึงปัจจุบัน อำเภอบัวใหญ่ได้แยกเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ (คง บ้านเหลื่อม ประทาย โนนแดง แก้งสนามนาง บัวลาย และ สีดา) ซึ่งเคยมีพื้นที่กว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่เพียง 548 ตารางกิโลเมตร

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอบัวใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบัวใหญ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 122 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบัวใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบัวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบัวใหญ่
  • เทศบาลตำบลหนองบัวสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบัวใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล (ตั้งอยู่ที่บ้านขามเตี้ย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสมาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสมาใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะหนิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตะหนินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนทองหลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดจอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจ้งใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแจ้งใหญ่ทั้งตำบล

การศึกษา แก้

  • วิทยาลัยเทคนิคบัวใหญ่เป็นสถาบันการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ปวช.และ ปวส.
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีบัวใหญ่ (สถาบันในเครืออาชีวศึกษา) เปิดสอนระดับ ปวช.ถึงระดับ ปวส. ด้านพาณิชยการและบริหารธุรกิจ
  • โรงเรียนเทศบาล 1
  • โรงเรียนเทศบาล 2
  • โรงเรียนเทศบาล 3
  • โรงเรียนวานิชวิทยา
  • โรงเรียนอมรศิลป์
  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 18
  • โรงเรียนเกล็ดลิ้นวิทยา
  • โรงเรียนบัวใหญ่วิทยา
  • โรงเรียนวัดประชานิมิตร (สังกัด อบจ.)
  • โรงเรียนบัวใหญ่ (สังกัด อบจ.) โรงเรียนประจำอำเภอ

หน่วยงาน แก้

  • ศาลจังหวัดบัวใหญ่
  • สำนักงานอัยการจังหวัดบัวใหญ่
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาบัวใหญ่
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาบัวใหญ่

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอคง ขึ้นอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3874. 20 กุมภาพันธ์ 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  2. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบัวใหญ่และอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2496" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15 ก): 323–325. 24 กุมภาพันธ์ 2496.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (พิเศษ 74 ง): 40–42. 17 กันยายน 2498.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2500" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (16 ก): 468–472. 19 กุมภาพันธ์ 2500.
  5. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. 23 ธันวาคม 2501.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. 27 ธันวาคม 2503. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบัวใหญ่ และกิ่งอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (52 ง): 1512–1518. 27 มิถุนายน 2504.
  9. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประทาย กิ่งอำเภอประทาย อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
  10. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. 2506" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองบัวลาย อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (113 ง): 2865–2866. 1 ธันวาคม 2507.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอปากช่อง และอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (139 ง): 2387–2392. 19 กันยายน 2515.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอประทายและอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (154 ง): 3504–3517. 17 กันยายน 2517.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (137 ง): 3024–3030. 26 ตุลาคม 2519.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอบัวใหญ่และอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3717–3732. 31 ตุลาคม 2521.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบัวใหญ่และอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (149 ง): 2999–3008. 28 สิงหาคม 2522.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. 17 ธันวาคม 2528.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแก้งสนามนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 158. 21 มกราคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช ชุมพวงบัวใหญ่ ประทาย ปักธงชัย และสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (140 ง): 5122–5146. 23 กรกฎาคม 2530.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสีดา อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (110 ง): 4971–4972. 13 กรกฎาคม 2532.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมพวง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอประทาย และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 149 ง): 118–140. 17 สิงหาคม 2533.
  22. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 179 ง): 1–3. 3 พฤศจิกายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 217 ง): 9–18. 22 ธันวาคม 2536.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบัวลาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 9. 25 มิถุนายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสีดา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 10. 25 มิถุนายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 20 ง): 9–10. 20 กุมภาพันธ์ 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
  27. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.