อำเภอป่าติ้ว
ป่าติ้ว เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดยโสธร มีชื่อเสียงในการผลิตภัณฑ์หมอนขวานผ้าขิดที่สวยงามปราณีต และส่งออกไปทั่วโลก จนเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดยโสธร
อำเภอป่าติ้ว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pa Tio |
คำขวัญ: แตงไทยโต แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตสินค้าพื้นเมือง ลือเลื่องพระอาฮาม | |
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอป่าติ้ว | |
พิกัด: 15°49′53″N 104°23′8″E / 15.83139°N 104.38556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยโสธร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 308 ตร.กม. (119 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,043 คน |
• ความหนาแน่น | 113.78 คน/ตร.กม. (294.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 35150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3505 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอป่าติ้ว หมู่ที่ 4 ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 35150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 ภายหลังที่ไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว มีคนลาวอพยพมาทางภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และคนภายในก็อพยพเลือกถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ โดยอพยพมาจากบ้านถิ่น (อาฮาม) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ตั้งที่ว่าการอำเภอป่าติ้ว ปัจจุบันห่างไปประมาณ 3 กิโลเมตร มาตั้งบ้านใหม่ชื่อว่า บ้านป่าติ้ว มีคนอพยพมาเพิ่มอีก
ต่อมาในราว ปี พ.ศ. 2476 (หลังจากตั้งหมู่บ้านมาได้ประมาณ 40 ปี) กรมทางหลวงแผ่นดินได้ตัดถนนอรุณประเสริฐเชื่อมระหว่างอำเภอยะโสธร-อำเภออำนาจเจริญ-อำเภอเขมราฐ ผ่านหมู่บ้านป่าติ้ว พระอุปัชฌาย์บุญมา เจ้าอาวาสวัดบ้านป่าติ้วเก่า ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านใหม่ พิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านนี้เป็นที่อับไม่มีถนนหนทางที่จะเจริญขึ้นได้ จึงชักชวนราษฏรบ้านป่าติ้วเก่าอพยพมาอยู่สมทบและได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดโพธาบัลลังค์ (วัดป่าสุริยาลัย) ตั้งแต่นั้นมาหมู่บ้านนี้ก็ขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้านอื่นๆ และการคมนาคมก็สะดวก จึงเกิดศูนย์กลางการค้ารายย่อย ๆ จนเป็นที่รู้จักทั่วไป และเมื่อมีความเจริญขึ้นเรื่อยๆ ทางราชการจึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์ไทร อยู่ในความปกครองของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 30 กิโลเมตร การไปติดต่อกับอำเภอต้องเดินด้วยเท้าหรือเกวียน หรือถ้าจะโดยสารรถยนต์ก็ต้องเดินทางไปอำเภอยะโสธรก่อน และจึงต่อรถไปยังอำเภอคำเขื่อนแก้ว ทำให้ราษฎรได้รับความลำบากเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2494 พระครูอุปัชฌาย์บุญมา เปสโร เจ้าอาวาสวัดบ้านป่าติ้ว ซึ่งตอนนั้นได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูโพธาภินันท์ มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลโพธิ์ไทร และเป็นรองเจ้าคณะอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ติดต่อขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอที่บ้านป่าติ้ว แยกเอาตำบลโพธิ์ไทร ตำบลกระจาย และตำบลโคกนาโก รวม 3 ตำบล เป็นเขตปกครองก อยู่ประมาณ 15 ปี กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าติ้ว จังหวัดอุบลราชธานี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2509 และยกฐานะเป็นอำเภอป่าติ้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2512
ต่อมาทางราชการได้ประกาศจัดตั้งจังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา และอำเภอป่าติ้ว รวม 6 อำเภอ จากจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอป่าติ้ว จึงอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของจังหวัดยโสธร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอป่าติ้วตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกุดชุมและอำเภอไทยเจริญ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองอำนาจเจริญและอำเภอหัวตะพาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองยโสธรและอำเภอกุดชุม
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอป่าติ้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | โพธิ์ไทร | (Pho Sai) | 12 หมู่บ้าน | |||
2. | กระจาย | (Krachai) | 13 หมู่บ้าน | |||
3. | โคกนาโก | (Khok Na Ko) | 16 หมู่บ้าน | |||
4. | เชียงเพ็ง | (Chiang Pheng) | 7 หมู่บ้าน | |||
5. | ศรีฐาน | (Si Than) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอป่าติ้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลป่าติ้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพธิ์ไทร
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ไทร (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลป่าติ้ว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระจายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกนาโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกนาโกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเพ็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงเพ็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีฐานทั้งตำบล
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้