อำเภอท่าฉาง

อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

ท่าฉาง เป็นอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพุนพิน และอำเภอไชยา

อำเภอท่าฉาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Chang
คำขวัญ: 
ฟาร์มหอยแครง แหล่งกุ้งกุลาดำ แห่พระน้ำประจำปี
ประเพณีแข่งเรือ ล้นเหลือนาข้าว มะพร้าวหมากพลู
งามหรูธารน้ำร้อน อนุสรณ์พ่อท่านแบน
หมื่นแสนตาลโตนด ของโปรดเคยกุ้ง
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอท่าฉาง
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอท่าฉาง
พิกัด: 9°16′51″N 99°12′3″E / 9.28083°N 99.20083°E / 9.28083; 99.20083
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,167.7 ตร.กม. (450.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด34,151 คน
 • ความหนาแน่น29.25 คน/ตร.กม. (75.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84150
รหัสภูมิศาสตร์8411
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าฉาง หมู่ที่ 2 ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

“ท่าฉาง” เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งตามคำบอกเล่าและตำนานเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย มีชื่อว่า “เมืองโฉลก” ชาวบ้านเรียกว่า เมืองโละในบริเวณแถบนี้มีเมืองขนอน ท่าทอง เวียงสระ และไชยา เมืองโฉลก (ท่าฉาง) ขึ้นกับเมืองไชยา เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง สุโขทัยมีอำนาจในดินแดนแถบนี้ เมืองโละจึงขึ้นกับเมืองสุโขทัยประมาณปี พ.ศ. 1800 มีฐานะเท่าเทียมกับอยุธยา มีท้าวเป็นผู้ปกครอง

ต่อมาสมัยอยุธยาเมืองโละกลับขึ้นต่อเมืองไชยาอีกครั้งหนึ่ง เมืองโละเป็นเมืองท่าขนส่งข้าวไปสู่เมืองไชยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระยาวจีสัตนารักษ์ เจ้าเมืองไชยาได้เปลี่ยนชื่อเมืองโละมาเป็นท่าฉาง เพราะได้มาตั้งยุ้งฉางที่เมืองโละนี้ เพื่อเป็นที่เก็บข้าวที่ส่งมาทางคลองบ้านท่ามาออกคลองโละ หรือคลองท่าฉาง ผู้คนทั่วไปจึงเรียกเมืองโละ (โฉลกเป็นท่าฉางมาจนทุกวันนี้) ในตอนต้นสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองโละได้ยกฐานะจากเมืองโฉลกเป็นอำเภอท่าฉาง มีอาณาเขตขึ้นไปถึงพุมเรียง ทิศใต้จดพุนพิน บริเวณแม่น้ำตาปีในปัจจุบัน

เดิมท้องที่นี้ก่อนยกฐานะเป็น อำเภอขึ้นอยู่ในเขตปกครองของอำเภอไชยา และอำเภอพุนพิน ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ .2451 ท้องที่ตำบลเขาถ่าน ตำบลปากฉลุย ตำบลเสวียด อำเภอพุมเรียง และตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย และตำบลคลองไทร อำเภอพุนพิน ได้ถูกจัดตั้งเป็น "กิ่งอำเภอท่าฉาง"[1] และกิ่งอำเภอท่าฉางได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481[2]

การเรียกชื่อ “ท่าฉาง” จากการสืบสวนและสอบถามต่อๆ กันมาได้ความว่า ในสมัยที่ราษฎรต้องเสีย “ส่วย” หรือ “อากร” ให้แก่รัฐเป็นสิ่งของแทนเงินนั้น เนื่องจากท้องที่บริเวณนี้ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา ฉะนั้น “ส่วย” หรือ “อากร” ที่ราษฎร์ต้องเสียเพื่อให้รัฐได้นำไปช่วยเหลือในการทำนุบำรุงบ้านเมืองและป้องกันประเทศชาติ ก็ใช้ข้าวเปลือกที่ได้จากการทำนามาเป็นสวย จากการที่ราษฎรต้องใช้ข้าวเปลือกเป็นส่วย จึงได้สร้างที่เก็บข้าวเปลือกเป็นแหล่งกลางขึ้นเรียกว่า “ยุ้ง” หรือ “ฉาง” สำหรับรับข้าวเปลือกจากราษฎร์ และต้องสร้างขึ้นตามริมคลองเพื่อสะดวกในการลำเลียงขนส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยทางเรือจึงต้องมีท่าเทียบเรือสำหรับรับข้าวจากฉาง เพื่อส่งเป็นการส่งส่วยหรืออากรตามกล่าวมาแล้ว ราษฎรจึงเรียกรวมกันว่า “ท่าฉาง” และเรียกต่อๆ กันมา[3]

  • วันที่ 9 สิงหาคม 2451 แยกพื้นที่ตำบลเขาถ่าน ตำบลปากฉลุย ตำบลเสวียด อำเภอพุมเรียง และตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย และตำบลคลองไทร อำเภอพุนพิน มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าฉาง[1] ขึ้นกับอำเภอพุมเรียง
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2481 ยกฐานะกิ่งอำเภอท่าฉาง อำเภอไชยา ขึ้นเป็น อำเภอท่าฉาง[2]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าฉาง[4]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง[5]
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท่าฉาง[6] ครอบคลุมมาถึงท้องที่บางส่วนของตำบลเขาถ่าน
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าฉาง เป็นเทศบาลตำบลท่าฉาง[7] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอท่าฉางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอท่าฉางแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าฉาง (Tha Chang) 5 หมู่บ้าน
2. ท่าเคย (Tha Khoei) 11 หมู่บ้าน
3. คลองไทร (Khlong Sai) 9 หมู่บ้าน
4. เขาถ่าน (Khao Than) 6 หมู่บ้าน
5. เสวียด (Sawiat) 9 หมู่บ้าน
6. ปากฉลุย (Pak Chalui) 6 หมู่บ้าน
 
แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอท่าฉางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าฉาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าฉางและตำบลเขาถ่าน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าฉาง (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าฉาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเคยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาถ่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาถ่าน (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าฉาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสวียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสวียดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากฉลุย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากฉลุยทั้งตำบล

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง รวมตำบลต่างๆในท้องที่อำเภอพุมเรียงและพุนพินเมืองชุมพร ๖ ตำบลตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าฉาง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (19): 569. August 9, 1908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอท่าฉางเป็นอำเภอและยุบอำเภอพระแสงลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1321–1322. August 1, 1938. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
  3. ประวัติอำเภอท่าฉาง เก็บถาวร 2021-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - ความเป็นมาของอำเภอท่าฉาง
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 86-87. September 20, 1956.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (12 ง): 289–290. February 2, 1971.
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.