อำเภอวิภาวดี

อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

วิภาวดี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา เคยเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในสมัยหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นกิ่งอำเภอใหม่ล่าสุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ โดยใช้พระนามของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เป็นชื่อตั้งอำเภอเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์หลังจากที่ได้มาปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่ ทุกวันที่ 16 กุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีการจัดงาน ‘วันวิภาวดีรำลึก’ ณ โรงเรียนท่านหญิงวิภา อำเภอวิภาวดี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ปัจจุบันอำเภอวิภาวดีเริ่มมีการพัฒนาและการลงทุนเข้ามาในพื้นที่

อำเภอวิภาวดี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Vibhavadi
คำขวัญ: 
ธรรมชาติงามยิ่ง เมืองแม่หญิงกล้าหาญ มีอุทยานแก่งกรุง น้ำตกสูงวิภาวดี มหานทีคลองยัน ศูนย์พระราชทานศิลปาชีพ
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอวิภาวดี
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอวิภาวดี
พิกัด: 9°14′20″N 98°58′44″E / 9.23889°N 98.97889°E / 9.23889; 98.97889
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด543.5 ตร.กม. (209.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด15,799 คน
 • ความหนาแน่น29.07 คน/ตร.กม. (75.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84370
รหัสภูมิศาสตร์8419
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวิภาวดี หมู่ที่ 4 ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84370
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอวิภาวดีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

ท้องที่อำเภอวิภาวดีเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอคีรีรัฐนิคม ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวิภาวดี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] โดยชื่อของกิ่งอำเภอตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์ ซึ่งได้เสด็จมาปฏิบัติภารกิจในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และถูกพรรคคอมมิวนิสต์ยิงเฮลิคอปเตอร์ส่วนพระองค์ระหว่างทำการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับการบาดเจ็บจากการต่อสู้ เป็นเหตุให้สิ้นพระชนม์บริเวณลาน 357 อำเภอเวียงสระ พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิงขึ้น เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มสตรีในพื้นที่ จนกระทั่งในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอวิภาวดีขึ้นเป็น อำเภอวิภาวดี โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอวิภาวดีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตะกุกใต้ (Takuk Tai) 14 หมู่บ้าน
2. ตะกุกเหนือ (Takuk Nuea) 17 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอวิภาวดีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกุกใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกุกเหนือทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวิภาวดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 53 ง): 19. 22 เมษายน 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.