อำเภอสุไหงปาดี

อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย

สุไหงปาดี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

อำเภอสุไหงปาดี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Su-ngai Padi
คำขวัญ: 
แหล่งรวมวัฒนธรรม น้ำตกงามฉัตรวาริน
ถิ่นกำเนิดปาล์มบังสูรย์ ศูนย์รวมไม้หมากแดง
แอ่งน้ำใหญ่โคกยาง
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอสุไหงปาดี
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอสุไหงปาดี
พิกัด: 6°5′7″N 101°52′49″E / 6.08528°N 101.88028°E / 6.08528; 101.88028
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด386.68 ตร.กม. (149.30 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,353 คน
 • ความหนาแน่น143.15 คน/ตร.กม. (370.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96140
รหัสภูมิศาสตร์9611
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดี หมู่ที่ 1 ถนนประชาสำราญ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส 96140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอสุไหงปาดี มีเนื้อที่ 239,147 ไร่ ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร อำเภอสุไหงปาดีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอสุไหงปาดีเป็นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูก สภาพพื้นที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง มีทิวเขาสลับซับซ้อนเรียกว่าทิวเขาสันกาลาคีรี ปกคลุมไปด้วยป่าไม้และสวนยางพารา อุดมด้วยไม้มีค่า เช่น ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนชันตาแมว ไม้สยา หวาย ตะกร้าทอง เป็นต้น พื้นที่ส่วนใหญ่ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มและป่าพรุ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกและการทำนา

สภาพภูมิอากาศ

แก้

ภูมิอากาศของอำเภอสุไหงปาดี มีอากาศชุ่มชื้น ฝนตกชุกตลอดทั้งปีเพราะมีเทือกเขากั้นอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก อากาศร้อนอบอ้าวเพียงระยะสั้น ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูกาลมี 2ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มจากเดือนกรกฎาคมถึงเดือนมกราคมมีระยะเวลาถึง 7เดือน และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายนอากาศจะร้อนอบอ้าว เพียง 1-2 เดือน นอกนั้นอากาศจะอบอุ่นสบาย

ประวัติและความเป็นมา

แก้

สุไหงปาดีมาจากคำในภาษามลายูว่า "สุไหง" ซึ่งแปลว่าคลองหรือแม่น้ำ และ "ปาดี" ซึ่งแปลว่า "ข้าวเปลือก" ซึ่งความหมายรวมกันก็คือ "คลองข้าวเปลือก" ทั้งนี้เพราะแต่ดั้งเดิมบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งคลองที่ไหลผ่านพื้นที่อำเภอนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกล่องเรือไปตามลำคลองเพื่อขายให้กับท้องถิ่นอื่น ๆ จึงเรียกคลองนี้ว่า สุไหงปาดี เมื่อตั้งอำเภอขึ้นมาจึงมีชื่อตามคลองสายนี้

อำเภอสุไหงปาดีจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2440 ที่ว่าการอำเภออยู่ที่หมู่ 4 ตำบลสุไหงปาดี ขึ้นกับเมืองระแงะ และได้ขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2462 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านโคกตา หมู่ที่ 1 ตำบลปะลุรู ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิม 7 กิโลเมตร เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญมรรถไฟผ่านและเป็นศูนย์กลางของพื้นที่อำเภอ โดยใช้ซื่ออำเภอสุไหงปาดีดังเดิม

แต่เดิมสุไหงปาดีมีอาณาเขตที่กว้างขวางมีพื้นที่ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้มีการแยกตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปุโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะไปรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอสุไหงโก-ลก จึงทำให้อำเภอสุไหงปาดีมีพื้นที่เล็กลงและไม่ติดกับประเทศมาเลเซียอีก

พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แก้

อำเภอสุไหงปาดีมีภูเขาที่สำคัญคือ ทิวเขาสุไหงปาดี ทอดยาวจากอำเภอสุไหงปาดีไปจดอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสูง 7 ชั้นลดหลั่นกันลงไปมีน้ำไหลตลอดทั้งปี และจากการที่ทิวเขาสุไหงปาดี ยังมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงทรงห่วงใยและได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสุไหงปาดี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2524 ว่า

"เทือกเขาสุไหงปาดี มีความสูง 1,800 ฟุต เป็นเทือกเขาสูงที่สุดในจังหวัดนราธิวาส มีไอน้ำเกาะทำให้เกิดความชุ่มชื้นและแหล่งน้ำ ควรมีการรักษาแหล่งน้ำนี้อย่างจริงจัง"

จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวทำให้ กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจป่าทิวเขาสุไหงปาดี และได้ข้อสรุปว่าป่าทิวเขาสุไหงปาดีมีสภาพดีมาก มีธรรมชาติที่สวยงาม มีสัตว์ป่าชุกชุมและบางชนิดเป็นสัตว์ที่หายาก อาทิ หมูป่า เก้ง กระจง เลียงผา เสือ หมี หมาริ่ง พญากระรอก นกอินทรี นกเหยี่ยว นกขุนแผนหัวดำ นกเคราแดง รวมทั้งสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบ ประกอบด้วยไม้มีค่านานาชนิด ทั้งไม้ตะเคียน ไม้พญาไม้ ไม้นาคบุตร และต้นไม้ที่หายากได้แก่ ต้นใบสีทองและต้นปาล์มบังสูรย์ ซึ่งมีแต่เฉพาะแถบทิวเขาสุไหงปาดีเท่านั้น จึงได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติสุไหงปาดีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีผู้สนใจไปเที่ยวชมไปพักผ่อนเพลิดเพลินกับธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้อนุรักษ์ทิวเขาสุไหงปาดีนี้ นอกจากจะทำให้ป่าไม้และสัตว์ป่าไม่ถูกทำลายแล้ว ยังเป็นการช่วยให้ราษฎรในเขตอำเภอสุไหงปาดีมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอาหาร ของที่ระลึก ที่พัก และการบริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติสุไหงปาดีนี้อีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว จากการที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสุไหงปาดี หลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ได้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค ปัญหาเรื่องดินเปรี้ยวซึ่งเกิดจากพรุ เนื่องจากอำเภอสุไหงปาดีมีป่าพรุเล็ก ๆ กระจายทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาดินเปรี้ยว จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ทำให้ราษฎรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

การปกครองของอำเภอสุไหงปาดีมี 6 ตำบล 50 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ปะลุรู (Paluru) 8 หมู่บ้าน
2. สุไหงปาดี (Su-ngai Padi) 12 หมู่บ้าน
3. โต๊ะเด็ง (To Deng) 5 หมู่บ้าน
4. สากอ (Sako) 12 หมู่บ้าน
5. ริโก๋ (Riko) 7 หมู่บ้าน
6. กาวะ (Kawa) 6 หมู่บ้าน
 
รูปที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดีในอดีต

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอสุไหงปาดีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปะลุรู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปะลุรู
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุรู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะลุรู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปะลุรู)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุไหงปาดีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโต๊ะเด็งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสากอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลริโก๋ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลริโก๋ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาวะทั้งตำบล

สังคมและวัฒนธรรม

แก้
  • เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู
  • ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม และมีชาวไทยพุทธเป็นส่วนน้อย
  • อาชีพ ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม รับจ้าง และรับราชการ

การศึกษา

แก้

โรงเรียนมัธยมสังกัด สพฐ.

  • โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี
  • โรงเรียนธัญธารวิทยา

โรงเรียนเอกชนสามัญ

  • โรงเรียนประชานุเคราะห์

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

ถนนสายสำคัญ

แก้
  • ถนนจารุเสถียร (ถนนสายนราธิวาส-ระแงะ-สุไหงปาดี-สุไหงโกลก)
  • ถนนฉัตรวาริน
  • ถนนทรัพย์ราชา
  • ถนนราชาวดี
  • ถนนอาทิตยา
  • ถนนประชาสำราญ
  • ถนนประชานุเคราะห์
  • ถนนประชาชื่น1
  • ถนนประชาชื่น2
  • ถนนประชาชื่น3
  • ถนนชลธารา
  • ถนนพฤกษชาติ
  • ถนนโต๊ะเด็ง
  • ถนนร่มไทร
  • ถนนต้นประดู่
  • ถนนเลียบทางรถไฟ
  • ถนนปริมังคลาวาส
  • ถนนพัฒนาการ
  • ถนนหน้าแฟลต
  • ถนนคุรุมิตร

อ้างอิง

แก้