อำเภอครบุรี
ครบุรี เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ทางตอนใต้ของครบุรีอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำสายสำคัญของแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
อำเภอครบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khon Buri |
อ่างเก็บน้ำลำแชะ | |
คำขวัญ: น้ำตกวังเต่า เขาจอมทอง สองเขื่อนงามล้ำ ถ้ำวัวแดง ศิลาแลงปรางค์ครบุรี บารมีหลวงปู่นิล | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอครบุรี | |
พิกัด: 14°31′24″N 102°14′54″E / 14.52333°N 102.24833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,816.9 ตร.กม. (701.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 96,140 คน |
• ความหนาแน่น | 52.91 คน/ตร.กม. (137.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3002 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอครบุรี หมู่ที่ 4 ถนนสุขาภิบาล 14 ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 30250 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอครบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปักธงชัย อำเภอโชคชัย และอำเภอหนองบุญมาก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเสิงสาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว (จังหวัดสระแก้ว) และอำเภอนาดี (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปักธงชัย
ประวัติ
แก้อำเภอครบุรี เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัยในปัจจุบัน) โดยได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งขณะนั้นมีเขตการปกครอง รวม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแซะ ตำบลจระเข้หิน และตำบลสระตะเคียน เรียกว่า "กิ่งอำเภอแชะ" เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในเขตหมู่บ้านแชะ ตำบลแชะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอและได้ชื่อว่า "อำเภอครบุรี" โดยรวมพื้นที่กิ่งอำเภอแชะเดิม กับตำบลครบุรีที่แยกมาจากกิ่งอำเภอสะแกราช เนื่องจากกิ่งอำเภอสะแกราชถูกยุบให้ไปรวมกับอำเภอปักธงชัย
สำหรับคำว่า"แชะ"เป็นภาษาพื้นเมือง ส่วนภาษาไทยคือคำว่า "แฉะ" ซึ่งแปลว่า เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านต่างๆ ได้รับการบอกเล่าว่าการที่ได้ชื่อว่า "บ้านแชะ" นั้นมาจากสภาพของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ต่ำและมีโคลนตมอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านแชะ" คำว่า "ครบุรี" กร่อนมาจากคำว่า สาครบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองต้นน้ำหรือเมืองสายน้ำ เพราะมีแควน้ำน้อยใหญ่หลายสาย จึงเรียกว่า "เมืองสาครบุรี" ต่อมาคำว่า "สา" กล่อนหายไปเหลือเพียงคำว่า "ครบุรี"มาตราบจนทุกวันนี้
- วันที่ - 2450 แยกพื้นที่ตำบลสระตะเคียน ตำบลแชะ และตำบลจระเข้หิน จากอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย) มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอแซะ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย)
- วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2482 ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช และโอนพื้นที่ตำบลสะแกราชและตำบลสำโรงไปกับอำเภอปักธงไชย และโอนพื้นที่ตำบลครบุรี มาขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย)[1] และยกฐานะจากกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก เป็น อำเภอครบุรี[2]
- วันที่ 19 ตุลาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลครบุรี ไปขึ้นกับตำบลจระเข้หิน[3]
- วันที่ 19 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลโคกกระชาย แยกออกจากตำบลแชะ[4]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลแชะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลแชะ[5]
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลเฉลียง แยกออกจากตำบลแชะ[6]
- วันที่ 11 พฤษภาคม 2519 แยกพื้นที่ตำบลสระตะเคียน จากอำเภอครบุรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเสิงสาง[7] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอครบุรี
- วันที่ 4 ตุลาคม 2520 ตั้งตำบลเสิงสาง แยกออกจากตำบลสระตะเคียน ตั้งตำบลโนนสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลสระตะเคียน และตั้งตำบลกุดโบสถ์ แยกออกจากตำบลสระตะเคียน[8]
- วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี เป็น อำเภอเสิงสาง[9]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลมาบตะโกเอน แยกออกจากตำบลเฉลียง[10]
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2524 ตั้งตำบลอรพิมพ์ แยกออกจากตำบลจระเข้หิน[11]
- วันที่ 13 กันยายน 2526 ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลแชะ[12]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2528 ตั้งตำบลลำเพียก แยกออกจากตำบลโคกกระชาย[13]
- วันที่ 8 มีนาคม 2531 จัดตั้งสุขาภิบาลจระเข้หิน ในท้องที่หมู่ 1-4, 6 และ 8 ของตำบลจระเข้หิน[14]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลครบุรีใต้ แยกออกจากตำบลครบุรี[15]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลตะแบกบาน แยกออกจากตำบลเฉลียง[16]
- วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลไทรโยง - ไชยวาล ในท้องที่หมู่ 1-3 ของตำบลครบุรี และท้องที่หมู่ 8 ของตำบลครบุรีใต้[17]
- วันที 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลสระว่านพระยา แยกออกจากตำบลมาบตะโกเอน[18]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแชะ สุขาภิบาลจระเข้หิน และสุขาภิบาลไทรโยง - ไชยวาล เป็นเทศบาลตำบลแชะ เทศบาลตำบลจระเข้หิน และเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล ตามลำดับ[19] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 31 สิงหาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอรพิมพ์[20] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลครบุรีใต้ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล) อำเภอครบุรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลครบุรีใต้[21]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอครบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 152 หมู่บ้าน
1. | แชะ | (Chae) | 11 หมู่บ้าน | 7. | อรพิมพ์ | (Oraphim) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | เฉลียง | (Chaliang) | 12 หมู่บ้าน | 8. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | ครบุรี | (Khon Buri) | 14 หมู่บ้าน | 9. | ลำเพียก | (Lam Phiak) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | โคกกระชาย | (Khok Krachai) | 24 หมู่บ้าน | 10. | ครบุรีใต้ | (Khon Buri Tai) | 16 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | จระเข้หิน | (Chorakhe Hin) | 13 หมู่บ้าน | 11. | ตะแบกบาน | (Tabaek Ban) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||||
6. | มาบตะโกเอน | (Map Tako En) | 10 หมู่บ้าน | 12. | สระว่านพระยา | (Sa Wan Phraya) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอครบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแชะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแชะและตำบลบ้านใหม่
- เทศบาลตำบลจระเข้หิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจระเข้หิน
- เทศบาลตำบลไทรโยง-ไชยวาล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลครบุรีและตำบลครบุรีใต้
- เทศบาลตำบลอรพิมพ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอรพิมพ์ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลครบุรีใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครบุรีใต้ (นอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแชะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแชะ (นอกเขตเทศบาลตำบลแชะ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเฉลียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเฉลียง
- องค์การบริหารส่วนตำบลครบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครบุรี (นอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกระชาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกระชายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจระเข้หิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจระเข้หิน (นอกเขตเทศบาลตำบลจระเข้หิน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมาบตะโกเอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบตะโกเอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลแชะ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำเพียก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำเพียกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะแบกบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะแบกบานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระว่านพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระว่านพระยาทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช ขึ้นอำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3380. February 12, 1939.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแซะ ขึ้นอำเภอกระโทก จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอครบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3365. February 12, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดอุตตรดิตถ์ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (61 ง): 3422–3424. October 19, 1948.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี และอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (77 ง): 4783–4785. December 30, 1952.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 75 ง): 26–27. September 20, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอครบุรี อำเภอสูงเนิน อำเภอห้วยแถลง อำเภอคง อำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (120 ง): 3100–3136. November 9, 1971.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสิงสาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (72 ง): 1098. May 11, 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
- ↑ "ปประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (93 ง): 4121–4130. October 4, 1977.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): 19–23. March 25, 1979. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอด่านขุนทด อำเภอประทาย อำเภอคง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (192 ง): 4373–4386. November 20, 1979.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1296–1303. May 5, 1981.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (146 ง): 3306–3321. September 13, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. December 17, 1985.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (36 ง): 1810–1811. March 8, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโชคชัย อำเภอครบุรี อำเภอคง อำเภอโนนสูง กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง และกิ่งอำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (พิเศษ 171 ง): 122–155. October 21, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอประทาย อำเภอคง และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (พิเศษ 131 ง): 81–94. July 29, 1991.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไทรโยง-ไชยวาล อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 126 ง): 55–56. September 30, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขามสะแกแสง อำเภอครบุรี และอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 151 ง): 1–18. November 27, 1992.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล อรพิมพ์ เป็น เทศบาลตำบลอรพิมพ์". August 31, 2009.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ครบุรีใต้ เป็น เทศบาลตำบลครบุรีใต้". August 31, 2009.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)