อำเภอศรีมหาโพธิ

อำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย

ศรีมหาโพธิ [สี-มะ-หา-โพด][1] เป็นอำเภอ 1 ใน 7 ของจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออก เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี[2] และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ปราจีนบุรี) เป็นพื้นที่ที่มีการเพิ่มของประชากรสูงมากที่สุดของจังหวัด และยังเป็นเขตประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ โบราณสถานพานหิน โบราณสถานลายพระหัตถ์ โบราณสถานหลุมเมือง

อำเภอศรีมหาโพธิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Maha Phot
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
คำขวัญ: 
เกษตรมั่นคง อุตสาหกรรมมั่งคั่ง
การค้ารุ่งเรือง เมืองศรีมหาโพธิ
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอศรีมหาโพธิ
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอศรีมหาโพธิ
พิกัด: 13°58′0″N 101°30′48″E / 13.96667°N 101.51333°E / 13.96667; 101.51333
ประเทศ ไทย
จังหวัดปราจีนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด399.48 ตร.กม. (154.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด85,988 คน
 • ความหนาแน่น215.25 คน/ตร.กม. (557.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 25140
รหัสภูมิศาสตร์2508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ หมู่ที่ 4
ถนนสุวินทวงศ์ ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 25140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
โบราณสถานพานหิน เป็นโบราณสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ กว้างด้านละ 15.50 เมตร สูง 3.50 เมตร มีมุขยืนออกไปทั้งสี่ด้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอศรีมหาโพธิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
โบราณสถานหลุมเมือง ลักษณะเป็นหลุมเจาะลึกลงไปในพื้นศิลาแลงธรรมชาติ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.40 เมตร ลึกประมาณ 0.50 เมตร เรียงกันเป็นแนวคล้ายเตาขนมครก โดยแต่ละหลุมห่างกันประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่ในเขตเมืองนางอมรเทวี

ประวัติ

แก้

"ศรีมหาโพธิ" มาจากที่ตำบลโคกปีบ ซึ่งเดิมขึ้นการปกครองอยู่กับอำเภอศรีมหาโพธิ (ปัจจุบันตั้งเป็นอำเภอศรีมโหสถ) มีต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่มาก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าต้นโพธิ์นี้ได้นำพันธุ์มาจาก "ต้นพระศรีมหาโพธิ" พุทธคยาประเทศอินเดีย เพราะสมัยนั้นพระพุทธศาสนาได้แพร่มาถึงอาณาจักรสุวรรณภูมิราวพุทธศักราช 300 แล้ว ได้แพร่มาถึงทวารวดีราวพุทธศักราช 500 ความเจริญของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้ บรรดาสมณะทูตทั้งหลายนำเอาพระศรีมหาโพธิพันธุ์พุทธคยา มาปลูกเป็นบริโภคเจดีย์สำหรับกราบไหว้บูชา เพราะอาณาจักรทวาราวดีนอกจากจะได้รับแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุแล้ว คงได้รับพันธุ์พระศรีมหาโพธิพุทธคยาจากสมณะทูตมาเผยแพร่ศาสนาอีกครั้งและนำมาปลูกไว้ ณ ที่หลายแห่ง จึงน่าเชื่อว่าต้นโพธิ์ต้นนี้เป็นต้นโพธิ์พุทธคยา แต่ว่าต้นเดิมอาจจะตายไป เพราะเป็นเวลานานถึง 2,000 ปีล่วงมาแล้ว

ต้นที่อยู่ปัจจุบันเป็นหน่อที่เกิดขึ้นใหม่รอบต้นเดิม และตรงที่ปลูกอยู่นั้นอยู่ในสังฆารวาสแห่งหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตเข้าไปถึงเมืองโพธิสัตว์และเมืองตะโหนดในประเทศกัมพูชา ดังนั้นจึงเรียกว่า "ดงศรีมหาโพธิ" และเนื่องจากประชาชนในจังหวัดปราจีนบุรี กับจังหวัดใกล้เคียงถือกันว่า เป็นต้นโพธิ์ที่ได้รับพันธุ์มาจากพุทธคยาประเทศอินเดีย อันเป็นบริโภคเจดีย์สำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาจึงได้นับถือกราบไหว้บูชาระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อมีการจัดตั้งอำเภอตามแนวการปกครองมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 อำเภอนี้ได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อยู่ด้วย จึงได้นามของอำเภอว่า "ศรีมหาโพธิ"[3]

  • วันที่ 30 มีนาคม 2461 โอนพื้นที่ตำบลสัมพันธ์ อำเภอประจันตคาม มาขึ้นกับ อำเภอศรีมหาโพธิ[4]
  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2464 ยุบกิ่งอำเภอท่าประชุมชน รวมกับอำเภอศรีมหาโพธิ[5]
  • วันที่ 30 กันยายน 2467 ยุบตำบลดอนใหญ่ ไปรวมกับตำบลดงกระทงยาม[6]
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2468 ยุบตำบลท่าประชุมชน ไปรวมกับตำบลศรีมหาโพธิ ยุบตำบลโคกมอญ ไปรวมกับตำบลโคกปีบ และยุบตำบลท่าแห ไปรวมกับตำบลบ้านทาม[7][8]
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2473 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศรีมหาโพธิกับอำเภอประจันตคาม โดยโอนพื้นที่หมู่ 14–15 (ในขณะนั้น) ของตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ ไปขึ้นกับตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม[9]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางกุ้ง แยกออกจากตำบลหาดยาง ตั้งตำบลคู้ลำพัน แยกออกจากตำบลไผ่ชะเลือด[10]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ ในท้องที่บางส่วนของตำบลศรีมหาโพธิ[11]
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลท่าตูม แยกออกจากตำบลศรีมหาโพธิ[12]
  • วันที่ 17 มกราคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลโคกปีบ ในท้องที่หมู่บ้านม่วงขาว บ้านด่าน บ้านโคกปีบ และบ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ[13]
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ[14] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายอาณาเขตมาถึงบางส่วนของหมู่ที่ 6 บ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 แยกพื้นที่ตำบลโคกปีบ ตำบลคู้ลำพัน และไผ่ชะเลือด อำเภอศรีมหาโพธิ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอโคกปีบ[15] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอศรีมหาโพธิ
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลโคกไทย แยกออกจากตำบลโคกปีบ[16]
  • วันที่ 12 เมษายน 2520 ยกฐานะกิ่งอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ เป็น อำเภอโคกปีบ[17]
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลกรอกสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลท่าตูม[18]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลกรอกสมบูรณ์ ในท้องที่หมู่ 1 ตำบลกรอกสมบูรณ์[19]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ และสุขาภิบาลกรอกสมบูรณ์ เป็นเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ และเทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ ตามลำดับ[20] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ[21]
  • วันที่ 29 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลสัมพันธ์ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ และยุบสภาตำบลหาดยาง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดงกระทงยาม[22]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอศรีมหาโพธิแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 90 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)[23]
1. ศรีมหาโพธิ Sri Maha Phot
12
10,895
2. สัมพันธ์ Samphan
7
1,767
3. บ้านทาม Ban Tham
8
3,406
4. ท่าตูม Tha Tum
10
26,309
5. บางกุ้ง Bang Kung
5
1,532
6. ดงกระทงยาม Dong Krathong Yam
7
3,990
7. หนองโพรง Nong Phrong
12
14,336
8. หัวหว้า Hua Wa
17
10,609
9. หาดยาง Hat Yang
4
1,119
10. กรอกสมบูรณ์ Krok Sombun
7
12,025
รวม
89
85,988

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอศรีมหาโพธิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

เขตอุตสาหกรรม

แก้
  • เขตอุตสาหกรรม 304
  • สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ปราจีนบุรี

สถานที่สำคัญ

แก้
  • โบราณสถานหลุมเมือง
  • โบราณสถานพานหิน
  • สวนสาธารณะ โบราณสถานลายพระหัตถ์ รัชกาลที่ 5

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 55.
  2. "ข้อมูลนิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี (304 Industrial Park) ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี". โรงงานอุตสาหกรรมไทย (Thailand Industry). สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  3. [1] เก็บถาวร 2019-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอำเภอศรีมหาโพธิ - ข้อมูลอำเภอ-สถานที่ท่องเที่ยว-ติดต่อราชการ
  4. "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดที่ดิน (ทุ่งบ้านบางเดชะ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ทุ่งบ้านบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง ทุ่งบ้านไผ่ชะเลือด อำเภอศรีมหาโพธิ์ ทุ่งบ้านสัมพันธ์ ตำบลสัมพันธ์ อำเภอประจันตะคาม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 3784–3785. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2461
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบ้านบึงและยุบกิ่งอำเภอท่าประชุมชน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ง): 342–343. วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2464
  6. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลดอนใหญ่ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลดงกระทงยาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 169–170. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2467
  7. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลที่ได้ยุบและรวมกันในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 201–202. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
  8. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๓๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลที่ได้ยุบและรวมกันในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี หน้า ๒๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 2440. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
  9. "ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง ลดอัตราชั้นที่นาฟางลอย หมู่บ้านที่ ๑๔,๑๕ ตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ ซึ่งโอนไปรวมขึ้นในตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 376. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 28-29. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (109 ง): 3084–3117. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2501
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (5 ง): 133–134. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2510
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ง): 524–525. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (14 ง): 680. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2019-07-11. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 14-17. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
  17. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลายพระยา อำเภอห้วยเม็ก อำเภอละแม อำเภอแม่จริม อำเภอหนองกี่ อำเภอโคกปีบ อำเภอเกาะพะงัน อำเภอสนม อำเภอโซ่พิสัย อำเภอโนนสะอาด และอำเภอนาจะหลวย พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (31 ก): 326–330. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-07-11. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2520
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัฒนานคร อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (89 ง): 2504–2510. วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2525
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกรอกสมบูรณ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 44-46. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  20. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 1–3. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
  23. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 2566. สืบค้น 24 มกราคม 2566.