เขตทวีวัฒนา
ทวีวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที่
เขตทวีวัฒนา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Thawi Watthana |
คำขวัญ: ธรรมชาติสุดสวย กล้วยไม้หลากสี สวนผักมากมี คูคลองมากมาย ใกล้แดนธรรมพุทธมณฑล ถนนสวยหลายสาย คมนาคมสะดวกสบาย สุขสมหมายทวีวัฒนา | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตทวีวัฒนา | |
พิกัด: 13°47′19″N 100°20′3″E / 13.78861°N 100.33417°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 50.219 ตร.กม. (19.390 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 79,771[1] คน |
• ความหนาแน่น | 1,588.46 คน/ตร.กม. (4,114.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1048 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ซอยอุทยาน 5 ถนนอุทยาน แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตทวีวัฒนาตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางแคและเขตหนองแขม มีคลองบางเชือกหนัง คลองทวีวัฒนา และคลองบางไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามพรานและอำเภอพุทธมณฑล (จังหวัดนครปฐม) มีแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครปฐมและคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
แก้เขตทวีวัฒนาตั้งชื่อตามคลองทวีวัฒนาซึ่งเป็นคลองที่มีความยาวมาก ไหลผ่านพื้นที่ของเขตในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ–ตะวันออกเฉียงใต้
ประวัติศาสตร์
แก้โดยเริ่มแรกนั้น ท้องที่เขตทวีวัฒนาอยู่ในการปกครองของอำเภอตลิ่งชันของจังหวัดธนบุรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลศาลาธรรมสพน์ (เดิมเรียกว่าตำบลศาลาทำศพ) เนื่องจากตำบลนี้มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกพื้นที่ 7 หมู่บ้านทางทิศใต้ของตำบลนี้ออกมาจัดตั้งเป็น ตำบลทวีวัฒนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500
ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลทวีวัฒนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทวีวัฒนา โดยขึ้นกับเขตตลิ่งชัน
ต่อมาท้องที่แขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์ (รวมกับท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางพรม และแขวงบางเชือกหนัง เฉพาะทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก) ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เขตทวีวัฒนา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตตลิ่งชันและจัดตั้งเขตทวีวัฒนา มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตทวีวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[3] ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ทวีวัฒนา | Thawi Watthana | 21.521 |
23,801 |
1,105.94 |
|
2. |
ศาลาธรรมสพน์ | Sala Thammasop | 28.698 |
55,970 |
1,950.31
| |
ทั้งหมด | 50.219 |
79,771 |
1,588.46
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตทวีวัฒนา[4] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2541 | 50,066 | แบ่งเขต |
2542 | 52,099 | +2,033 |
2543 | 53,801 | +1,702 |
2544 | 55,705 | +1,904 |
2545 | 58,004 | +2,299 |
2546 | 61,177 | +3,173 |
2547 | 64,220 | +3,043 |
2548 | 66,354 | +2,134 |
2549 | 68,423 | +2,069 |
2550 | 70,196 | +1,773 |
2551 | 69,026 | -1,170 |
2552 | 73,428 | +4,402 |
2553 | 74,592 | +1,164 |
2554 | 75,460 | +868 |
2555 | 76,274 | +814 |
2556 | 76,787 | +513 |
2557 | 77,121 | +334 |
2558 | 77,604 | +483 |
2559 | 77,890 | +286 |
2560 | 78,187 | +297 |
2561 | 78,394 | +207 |
2562 | 78,548 | +154 |
2563 | 78,749 | +201 |
2564 | 78,798 | +49 |
2565 | 79,228 | +430 |
2566 | 79,771 | +543 |
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลักในพื้นที่เขตทวีวัฒนาได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองบางเชือกหนังถึงคลองมหาสวัสดิ์ (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่ต่างระดับฉิมพลีจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
- ถนนอุทยาน ตั้งแต่แยกอุทยานจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนพุทธมณฑล สาย 2
- ถนนพุทธมณฑล สาย 3
- ถนนทวีวัฒนา
- ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก
- ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
ส่วนถนนสายรอง ได้แก่
- ถนนศาลาธรรมสพน์
- ถนนสวนผัก
ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์
วัด
แก้- วัดปุรณาวาส
- วัดโกมุทพุทธรังสี
- วัดวิศิษฏ์บุญญาวาส
- วัดสุทธิจิตตาราม
- มูลนิธิหลวงพ่อเทียน แขวงทวีวัฒนา
- สถานปฏิบัติธรรมธุดงคสถาน (หมออุดม ธรรมวิมุติ) แขวงทวีวัฒนา
โรงเรียนและสถานศึกษา
แก้- โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
- 1. โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ) เลขที่ 87/2 หมู่ 19 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 2. โรงเรียนคลองทวีวัฒนา เลขที่ 155 คลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- 3. โรงเรียนคลองบางพรม เลขที่ 53 คลองบางพรม แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 4. โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ หมู่ 4 คลองมหาสวัสดิ์ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 5. โรงเรียนวัดปุรณาวาส เลขที่ 3 คลองมหาสวัสดิ์ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 6. โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม เลขที่ 9/3 หมู่ 10 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
- 1. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ คลองทวีวัฒนา แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- 2. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ถนนอุทยาน แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- โรงเรียนอนุบาล และ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เขตทวีวัฒนา
- 1. โรงเรียนอนุบาลอรุณรัตน์ ถนนพุทธมณฑลสาย 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- 2. โรงเรียนอนุบาลจารุเวศ หมู่บ้านชวนชื่น แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 3. โรงเรียนอนุบาลกอบแก้ว หมู่บ้านกอบแก้ว แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 4. โรงเรียนอนุบาลสร้างสรรค หมู่บ้าน ป.ผาสุข แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 5. โรงเรียนโชติกาญจน์ หมู่ 1 ซอยคลองปทุม ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- 7. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนวัดปุรณาวาส หมู่ 3 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- วิทยาลัยและโรงเรียนเอกชนในพื้นที่เขตทวีวัฒนา
- 1. วิทยาลัยทองสุข เลขที่ 99/79 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 2. เทคโนโลยีปิ่นมณฑล ถนนพุทธมณฑลสาย 2 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา
- 3. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
สถานพยาบาล
แก้- สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ถนนพุทธมณฑล สาย 4 แขวงทวีวัฒนา
- โรงพยาบาลธนบุรี 2 (โรงพยาบาลเอกชน) แขวงศาลาธรรมสพน์
- ศูนย์บริการสาธารณสุข มี 5 สาขา คือ
- สาขาศาลาธรรมสพน์ แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาตั้งพิรุฬห์ธรรม แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาพันธ์-วงษ์ สาทิม แขวงศาลาธรรมสพน์
- สาขาแจ่ม-ดำ ควรชม แขวงทวีวัฒนา
- สาขาพลตรีบุษป์-ประดับโกมุท แขวงทวีวัฒนา
- ศูนย์ควบคุมสัตว์นำโรค แขวงศาลาธรรมสพน์
สถานที่สำคัญ
แก้- สวนทวีวนารมย์และตลาดธนบุรี
- ถนนอุทยาน
- อุทยานแมวไทยตา 2 สี (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)
- พระตำหนักทวีวัฒนา
- พิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)
- บ้านพิพิธภัณฑ์
- โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
- ที่ประสานงานชมรมรักถิ่นเขตทวีวัฒนา (โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่)
- สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ)
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตตลิ่งชัน และตั้งเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
- ↑ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงศาลาธรรมสพน์ และแขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.