อำเภอเสริมงาม

อำเภอในจังหวัดลำปาง ประเทศไทย

เสริมงาม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดลำปาง

อำเภอเสริมงาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Soem Ngam
คำขวัญ: 
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ เลิศล้ำถ้ำผากาน
คู่บ้านวัดนางอย งามชดช้อยผ้าทอ
เพียงพอเกษตรกรรม น้ำใจงามคนเมืองเสริม
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเสริมงาม
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเสริมงาม
พิกัด: 18°3′55″N 99°14′50″E / 18.06528°N 99.24722°E / 18.06528; 99.24722
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด631.727 ตร.กม. (243.911 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด30,340 คน
 • ความหนาแน่น48.03 คน/ตร.กม. (124.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52210
รหัสภูมิศาสตร์5204
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเสริมงาม เลขที่ 94
หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 52210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเสริมงามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาประมาณ ร้อยละ 50 พื้นที่ดินดอนประมาณ ร้อยละ 20 พื้นที่ภูเขาและที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของอำเภอในเขตตำบลเสริมขวา และบริเวณตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ของอำเภอ มีกลุ่มดินตื้นประมาณร้อยละ 23 ในพื้นที่ทางทิศตะวันออกและบริเวณตอนกลางของอำเภอ มีกลุ่มดินนา ประมาณร้อยละ 7 การคมนาคม อำเภอเสริมงามสามารถติดต่อระหว่างจังหวัด-อำเภอ โดยอาศัยทางหลวง หมายเลข 1274 สายเกาะคา-ลี้

ประวัติ

แก้

เมื่อสมัยโบราณเมืองเสริมแห่งนี้ได้มีชนชาติหนึ่งอาศัยเรียกว่า “ลั๊วะ” ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเสริมแห่งนี้มาก่อน มีจำนวนประชากรไม่มากนัก แต่บางกระแสก็กล่าวว่าความจริงในเมืองเสริมแห่งนี้ได้มีพวกชาวยองหรือชาวลื้อได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้มาก่อน (จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าคนทั้งสองกลุ่มนี้ใครอยู่ก่อนกันแน่) ต่อมาได้มี “คนไต” หรือ “คนไทย” ได้อพยพมาจากแคว้นหนองแส ได้แก่ เมืองยู เมืองยอง ตอนใต้ของประเทศ จีน ซึ่งถูกพวกจีนรุกราน ได้อพยพถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเสริมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนกลืนผู้อาศัยอยู่ก่อน คือพวกชนชาติลั๊วะ และชาวยองหายสาบสูญไปในที่สุด เมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จึงได้เกิดมีผู้นำ เป็นเจ้าพระยาปกครองเมือง เมื่อมี เจ้าเมืองปกครองแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างเมืองเล็ก ๆ ขึ้นเมืองหนึ่ง เรียกว่า “เมืองเสริม” ตามสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่เสริมนั่นเอง พระยาเจ้าเมืองท่านแรกชื่อเสียงอย่างไรไม่ปรากฏ ต่อมาบ้านเมืองได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงการปกครองขึ้นใหม่ ส่วนกลางเป็นกระทรวง กรม กอง ส่วนท้องถิ่นเป็นมณฑล เป็นเมือง เป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ออกเป็นสัดส่วนเหมาะสม เพื่อสะดวกต่อการปกครองบ้านเมืองยิ่งขึ้น เมืองเสริมซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็ก ทางราชการเห็นควรที่จะจัดตั้งเป็นตำบลตามพระราชบัญญัติการปกครองใหม่โดยส่งเจ้าหน้าที่ระดับเมืองนครลำปาง กับเจ้าหน้าที่อำเภอเกาะคาสมัยนั้นออกมาสำรวจแบ่งเขตพื้นที่เมืองเสริมเป็นตำบล ครั้งหนึ่งคณะเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอเกาะคา ได้ออกเดินทางมาพักค้างแรมอยู่ที่วัด ทุ่งงามหลวง เพื่อสำรวจอาณาเขตเมืองเสริมและจัดแบ่งตำบล ณ วัดทุ่งงามหลวง หลังจากคณะได้ออกสำรวจพื้นที่แล้ว ได้กลับมาปรึกษากันและได้สรุปว่า ในเมืองเสริมแห่งนี้มีแม่น้ำสายเล็ก ๆ 4 สาย ไหล่ผ่านพื้นที่ ได้แก่ น้ำแม่เลียง น้ำแม่เสริม น้ำแม่ลา และน้ำแม่ต๋ำ ไหลมาบรรจบกันที่เขตบ้านทุ่งงามติดกับหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น น้ำแม่เสริมมาบรรจบกับน้ำแม่ต๋ำ ตรงเขตบ้านสบเสริมกับบ้านทุ่งงามหลวง และมาบรรจบน้ำแม่เลียง ณ เขตบ้านทุ่งงามพัฒนา กับบ้านนาบอน เราเรียกตรงนั้นว่าสบเลียง และได้ไหลไปผ่านบ้านแม่ต๋ำใต้ไหลไปบรรจบกับน้ำแม่วังที่บ้านสบต๋ำ ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ในช่วงนี้เราเรียกน้ำแม่ต๋ำตลอดสาย แม่น้ำ 4 สาย ในเขตเมืองเสริมจะมีน้ำแม่เสริมอยู่ตรงกลาง ตามปกติในการแบ่งเขตการปกครองท้องที่จึงได้อาศัยน้ำแม่เสริมเป็นหลักในการจัดตั้งแบ่งเขตตำบล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2513 ทางการมีความประสงค์ให้อำเภอต่าง ๆ ที่มีท้องที่กว้างขวางและมีเขตตำบลอยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของอำเภอ หาทางขยับขยายตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบกับเมืองเสริมมีอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้น รายได้ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครอง จึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอใหม่ได้ ดังนั้นทางคณะข้าราชการอำเภอเกาะคา จึงได้นำคณะกรรมการอำเภอออกประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการครูในพื้นที่ ณ ตำบล ทุ่งงาม และได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่เมืองเสริมแห่งนี้ สร้างความปิติยินดีเป็นอย่างมากให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้นแล้วให้มีการกำหนดชื่อกิ่งอำเภอ โดยสมาชิกในที่ประชุมได้เสนอชื่อกิ่งอำเภอเพื่อร่วมกันพิจารณาคัดเลือกหลายชื่อ ในที่ประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าให้นำเอาคำว่า “เสริม” ซึ่งเป็นคำนำหน้าชื่อตำบลเสริมซ้าย และ ตำบลเสริมขวา มารวมกันกับคำว่า “งาม” ที่เป็นคำลงท้ายของตำบลทุ่งงาม เป็นชื่อ “กิ่งอำเภอเสริมงาม” เมื่อได้ชื่อกิ่งอำเภอแล้ว ก็ได้พิจารณาเลือกสถานที่ตั้งกิ่งอำเภอต่อเนื่องกันในเวลานั้นเลยได้มีผู้เสนอสถานที่จะตั้งกิ่งหลายแห่งด้วยกัน ในที่สุดมีมติที่ประชุมออกมา ให้เลือกเอาสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่สามตำบลเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสริมงาม ก็คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสริมงามตั้งอยู่ปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาได้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสริมงาม อำเภอเกาะคา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสริมงามเป็นอำเภอเสริมงามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518[1]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเสริมงามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[2]
1. ทุ่งงาม   Thung Ngam 11 หมู่บ้านประกอบด้วย 1. บ้านแม่กี๊ด 2. บ้านนาบอน 3. บ้านทุ่งงาม4. บ้านมั่ว 5. บ้านสาแล

6. บ้านดอนแก้ว 7. บ้านใหม่ 8. บ้านดอนงาม 9. บ้านห้วยส้ม 10. บ้านแม่ต๋ำใต้ 11. บ้านทุ่งงามพัฒนา

2,596 8,211
2. เสริมขวา   Soem Khwa 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านปงหลวง 2. บ้านปงแพ่ง 3. บ้านปงป่าป๋อ 4. บ้านทุ่งไผ่ 5. บ้านแม่ผึ้ง

6. บ้านแม่เลียงพัฒนา7. บ้านแม่เลียง 8. บ้านปงหัวทุ่ง 9. บ้านปงแล้ง 10. บ้านแม่ห้อม 11. บ้านปงประดู่ 12. บ้านห้วยหลวง

2,257 7,344
3. เสริมซ้าย   Soem Sai 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านแม่ต๋ำ 2. บ้านสบแม่ทำ 3. บ้านนาจะลา

4. บ้านนาไผ่ 5. บ้านท่าโป่ง 6. บ้านนาเดา 7. บ้านน้ำหลง 8. บ้านนาสันติสุข 9. บ้านดงหนอกจอก 10. บ้านนางอย

2,527 8,347
4. เสริมกลาง   Soem Klang 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านโป่งน้ำร้อน 2. บ้านกิ่วห้วยเบิก 3. บ้านสันโป่ง

4. บ้านเหล่ายาว 5. บ้านศรีลังกา 6. บ้านฮ่องฮี 7. บ้านนาเอี้ยง 8. บ้านทุ่งต๋ำ 9. บ้านสบเสริม

2,338 8,366

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเสริมงามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเสริมงาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งงาม ตำบลเสริมซ้าย และตำบลเสริมกลาง
  • เทศบาลตำบลทุ่งงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งงาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)
  • เทศบาลตำบลเสริมซ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสริมขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมขวาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสริมกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมกลาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)

สถานที่สำคัญ

แก้
  • วัดหลวงนางอย[3]
  • โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [4]
  • ถ้ำผากาน[5]
  • น้ำตกแม่แฮด[6]
  • น้ำตกแม่ห้อม[7]

สถานศึกษา

แก้

เหตุการณ์สำคัญ

แก้
  • พายุลูกเห็บตกที่ตำบลเสริมซ้ายเสียหายมากกว่า 800 หลังคาเรือน [9]

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/166/1.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พระราชกฤษฎีกา
  2. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. http://www.m-culture.in.th/album/128997/วัดหลวงนางอย
  4. http://hmq.dss.go.th/โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[ลิงก์เสีย] พระบรมราชินีนาถ
  5. https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://lampang.dnp.go.th/Web%2520Doijong%2520Park/doijong6.php/ถ้ำผากาน
  6. https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://lampang.dnp.go.th/Web%2520Doijong%2520Park/doijong6.php/น้ำตกแม่แฮด
  7. http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=400862&random=1452097295031/น้ำตกแม่ห้อม[ลิงก์เสีย]
  8. http://www.swt.ac.th/เว็บไซต์โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม[ลิงก์เสีย]
  9. http://www.thairath.co.th/content/region/324520