อำเภอบำเหน็จณรงค์

อำเภอในจังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย

บำเหน็จณรงค์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ที่มีความเจริญรองจากอำเภอจัตุรัส โดยอำเภอบำเหน็จณรงค์นับเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิที่มีทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่ผ่าน และมีสถานีรถไฟบำเหน็จณรงค์เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอ [1]

อำเภอบำเหน็จณรงค์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bamnet Narong
คำขวัญ: 
พระฤทธิฤๅชัย น้ำใสบึงชวน กวนหมี่นุ่มเหนียว เที่ยวลำคันฉู ดูเหมืองแร่โพแทช ไหว้พระหลวงพ่อโต คนโก้เมืองบำเหน็จ
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอบำเหน็จณรงค์
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอบำเหน็จณรงค์
พิกัด: 15°30′0″N 101°41′12″E / 15.50000°N 101.68667°E / 15.50000; 101.68667
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด560.3 ตร.กม. (216.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด52,382 คน
 • ความหนาแน่น93.49 คน/ตร.กม. (242.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 36160
รหัสภูมิศาสตร์3607
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบำเหน็จณรงค์ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านชวน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ 36160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ตามหลักฐานพระราชพงศาวดารกรุงสยาม และจดหมายเหตุบางตอนได้บันทึกไว้ได้ความว่า ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นเพียงด่านๆหนึ่ง เรียกว่า ด่านชวน มีขุนพลเป็นนายด่านรักษาการอยู่ ต่อมาในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าด่านชวน เป็นด่านที่สำคัญในการที่จะต่อต้านหัวเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่จะคิดการกบฏ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ขุนพลเมืองกุขันธ์ (หรือเมืองขุขันธ์ ซึ่งในขณะนั้นทางการเขียนตามเสียงพูดภาษาเขมรของชาวเมืองขุขันธ์ยุคนั้นว่า กุขันธ์ เพื้ยนมาจากคำภาษาเขมรโบราณท้องถิ่นเมืองขุขันธ์ คือ គោកខណ្ឌ / គោកខាន់ / គោកខា័ន្ធ )มาเป็นนายด่าน

เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์คิดการกบฏยกกองทัพมาตีหัวเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงเมืองนครราชสีมา ขุนพลด่านชวนจึงได้ยกทัพไปต่อสู้กับข้าศึกที่เมืองนครราชสีมา จนกองทัพของเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ แตกพ่ายไป ผลจากวีรกรรมของขุนพลด่านชวนในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จความชอบ ให้ขุนพลนายด่านชวนเป็น พระฤทธิฤๅชัย และยกฐานะด่านชวนขึ้นเป็นเมือง ชื่อว่า เมืองบำเหน็จณรงค์ ในปีกุน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา

พระฤทธิฤๅชัย ได้ปกครองประชาชนด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น สร้างจวนที่ทำการขึ้นที่ตำบลบ้านชวน ปิดกั้นคูบึงชวนไว้ใช้สำหรับบริโภค ใช้สอย และใช้ในการเกษตรกรรม ในด้านการศาสนาได้ร่วมกับประชาชนสร้างวัดขึ้นที่บ้านปะโค ตำบลบ้านชวน ซึ่งยังปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ เมืองบำเหน็จณรงค์ ปกครองในฐานะเป็นเมือง และมีเจ้าเมืองปกครองต่อเนื่องกันมาอีกสองท่าน

ต่อมาอำเภอบำเหน็จณรงค์ ถูกลดฐานะลงเหลือเพียงตำบล ต่อมาได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ โดยขึ้นต่ออำเภอจัตุรัส และภายหลังได้ยกฐานเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2499 และได้มีการแยกพื้นที่ 3 ตำบลทางทิศตะวันตกของอำเภอแยกเป็น กิ่งอำเภอเทพสถิต ซึ่งได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2526 ทำให้ปัจจุบันมีการปกครองทั้งสิ้น 7 ตำบล

  • พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้เหมาะสมกับกาลสมัยโปรดเกล้าให้ยุบเมืองบำเหน็จณรงค์ ตั้งเป็นอำเภอบำเหน็จณรงค์ และแต่งตั้งพันสิทธิ์ (หลวงมหานพฤการ) เป็นนายอำเภอคนแรก ขึ้นตรงต่อเมืองชัยภูมิ
  • พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ยุบอำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นตำบล เรียกว่า ตำบลบ้านชวน ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอจัตุรัส
  • พ.ศ. 2448 ได้ยกฐานะตำบลบ้านชวน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส เป็น กิ่งอำเภอบ้านชวน[2]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2467 มีฐานะเป็น "กิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส" มีตำบลในเขตการปกครองคือ ตำบลบ้านชวน[3][4] ตำบลบ้านเพชร ตำบลดอนตาล[5][6] และโอนพื้นที่ตำบลนายางกลัก อำเภอจัตุรัส มาขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านชวน[5]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส เป็น กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์[7]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านตาล แยกออกจากตำบลบ้านเพชร และตำบลบ้านชวน[8]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอบำเหน็จณรงค์[9]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเพชร ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านเพชร[10]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบำเหน็จณรงค์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านชวน[11]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลโคกเริงรมย์ แยกออกจากตำบลบ้านเพชร[12]
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลวะตะแบก แยกออกจากตำบลโคกเริงรมย์[13][14]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลหัวทะเล แยกออกจากตำบลบ้านตาล[15]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลห้วยยายจิ๋ว แยกออกจากตำบลวะตะแบก[16]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลวะตะแบก ตำบลนายางกลัก และตำบลห้วยยายจิ๋ว จากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเทพสถิต[17] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบำเหน็จณรงค์
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลนายางกลัก[18]
  • วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็น อำเภอเทพสถิต[19]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบำเหน็จณรงค์[20] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลเกาะมะนาว แยกออกจากตำบลบ้านชวน[21]
  • วันที่ 17 กันยายน 2536 ตั้งตำบลโคกเพชรพัฒนา แยกออกจากตำบลโคกเริงรมย์[22]
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2537 เปลี่ยนการลำดับเลขหมู่บ้านของตำบลโคกเริงรมย์[23] จากเดิมหมู่ที่ 2 บ้านโคกเริงรมย์ ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 1, หมู่ที่ 7 บ้านกุดตาลาด ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งโปร่ง ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 3 (คงเดิม), หมู่ที่ 8 บ้านกุดตาลาดพัฒนา ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 4, หมู่ที่ 6 บ้านใหม่สมบูรณ์วัฒนา ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 5, หมู่ที่ 1 บ้านโคกหินตั้ง ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 6, หมู่ที่ 5 บ้านโปร่งมีชัย ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 4 บ้านโคกสะอาด ให้ตั้งเป็นหมู่ที่ 8
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านเพชร และสุขาภิบาลบำเหน็จณรงค์ เป็นเทศบาลตำบลบ้านเพชร และเทศบาลตำบลบำเหน็จณรงค์ ตามลำดับ[24] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 แยกบ้านโคกเริงรมย์ หมู่ที่ 1 ตำบลโคกเริงรมย์ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านโคกเริงรมย์
  • วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ได้กำหนดเขตและจัดตั้งหมู่บ้าน ดังนี้
    • (1) แยกบ้านปะโค หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านชวน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 16 บ้านปะโค
    • (2) แยกบ้านชวน หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านชวน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 17 บ้านชวน
    • (3) แยกบ้านเก่า หมู่ที่ 8 ตำบลหัวทะเล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านหัวสระใหม่
    • (4) แยกบ้านตาล หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตาล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านตาลพัฒนา
    • (5) แยกบ้านหนองแวง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเพชร จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 23 บ้านหนองแวงรุ่งอรุณ
    • (6) แยกบ้านหัวบึง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านตาล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านหัวบึง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอบำเหน็จณรงค์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอบำเหน็จณรงค์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านชวน (Ban Chuan) 17 หมู่บ้าน 5. โคกเริงรมย์ (Khok Roeng Rom) 12 หมู่บ้าน
2. บ้านเพชร (Ban Phet) 23 หมู่บ้าน 6. เกาะมะนาว (Ko Manao) 8 หมู่บ้าน
3. บ้านตาล (Ban Tan) 12 หมู่บ้าน 7. โคกเพชรพัฒนา (Khok Phet Phatthana) 11 หมู่บ้าน
4. หัวทะเล (Hua Thale) 12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลสถานีรถไฟบำเหน็จณรงค์
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต ปราจีนบุรี นครราชสีมา และมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 89–93. August 13, 1922.
  4. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๒๐ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลภูเก็ต ปราจีนบุรี นครราชสีมา และมณฑลพิษณุโลก หน้า ๙๑,๙๒,๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ง): 1568. September 3, 1922.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 348–353. March 22, 1924.
  6. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๕๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครราชสีมา หน้า ๓๕๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 431–432. May 17, 1925.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  9. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. June 5, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเพชร อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 34-35. August 3, 1956.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบำเหน็จณรงค์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 18-19. September 20, 1956.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. December 17, 1957.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2430–2445. September 1, 1970.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แก้ไขประกาศตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสาน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (111 ง): 3375–3376. December 1, 1970.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 2994–2999. October 26, 1971.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (101 ง): 2013–2015. August 1, 1976.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเทพสถิต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (141 ง): 3227. November 9, 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2721–2723. July 5, 1977.
  19. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเทพสถิต อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเนินมะปราง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอเสนางคนิคม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (50 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. March 31, 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบำเหน็จณรงค์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (171 ง): 5681–5684. November 19, 1985.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (168 ง): 5988–5995. August 25, 1987.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (139 ง): (ฉบับพิเศษ) 39-44. September 17, 1993.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เรียงลำดับหมู่บ้านในท้องที่ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (45 ง): 18–19. June 7, 1994.
  24. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23.