อำเภอเสิงสาง
เสิงสาง เป็นอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของเขื่อนลำปลายมาศ และมีพื้นที่เกือบ 40% เป็นพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน[1]
อำเภอเสิงสาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Soeng Sang |
อ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ | |
คำขวัญ: เขื่อนลำปลายมาศ เที่ยวหาดชมตะวัน ถิ่นมันหม่อนไหม ผลไม้พืชผัก ตะเคียนยักษ์ทับลาน นมัสการหลวงปู่สอน | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเสิงสาง | |
พิกัด: 14°25′34″N 102°27′38″E / 14.42611°N 102.46056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,200.2 ตร.กม. (463.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 70,356 คน |
• ความหนาแน่น | 58.62 คน/ตร.กม. (151.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30330 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3003 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเสิงสาง หมู่ที่ 3 ตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 30330 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเสิงสาง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองบุญมาก และอำเภอหนองกี่ (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโนนสุวรรณ อำเภอปะคำ และอำเภอโนนดินแดง (จังหวัดบุรีรัมย์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโนนดินแดง (จังหวัดบุรีรัมย์) และอำเภอวัฒนานคร (จังหวัดสระแก้ว)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอครบุรี
ประวัติ
แก้เดิมอำเภอเสิงสาง อยู่ในพื้นที่ของตำบลสระตะเคียน อำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย) ในปี พ.ศ. 2450 ตำบลแซะ ตำบลจระเข้หิน และตำบลสระตะเคียน ของอำเภอกระโทก อยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ จึงแยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอแชะ" เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการกิ่งอยู่ในเขตหมู่บ้านแชะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ทางราชการได้ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช และโอนพื้นที่ตำบลครบุรี ไปรวมขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ[2] พร้อมยกขึ้นเป็นอำเภอและตั้งชื่ออำเภอใหม่ตามตำบลที่ได้รับโอนมา เป็น อำเภอครบุรี[3] ตำบลสระตะเคียนจึงเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอครบุรี
ปี พ.ศ. 2519 ตำบลสระตะเคียน มีพื้นที่ 7 หมู่บ้านใหญ่ ได้แก่ บ้านสระตะเคียน บ้านกุดโบสถ์ บ้านสระประทีป บ้านโคกเตาเหล็ก บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านสุขไพบูลย์ บ้านดอนแขวน และอีก 25 หมู่บ้านย่อย ขนาดพื้นที่ถึง 1,200.2 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง จึงขอแยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่อ กิ่งอำเภอเสิงสาง[4] โดยชื่อ "เสิงสาง" หมายความว่า "ใกล้รุ่ง" หรือ รุ่งอรุณ เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวอีสาน ท้าวปาจิตเจ้าเมืองกัมพูชา ได้ออกติดตามหานางอรพิมพ์ที่เมืองพิมาย เมื่อได้พบกันแล้วจึงพากันเดินทางกลับ แต่มีเหตุต้องพลัดหลงกันและได้มาพบกันอีกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งตอนพระอาทิตย์กำลังจะขึ้นจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านเสิงสาง"
ปี พ.ศ. 2520 ตำบลสระตะเคียนมีพื้นที่การปกครองเพียงตำบลเดียวมีพื้นที่มากถึง 36 หมู่บ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจตรายากลำบาก จึงแยกหมู่ที่ 4 บ้านเสิงสางรวมกับ 10 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลเสิงสาง และแยกหมู่ที่ 8 บ้านโนนสมบูรณ์ รวมกับ 8 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลโนนสมบูรณ์ และแยกหมู่ที่ 2 บ้านกุดโบสถ์รวมกับ 7 หมู่บ้านของตำบลสระตะเคียน ตั้งเป็น ตำบลกุดโบสถ์[5] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 ทางราชการได้ 4 ตำบล 52 หมู่บ้านในเขตกิ่งอำเภอเสิงสาง เป็น อำเภอเสิงสาง[6] ออกเป็นเอกเทศจากอำเภอครบุรี โดยมีนายอำเภอคนแรกคือ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
หมู่บ้านโนนสมบูรณ์และหมู่บ้านเสิงสาง มีประชากรและบ้านเรือนจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2525 จึงตั้งชุมชนบ้านโนนสมบูรณ์ เป็น สุขาภิบาลโนนสมบูรณ์[7] และตั้งชุมชนบ้านเสิงสาง เป็น สุขาภิบาลเสิงสาง[8] และจัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล โดยในปี พ.ศ. 2528 ได้แยกหมู่ที่ 5 บ้านสุขไพบูลย์ รวมกับอีก 6 หมู่บ้านในตำบลเสิงสาง ตั้งเป็น ตำบลสุขไพบูลย์[9] และปี พ.ศ. 2538 ได้แยกหมู่ที่ 20 บ้านราษฎร์บำรุง รวมกับอีก 7 หมู่บ้านในตำบลโนนสมบูรณ์ ตั้งเป็น ตำบลบ้านราษฎร์[10] เป็นตำบลลำดับที่ 6 ของทางอำเภอจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเสิงสางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 87 หมู่บ้าน
1. | เสิงสาง | (Soeng Sang) | 17 หมู่บ้าน | |||
2. | สระตะเคียน | (Sa Takhian) | 15 หมู่บ้าน | |||
3. | โนนสมบูรณ์ | (Non Sombun) | 14 หมู่บ้าน | |||
4. | กุดโบสถ์ | (Kut Bot) | 18 หมู่บ้าน | |||
5. | สุขไพบูลย์ | (Suk Phaibun) | 13 หมู่บ้าน | |||
6. | บ้านราษฎร์ | (Ban Rat) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเสิงสางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนสมบูรณ์
- เทศบาลตำบลเสิงสาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเสิงสาง
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสิงสาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสิงสาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสิงสาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสระตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระตะเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโนนสมบูรณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสุขไพบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุขไพบูลย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านราษฎร์ทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้ำเขียว และป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และ ป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (210 ง): (ฉบับพิเศษ) 20-23. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2524
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช ขึ้นอำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3380. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแซะ ขึ้นอำเภอกระโทก จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอครบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3365. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสิงสาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (72 ง): 1098. วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "ปประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (93 ง): 4121–4130. วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2520
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): 19–23. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (35 ง): 781–782. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (35 ง): 783–784. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (146 ง): 3306–3321. วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง อำเภอหนองบุนนาก และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 68–90. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538