อำเภอยางตลาด
ยางตลาด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น
อำเภอยางตลาด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Yang Talat |
คำขวัญ: เร่งพันธุ์ดีดงระแนง แหล่งรวมการเกษตร เขตกุ้งก้ามกรามรสเลิศ ถิ่นกำเนิดวงโปงลาง เส้นทางสู่อินโดจีน แผ่นดินแห่งนักปราชญ์ | |
![]() แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอยางตลาด | |
พิกัด: 16°24′8″N 103°22′23″E / 16.40222°N 103.37306°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 621.084 ตร.กม. (239.802 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 127,523 คน |
• ความหนาแน่น | 205.32 คน/ตร.กม. (531.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 46120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4607 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอยางตลาด ถนนถีนานนท์ ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 46120 |
![]() |
ประวัติและที่มาของชื่อ
แก้อำเภอยางตลาดเดิมชื่อ อำเภอปจิมกาฬสินธุ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2451 หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ และแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน อำเภอปจิมกาฬสินธุ์ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านดงเค็ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนสมบูรณ์ ลักษณะอาคารที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง
ต่อมาทางราชการเห็นว่า การตั้งชื่ออำเภอโดยใช้ทิศทางเป็นหลักจะทำให้ประชาชนเข้าใจยาก จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมกาฬสินธุ์ ("กาฬสินธุ์ตะวันตก") เป็น อำเภอภูแล่นช้าง ใน พ.ศ. 2456[1] ทั้งนี้เพื่อรักษาชื่อเมืองภูแล่นช้างไว้ไม่ให้สูญหายไป หลังจากนั้นทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอภูแล่นช้างจากบ้านดงเค็งมาตั้งที่บ้านยางซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหนองหมาจอก ใน พ.ศ. 2460 จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอจาก "ภูแล่นช้าง" เป็น อำเภอยางตลาด[2] ตามชื่อบ้านยางซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญมาจนถึงปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล[3]ที่เริ่มมีผลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ประจวบพอเหมาะพอดีกับเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนชื่อจาก อำเภอภูแล่นช้าง เป็น อำเภอยางตลาด เพื่อรักษาชื่อ "ภูแล่นช้าง" เดิมมิให้สูญหายไปตามกาลเวลา ดังนั้นคนในท้องถิ่นจึงตั้งนามสกุลของตนโดยให้มีคำว่า "ภู" ขึ้นต้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอยางตลาดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอห้วยเม็กและอำเภอหนองกุงศรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอฆ้องชัย และอำเภอกันทรวิชัย (จังหวัดมหาสารคาม)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเชียงยืน (จังหวัดมหาสารคาม)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอยางตลาดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 208 หมู่บ้าน
1. | ยางตลาด | (Yang Talat) | 20 หมู่บ้าน | 9. | ดอนสมบูรณ์ | (Don Sombun) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | หัวงัว | (Hua Ngua) | 13 หมู่บ้าน | 10. | นาเชือก | (Na Chueak) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | อุ่มเม่า | (Um Mao) | 12 หมู่บ้าน | 11. | คลองขาม | (Khlong Kham) | 19 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บัวบาน | (Bua Ban) | 23 หมู่บ้าน | 12. | เขาพระนอน | (Khao Phra Non) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | เว่อ | (Woe) | 11 หมู่บ้าน | 13. | นาดี | (Na Di) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | อิตื้อ | (Itue) | 12 หมู่บ้าน | 14. | โนนสูง | (Non Sung) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||
7. | หัวนาคำ | (Hua Na Kham) | 19 หมู่บ้าน | 15. | หนองตอกแป้น | (Nong Tok Paen) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
8. | หนองอิเฒ่า | (Nong I Thao) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอยางตลาดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโคกศรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอุ่มเม่าและตำบลดอนสมบูรณ์
- เทศบาลตำบลยางตลาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยางตลาด
- เทศบาลตำบลบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวบานทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลอิตื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอิตื้อทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหัวนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวนาคำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขาพระนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระนอนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลอุ่มเม่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุ่มเม่า (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกศรี)
- เทศบาลตำบลโนนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสูงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางตลาด (นอกเขตเทศบาลตำบลยางตลาด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวงัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเว่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเว่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอิเฒ่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนสมบูรณ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกศรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเชือกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตอกแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตอกแป้นทั้งตำบล
เทศกาลและประเพณีประจำปี
แก้สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- ทุ่งทานตะวันสีทองหนองทึง
- วัดสว่างหัวนาคำ
- หนองหญ้าม้า (ทะเลบัวแดง)
- อ่างเก็บน้ำบึงอร่าม
- วัดอร่ามมงคล
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลัก
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนศรีจันทร์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 (ถนนถีนานนท์)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2039
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2116
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2416
- ถนนวงแหวนรอบเมืองอำเภอยางตลาด (โครงการเร็วๆนี้)[6]
ถนนสายรอง
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2156
- ทางหลวงชนบท กส.2015
- ทางหลวงชนบท กส.2045
- ทางหลวงชนบท กส.2049
- ทางหลวงชนบท กส.2058
- ทางหลวงชนบท กส.2072
- ทางหลวงชนบท กส.3037
- ทางหลวงชนบท กส.3043
- ทางหลวงชนบท กส.4031
- ทางหลวงชนบท กส.6075
รถโดยสารประจำทาง
แก้รถโดยสารจากกรุงเทพมหานคร (หมวด 2)
แก้รถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ - กาฬสินธุ์ /กรุงเทพฯ - นครพนม / กรุงเทพฯ - สกลนคร - เรณูนคร / กรุงเทพฯ - สหัสขันธ์ - บ้านแพง ของบริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง โดยใช้รถปรับอากาศชั้น 1 ,รถนอนปรับอากาศชั้น 1 พิเศษ 24 ที่นั่ง ,รถปรับอากาศชั้น 1 พิเศษ 32 ที่นั่ง และรถปรับอากาศชั้น 2 มีทั้งแบบชั้นเดียวและสองชั้น
สำหรับรถของนครชัยแอร์จะมีศูนย์บริการที่บริเวณร้านนานาพาณิช[7][8] ใกล้กับสี่แยกยางตลาด สามารถซื้อตั๋ว ขึ้นรถ ขนส่งสินค้า ได้ในที่เดียวโดยไม่ต้องไปที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์
ทางน้ำ
แก้- ลำน้ำปาว (เส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอยางตลาดและอำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- คลองชลประทาน (คลอง LMC)
- ห้วยปลาหลด (เส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม)
- ห้วยกุดสังข์
- ห้วยเขายอด
สถานที่สำคัญ
แก้สถานที่ราชการ
แก้- ที่ว่าการอำเภอยางตลาด
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
- เทศบาลตำบลยางตลาด
- ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
- ศูนย์การศึกษาพิเศษอำเภอยางตลาด
- สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยางตลาด (กศน. ยางตลาด)
- ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี กศน. ยางตลาด
- สำนักงานเกษตรอำเภอยางตลาด
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยางตลาด
- สหกรณ์การเกษตรอำเภอยางตลาด
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอยางตลาด
- ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอยางตลาด
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอยางตลาด
- การประปาส่วนภูมิภาคสาขากาฬสินธุ์ หน่วยบริการยางตลาด
- สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด
- สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
- สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
- สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์
- หมวดการทางยางตลาด แขวงการทางกาฬสินธุ์
- สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้าธกส.กาฬสินธุ์ จำกัด (สกต.)
สถานพยาบาล
แก้- โรงพยาบาลยางตลาด
ศาสนสถาน
แก้- วัดอร่ามมงคล
- วัดสว่างหัวนาคำ
- วัดสามัคคีดงบ่อ
- วัดกลางโคกค้อ
- วัดดอนตาปู่
- วัดสว่างอุทัยดอนยูง
- วัดชุมทาง
- วัดป่าวิมุตติธรรมวนาราม
- วัดสว่างคงคา
สถานศึกษา
แก้การอาชีวศึกษา
แก้- วิทยาลัยเทคโนโลยียางตลาด
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาว
- วิทยาลัยเทคโนโลยีเพิ่มพูนบริหารธุรกิจกาฬสินธุ์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีณัชชวินทร์
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2
แก้- โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ)
- โรงเรียนผดุงราษฎร์วิทยา
- โรงเรียนโคกศรีวิทยายน
- โรงเรียนหัวนาคำจรูญศิลป์
- โรงเรียนดอนกลอยโนนชาด(พิลาศอุปถัมภ์)
โรงเรียนหัวงัววิทยาคาร
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 (สพม.24)
แก้- โรงเรียนเขาพระนอนวิทยาคม
- โรงเรียนโนนสูงพิทยาคม
- โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร (โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ)
- โรงเรียนวังมนวิทยาคาร
โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แก้- โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
แก้- โรงเรียนจรชนะศึกษา
- โรงเรียนธนพรวิทยา
- โรงเรียนเพิ่มพูนวิทยาคมกาฬสินธุ์
- โรงเรียนอนุบาลลำปาว
- โรงเรียนอนุบาลสว่างวิทย์
โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้- โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร
- โรงเรียนนาเชือกวิทยาคม
- โรงเรียนลำปาววิทยาคม
- โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1619–1620. 19 ตุลาคม 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ นามสกุล
- ↑ https://www.facebook.com/HuanakumSunflower
- ↑ https://mgronline.com/local/detail/9590000128540
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/049/T_0087.PDF
- ↑ https://goo.gl/maps/5WtGuEBw1Ggvpy6G6
- ↑ https://goo.gl/maps/XJes2dTB1bQD9ERXA