อำเภอราชสาส์น
ราชสาส์น เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออก อยู่ทางตอนบนของจังหวัด
อำเภอราชสาส์น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ratchasan |
คำขวัญ: อำเภอราชสาส์น ตำนานเมืองเก่า ใบโพธิ์สีขาว ข้าวหอมมะลิ | |
![]() แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น | |
พิกัด: 13°46′56″N 101°16′54″E / 13.78222°N 101.28167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 134.9 ตร.กม. (52.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 12,696 คน |
• ความหนาแน่น | 94.11 คน/ตร.กม. (243.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2407 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอราชสาส์น เลขที่ 87 หมู่ที่ 2 ถนนราชสาส์น-พนมสารคาม ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขต แก้ไข
อำเภอราชสาส์นตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนมสารคาม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแปลงยาวและอำเภอบางคล้า
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางคล้า
ที่มาของชื่ออำเภอ แก้ไข
ตามนิทานพื้นบ้านเรื่องพระรถเมรีเล่าว่า นางยักษ์แม่ของนางเมรีได้ฝากสารไปกับพระรถเสนไปให้นางเมรีโดยห้ามเปิดสารระหว่างทาง ใจความของสารนั้นคือ ถ้าถึงกลางวันให้กินตอนกลางวัน ถ้าถึงตอนกลางคืนให้กินตอนกลางคืน (ให้บริวารของพวกยักษ์กินพระรถเสนเมื่อไปถึง) เมื่อถึงตำแหน่งที่เป็นอำเภอราชสาส์นในปัจจุบัน พระรถเสนได้พักอยู่กับฤๅษีซึ่งเป็นอาจารย์ของตน พระฤๅษีก็แอบเปิดสารดูจึงแปลงสารจากคำว่า "กิน" เป็นคำว่า "รับ" บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "ราชสาส์น" ซึ่งแปลว่าจดหมายนั่นเอง
ประวัติ แก้ไข
อำเภอราชสาส์นเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมสารคาม และได้แยกออกมาเป็น กิ่งอำเภอราชสาส์น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน[1] และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอราชสาส์น ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตการปกครอง แก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาค แก้ไข
อำเภอราชสาส์นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางคา | (Bang Kha) | 6 หมู่บ้าน | |||
2. | เมืองใหม่ | (Mueang Mai) | 9 หมู่บ้าน | |||
3. | ดงน้อย | (Dong Noi) | 16 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไข
ท้องที่อำเภอราชสาส์นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองใหม่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงน้อยทั้งตำบล
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13 ง): 773. 22 กุมภาพันธ์ 2520. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย ... และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–35. 3 มิถุนายน 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.