อำเภอทุ่งตะโก
ทุ่งตะโก เป็น 1 ใน 8 อำเภอของจังหวัดชุมพร และเป็น 1 ใน 6 อำเภอของจังหวัดที่มีเส้นทางรถไฟสายใต้ตัดผ่านและนับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชผลทางการเกษตรและผลิตผลจากการประมง
อำเภอทุ่งตะโก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Thung Tako |
คำขวัญ: ทิวทัศน์งาม น้ำตกสวย รวยผลไม้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมพระธาตุมุจลินทร์ ถิ่นแห่งอารยธรรมโบราณ | |
![]() แผนที่จังหวัดชุมพร เน้นอำเภอทุ่งตะโก | |
พิกัด: 10°6′36″N 99°5′0″E / 10.11000°N 99.08333°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ชุมพร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 335.0 ตร.กม. (129.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,556 คน |
• ความหนาแน่น | 76.29 คน/ตร.กม. (197.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 86220 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8608 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอทุ่งตะโก ถนนชุมพร-พัทลุง ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 86220 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอทุ่งตะโก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสวี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวทุ่งตะโก (ส่วนหนึ่งของอ่าวไทย)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหลังสวน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหลังสวนและอำเภอสวี
ประวัติ
แก้ได้ปรากฏหลักฐานการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ว่ามีการสร้างเมืองสิบสองนักษัตรเป็นเมืองบริวารซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้คือเมืองชุมพร ซึ่งมีศักดิ์เป็นเมืองตรีและมีเมืองขึ้นเล็กๆอีก 7 เมืองด้วยกัน คือ เมืองปะทิว เมืองท่าแซะ เมืองเมลิวัน เมืองกระ เมืองระนอง เมืองหลังสวน และ"เมืองตะโก" ในภายหลังได้รวมเมืองกำเนิดนพคุณ เข้ามาด้วย
เมืองตะโกจึงได้มีชื่อในประวัติศาสตร์ตั้งแต่บัดนั้น และได้ถูกจัดให้ เป็นหัวเมืองจัตวาชั้นเอก และที่มีความสำคัญด้วยที่เป็นทางผ่านของกองทัพที่ยกมาจากเมืองหลวง ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏความตอนหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรีว่าเมื่อปีกุน เอกศก ล.ส.1137 (พ.ศ. 2312) พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าให้พระยาจักรียกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช มาถึงเมืองชุมพร นายมั่น ชาวเมืองชุมพรให้หาสมัครพรรคพวกจากเมืองชุมพรและเมืองตะโกเข้าเป็นกองอาสาศึก และฝึกทหารที่เมืองตะโกบริเวณใกล้วัดธรรมถาวรในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่า "ดอนหัดม้า" มีตาขุนเพชรเป็นหัวหน้า และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ.1147 (พ.ศ. 2328) พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองไทยทาง เมืองระนอง เมืองกระ เมืองชุมพร เมืองตะโกและเมืองไชยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหานาท ยกทัพเรือขึ้นบกที่เมืองชุมพร เพื่อช่วยเหลือหัวเมืองปักใต้ โดยเดินทัพผ่านเมืองตะโก เมืองหลังสวน ไปสู้กันที่เมืองไชยา
เมืองตะโกถูกพม่าตีแตกและเผาทำลายจนสิ้นซากพร้อม ๆ กับเมืองชุมพร จึงเป็นเมืองที่ไร้ชื่อตลอดมา จากหลักฐานที่ปรากฏ คนสุดท้ายที่รักษาเมืองตะโกคือ "หมื่นรามราชรักษา" จนถึงปี พ.ศ. 2440 เมืองตะโก ได้ถูกลดฐานะลงมาเป็นตำบลขึ้นกับเมืองสวีตลอดมา[1]
ปี พ.ศ. 2518 นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ได้เสนอเรื่องต่อกระทรวงมหาดไทยท้องที่ด้านทิศใต้ของอำเภอสวี ได้แก่ ตำบลปากตะโก ตำบลตะโก และตำบลทุ่งตะไคร เป็นพื้นที่ห่างไกล สมควรจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ "ทุ่งตะโก"[2] ในสมัยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ยังคงให้สถานีตำรวจภูธรไว้ตามเดิมด้วยเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้น[3]
เขตคลองตะโกฝั่งตะวันตกของตำบลตะโกมีพื้นที่กว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2524 จึงแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านคลองโชน, หมู่ 4 บ้านเขาหมาแหงน, หมู่ 5 บ้านเขาขวาง, หมู่ 6 บ้านเขาวงกรด และหมู่ 11 บ้านวังปลา รวม 5 หมู่บ้านตั้งเป็นตำบลใหม่ในชื่อ ตำบลช่องไม้แก้ว[4] และกิ่งอำเภอทุ่งตะโกได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2534[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอทุ่งตะโกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 35 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ปากตะโก | Pak Tako | 5
|
4,063
|
|
2. | ทุ่งตะไคร | Thung Takhrai | 8
|
6,017
| |
3. | ตะโก | Tako | 14
|
9,334
| |
4. | ช่องไม้แก้ว | Chong Mai Kaeo | 8
|
6,196
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอทุ่งตะโกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติศาสตร์เมืองตะโก (อำเภอทุ่งตะโก)". ที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งตะโก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (106 ง): (ฉบับพิเศษ) 16. วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอทุ่งตะโก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (150 ง): 3705. วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (59 ง): 1102–1106. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ก): (ฉบับพิเศษ) 29-32. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากตะโก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (139 ง): 3472–3473. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547