อำเภอพล

อำเภอในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

พล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากอำเภอเมืองขอนแก่นไปทิศใต้ประมาณ 75.65 กิโลเมตร โดยถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีถนนมิตรภาพและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน มีศูนย์กลางอำเภอเป็นที่ตั้งของเทศบาลเมืองเมืองพล โดยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจเติบโตมากในจังหวัดขอนแก่น ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา ศาลจังหวัด สถานพยาบาลและสาธารณสุข และห้างสรรพสินค้า โดยเป็น 1 ใน 2 เทศบาลเมืองระดับอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ก่อตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 อีกหนึ่งแห่ง คือ เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเทศบาลเมืองเมืองพล มีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 11,189 คน[1] ทำให้เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นที่สุดในจังหวัดขอนแก่น คิดเป็น 3,729.67 คนต่อตารางกิโลเมตร

อำเภอพล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phon
คำขวัญ: 
เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่ อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล น้ำใจมากล้น ชนชาตินักรบ ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งพึงพืด
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอพล
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอพล
พิกัด: 15°48′57″N 102°35′55″E / 15.81583°N 102.59861°E / 15.81583; 102.59861
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด420.50 ตร.กม. (162.36 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด85,593 คน
 • ความหนาแน่น203.55 คน/ตร.กม. (527.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40120
รหัสภูมิศาสตร์4012
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพล ถนนพลรัตน์ ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก)และเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบพระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) ณ กรุงศรีสุตนาคนหุต (เวียงจันทน์)ที่คิดแข็งเมืองและเอาใจออกหากจากกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยาทั้งสองเดินทัพผ่านเมืองนครราชสีมามาถึงเนินดินแห่งหนึ่งอยู่ติดกับฝั่งบึงละเลิงหวายอันเป็นที่ตั้งหมู่บ้านเมืองพลในปัจจุบัน เจ้าพระยาทั้งสองได้หยุดพักทัพที่นี่ เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมกว่าที่อื่น มีแหล่งน้ำปูปลาอาหารสมบูรณ์ จึงได้สร้างค่ายประตูหอรบ ตลอดจนขุดคูคันดินน้ำล้อมรอบตามหลักยุทธศาสตร์ในสมัยนั้น เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายศัตรูในเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร และถือโอกาสรวมพลฝึกทหารเพิ่มเติมจากราษฎรที่เกณฑ์มาจากเมืองพุทไธสง (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เมืองนอก (อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา) และเมืองชนบท (อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ปัจจุบันคันดูดินและร่องน้ำยังคงเหลือปรากฏอยู่

ครั้นต่อมาเมื่อรวบรวมกำลังทหารได้มากพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาทั้งสองจึงได้เดินทัพต่อไปยังเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์ จนได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) สมพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทุกประการและได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่ กรุงธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐ์ไว้ที่วัดอรุณฯ ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาวไปในรัชกาลที่ 1

หลังจากนั้นค่ายพักพลดังกล่าวได้ถูกทอดทิ้งให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และเถาวัลย์นานาพันธุ์ แต่เนื่องจากที่นี่มีทำเลที่เหมาะสมเพราะติดกับบึงละเลิงหวาย ต่อมาจึงได้มีผู้คนอพยพไปหักร้างถางป่าปลูกบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้ชื่อว่า บ้านเมืองพล ขึ้นต่อเมืองชนบท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บ้านเมืองพลได้ถูกยกฐานะเป็น ตำบลเมืองพล ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอชนบท 45 กิโลเมตร

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า การคมนาคมและการติดต่อราชการของตำบลเมืองพลกับอำเภอชนบทไม่สะดวก เพราะต้องอาศัยการเดินเท้า เกวียน และม้าเป็นพาหนะ จึงได้แบ่งเขตการปกครองของอำเภอชนบทโดยยกฐานะตำบลเมืองพลเป็นอำเภอใหม่ให้ชื่อว่า อำเภอพล โดยมีขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) เป็นนายอำเภอคนแรก

  • วันที่ 12 เมษายน 2457 แยกพื้นที่ตำบลเมืองพล อำเภอเมืองชนบท มาตั้งเป็น อำเภอเมืองพล[2]
  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองพล ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเมืองพล[3]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครราชสีมา กับจังหวัดขอนแก่น โดยโอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลบัวใหญ่ กับพื้นที่หมู่ 14,26,27,29,30,31,32,34,41,42,43 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดจอก อำเภอบัวใหญ่ มาขึ้นกับอำเภอพล และโอนพื้นที่หมู่ 3,5,6,7,15,16,19,20,21,22,23,24,25,26,27,28,30,31,33,35,41 43,44,46 (ในขณะนั้น) ของตำบลโนนเพ็ด อำเภอบัวใหญ่ มาขึ้นกับอำเภอพล[4]
  • วันที่ 2 มกราคม 2481 ยุบตำบลเปือยน้อย อำเภอพล และโอนหมู่บ้าน 1-3, 5, 8-17, 20-22 ของตำบลเปือยน้อย อำเภอพล ที่ถูกยุบ ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท และหมู่ที่ 4,6,7,18,19 ที่เหลือ ให้ไปขึ้นกับตำบลหนองเม็ก อำเภอพล[5]
  • วันที่ 18 เมษายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 2 บ้านกอก, หมู่ 7 บ้านโคกล่าม, หมู่ 19 บ้านหนองแปน, หมู่ 25 บ้านหนองแวง (ในขณะนั้น) ของตำบลตะกั่วป่า ไปขึ้นกับตำบลหนองมะเขือ[6]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอพล (1,2,3,4)[7]
    • (1) ตั้งตำบลโนนทอง แยกออกจากตำบลคอนฉิม และตำบลแวงน้อย
    • (2) ตั้งตำบลโคกสง่า แยกออกจากตำบลแวงน้อย
    • (3) ตั้งตำบลคึมชาด แยกออกจากตำบลหนองเม็ก
    • (4) ตั้งตำบลเพ็กใหญ่ แยกออกจากตำบลเมืองพล
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลเก่างิ้ว แยกออกจากตำบลเพ็กใหญ่ ตั้งตำบลละหานนา แยกออกจากตำบลแวงน้อย และตำบลโคกสง่า[8]
  • วันที่ 9 มกราคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลตะกั่วป่า ตำบลหนองเม็ก ตำบลโนนธาตุ และตำบลคึมชาด อำเภอพล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองสองห้อง ขึ้นกับอำเภอพล[9]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2505 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลเก่างิ้ว ไปตั้งเป็นหมู่ 17 ของตำบลเพ็กใหญ่[10]
  • วันที่ 23 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองสองห้อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลตะกั่วป่า[11]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองสองห้อง อำเภอพล เป็น อำเภอหนองสองห้อง[12]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2506 ตั้งตำบลหนองแวงโสกพระ แยกออกจากตำบลหนองมะเขือ ตั้งตำบลหนองสองห้อง แยกออกจากตำบลตะกั่วป่า ตำบลคึมชาด และตำบลโนนธาตุ[13]
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2508 ตั้งตำบลท่าวัด แยกออกจากตำบลละหานนา[14]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2511 ตั้งตำบลก้านเหลือง แยกออกจากตำบลแวงน้อย ตั้งตำบลใหม่นาเพียง แยกออกจากตำบลคอนฉิม[15]
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลท่านางแนว แยกออกจากตำบลโนนทอง ตั้งตำบลทางขวาง แยกออกจากตำบลโคกสง่า ตั้งตำบลโจดหนองแก แยกออกจากตำบลเมืองพล[16]
  • วันที่ 4 มิถุนายน 2514 แยกพื้นที่ตำบลแวงน้อย ตำบลละหานนา ตำบลท่าวัด ตำบลก้านเหลือง ตำบลท่านางแนว และตำบลทางขวาง อำเภอพล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแวงน้อย ขึ้นกับอำเภอพล[17]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลแวงน้อย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแวงน้อย[18]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแวงน้อย อำเภอพล เป็น อำเภอแวงน้อย[19]
  • วันที่ 18 มกราคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลคอนฉิม ตำบลโนนทอง และตำบลใหม่นาเพียง อำเภอพล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแวงใหญ่ ขึ้นกับอำเภอพล[20]
  • วันที่ 25 กันยายน 2522 ตั้งตำบลหนองแวงนางเบ้า แยกออกจากตำบลเก่างิ้ว ตั้งตำบลแวงใหญ่ แยกออกจากตำบลคอนฉิม[21]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลลอมคอม แยกออกจากตำบลเพ็กใหญ่[22]
  • วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลโนนข่า แยกออกจากตำบลหนองมะเขือ[23]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลโสกนกเต็น แยกออกจากตำบลเมืองพล[24]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2532 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแวงใหญ่ อำเภอพล เป็น อำเภอแวงใหญ่[25]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลหัวทุ่ง แยกออกจากตำบลเก่างิ้ว[26]
  • วันที่ 9 เมษายน 2535 จัดตั้งศาลจังหวัดพล ในท้องที่อำเภอพล[27]
  • วันที่ 24 กันยายน 2538 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลเมืองพล เป็น เทศบาลเมืองเมืองพล[28]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอพลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การเมืองการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอพลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 132 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอพลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองเมืองพล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองพล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองพล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองเมืองพล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโจดหนองแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโจดหนองแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเก่างิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองมะเขือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโสกพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงโสกพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเพ็กใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเพ็กใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสง่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสง่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงนางเบ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงนางเบ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลอมคอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลอมคอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนข่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสกนกเต็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสกนกเต็นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวทุ่งทั้งตำบล

รายนามนายอำเภอพล แก้

  1. ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) พ.ศ. 2457 – 2463
  2. นายถวิล เจียรมานพ พ.ศ. 2463 – 2465
  3. พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) พ.ศ. 2465 – 2471
  4. ขุนพิศาลคีรี (ซุน เต็งกี่) พ.ศ. 2471 – 2472
  5. พระอุดมสารเขต (แสง ภาสะฐิติ) พ.ศ. 2472 – 2476
  6. ขุนจิตรประสาสตรา (ทองอินทร์ ลิตารมย์) พ.ศ. 2476–2478
  7. ร.ต.สุวรรณ โรจนวิภาค พ.ศ. 2478 – 2479
  8. นายหา บุญมาชัย พ.ศ. 2479 – 2480
  9. ขุนเสลภูมิพิพัฒน์ (เบี้ยว งามจิตร) พ.ศ. 2480 – 2483
  10. ขุนเดชสุภารักษ์ (โกศล เดชสุภา) พ.ศ. 2482 – 2489
  11. นายขจิต ไชยาคำ พ.ศ. 2489 – 2490
  12. ขุนอำนวยมงคลราษฎร์ พ.ศ. 2490 – 2491
  13. นายเวียง สาครสินธ์ พ.ศ. 2491 – 2492
  14. นายยอด อ่อนโสภา พ.ศ. 2492 – 2493
  15. นายเวช สุริโย พ.ศ. 2493 – 2496
  16. ร.ต.อ.แถว พรหมประกาย ณ นครพนม พ.ศ. 2496 – 2499
  17. นายเพิ่ม ดวงมาลา พ.ศ. 2499 – 2512
  18. นายสงวน รักษ์สุจริต พ.ศ. 2512 – 2514
  19. นายพุธ ศิริพงษ์ พ.ศ. 2514 – 2516
  20. นายบุญนาค เจริญศรี พ.ศ. 2516 – 2520
  21. ร.ต.วิรุฬ พรหมายน พ.ศ. 2520 – 2522
  22. นายแม้นเทพ รัตนโกมสุมภ์ พ.ศ. 2522 – 2522
  23. นายชาญยุทธ์ ประเสริฐ์ศรี พ.ศ. 2522 – 2526
  24. พ.ต.วิโรจน์ โรจนหทัย พ.ศ. 2526 – 2527
  25. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 8 ต.ค. 2527 - 25 พ.ย. 2527
  26. นายสมหมาย ฉัตรทอง 5 ม.ค. 2528 – 4 ต.ค. 2529
  27. นายสมเกียรติ เกียรติศักดิ์ 5 ต.ค. 2529 – 16 ต.ค. 2531
  28. นายสุวิช อุยยานนท์ 17 ต.ค. 2531 – 30 ก.ย. 2533
  29. นายปรีชา แพทย์ธเนศวร 3 ธ.ค. 2533 – 31 ต.ค. 2538
  30. ดร.สุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล 1 พ.ย. 2538 – 14 มิ.ย. 2539
  31. นายณรงค์ หรือโอภาส 14 มิ.ย. 2539 – 9 พ.ย. 2540
  32. นายนิมิต จันทน์วิมล 10 พ.ย. 2540 – 21 พ.ย. 2542
  33. นายชวลิต ธูปตาก้อง 22 พ.ย. 2542 – 15 ธ.ค. 2545
  34. นายสมชาย มีสิงห์ 16 ธ.ค. 2545 – 30 ต.ค. 2547
  35. นายสุทธินันท์ บุญมี 1 พ.ย. 2547 – 25 ธ.ค. 2548
  36. นายยิ่งยศ ธนะจันทร์ 26 ธ.ค. 2548 – 23 ต.ค. 2550
  37. นายวิศิษฐ์ ทองสมบูรณ์ 24 ต.ค. 2550 – 30 ก.ย. 2553
  38. นายเสน่ห์ นนทะโชติ 2 พ.ค. 2554 - 13 ก.พ. 2555
  39. นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช 8 พ.ค. 2555 - 25 ม.ค. 2558
  40. นายสิทธิ พิพัฒน์ชัยกร 26 ม.ค. 2558 - 18 ต.ค. 2558
  41. นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ 9 พ.ย. 2558 - 3 เม.ย. 2563
  42. นายเพชร สุพพัตกุล 7 เม.ย. 2563 - ปัจจุบัน

การศึกษา แก้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • โนนแท่นพระ
  • บึงทุ่งพึงพืด
  • บึงละเลิงหวาย
  • ภูดิน บ้านหันใหญ่ ตำบลเมืองพล
  • โสกผีดิบ บ้านหนองบัว ตำบลโสกนกเต็น
  • วัดจันทรัตนาราม (พระธาตุเมืองพล)

อ้างอิง แก้

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเมืองพล ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบอำเภอและรวมเขตอำเภอ สำหรับการปกครองในมณฑลอุดร
  3. [2]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลเมืองพล จังหวัดขอนแก่น พุทธศักราช ๒๔๘๐
  4. [3] เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙
  5. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดขอนแก่น
  6. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  7. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดขอนแก่น
  8. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จัจังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
  9. [8] เก็บถาวร 2012-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  10. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  11. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองสองห้อง กิ่งอำเภอหนองสองห้อง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  12. [11] เก็บถาวร 2009-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดุง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖
  13. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชุมแพ อำเภอพล และกิ่งอำเภอหนองสองห้อง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  14. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพลและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
  15. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพล อำเภอมัญจาคีรี อำเภอชนบท อำเภอหนองเรือ และอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
  16. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพลและอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  17. [16] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
  18. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแวงน้อย กิ่งอำเภอแวงน้อย อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  19. [18] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘
  20. [19] เก็บถาวร 2012-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแวงใหญ่
  21. [20]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านฝาง อำเภอชุมแพ อำเภอพล อำเภอหนองสองห้อง กิ่งอำเภอแวงใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  22. [21]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชุมแพ กิ่งอำเภอภูผาม่วน และอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  23. [22]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  24. [23]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองสองห้อง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอภูเวียง อำเภอพระยืน อำเภอชนบท และอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  25. [24] เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงใหญ่ อำเภอหนองบุนนาก อำเภอโพนทราย อำเภอท่าหลวง และอำเภอศรีรัตนะ พ.ศ. ๒๕๓๒
  26. [25]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกระนวน อำเภอพล และอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
  27. [26]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๓๕
  28. [27]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๓๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้