อำเภอบ้านโฮ่ง
บ้านโฮ่ง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร แยกออกเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2460 และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2499
อำเภอบ้านโฮ่ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Hong |
คำขวัญ: ถ้ำหลวงงดงาม ลือนามหอมกระเทียม ลำไยรสเยี่ยม พระเจ้าสะเลียมหวานเลิศล้ำ น้ำตกงามแท้ แค่หลวงตางาม บูชาพระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพระบาทสามยอด | |
![]() แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอบ้านโฮ่ง | |
พิกัด: 18°19′52″N 98°49′8″E / 18.33111°N 98.81889°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ลำพูน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 596.901 ตร.กม. (230.465 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2567) | |
• ทั้งหมด | 37,606 คน |
• ความหนาแน่น | 63.00 คน/ตร.กม. (163.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 51130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5103 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 51130 |
![]() |
ประวัติ
แก้อำเภอบ้านโฮ่ง แต่เดิมมาเป็นพื้นที่ป่าดงพงไพรเคยมีชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ยุคหริภุญชัย มีตำนานเล่าขานสืบกันมาเกี่ยวกับเมือง “เวียงหวาย” (ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดพระเจ้าสะเลียมหวานและพื้นที่ใกล้เคียง) ที่มีเจ้าพ่อพระยาจันทร์” (หรือปัจจุบันชาวบ้านนิยม เรียกตามสมัญญานามว่า เจ้าพ่อแปดเหลี่ยม) เป็นผู้ปกครองซึ่งเป็นเวียงหรือชุมชนร่วมสมัยกับขุนหลวงมะลังกะที่มีเวียงอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ(ตามตำนานเรื่อง นางแก้ว-เวียงหวาย) ในสมัยเจ้าผู้ครองนคร อำเภอบ้านโฮ่งก็เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ที่อยู่ในการปกครองดูแลของ“เมืองปากบ่อง” (ปัจจุบันคืออำเภอป่าซาง) ในช่วง พ.ศ.2450 มีหลักฐานว่าขุนโฮ่งหาญผจญซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุพรรณเป็นกำนันปกครองท้องที่ตำบลบ้านโฮ่ง 24 เมษายน 2460 ทางราชการยกตำบลบ้านโฮ่ง ตำบลเหล่ายาว ตำบลป่าพลูขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อ “กิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง” ขึ้นกับเมืองปากบ่อง โดยในช่วงนั้น จังหวัดลำพูน จะประกอบด้วย3 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอปากบ่อง อำเภอลี้ กิ่งอำเภอบ้านโฮ่ง และกิ่งอำเภอแม่ทา 25 พฤษภาคม 2499 กิ่งอำเภอบ้านโฮ่งได้รับยกฐานะเป็น “อำเภอบ้านโฮ่ง” มีนายสีห์ ปล่องทอง เป็นนายอำเภอคนแรก โดยที่ว่าการกิ่งอำเภอและ ที่ว่าอำเภอ สมัยแรกๆ ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนบ้านโฮ่งศีลาภรณ์(หมู่ 2 ตำบลบ้านโฮ่ง ในปัจจุบัน) ในช่วง 2499 – 2501 นายสีห์ ปล่องทอง นายอำเภอคนแรกได้ของบประมาณมาสร้าง ที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง ที่บ้านสันตับเต่า (ที่ตั้งอำเภอปัจจุบัน) เพราะเห็นว่า เป็นที่ป่ากว้างขวาง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ยังไม่สามารถย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ได้ เนื่องจากชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ได้คัดค้านไม่ยอมให้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ เพราะว่าที่ว่าการอำเภอที่สร้างใหม่ ยังไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้าใช้และห่างไกลชุมชน จนมาถึงสมัยเจ้าพงศ์สุวรรณ ณ ลำพูน นายอำเภอ บ้านโฮ่งคนที่ 8 (พ.ศ.2505 – 2509 ) ท่านได้พูดชี้แจงกับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่จนเกิดความเข้าใจ ตลอดจนได้ซ่อมแซมอาคารที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่เรียบร้อยแล้ว จึงย้ายจากอาคารเดิม หมู่ 2 ตำบลบ้านโฮ่ง มาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน จนกระทั่งบัดนี้คำว่า โฮ่ง หมายถึงที่ล่ม หรือลาดต่ำลงไปมีดิน อุดมสมบูรณ์ อำเภอบ้านโฮ่ง จึงเป็นแหล่ง ผลิตพืชผลการเกษตร ที่สำคัญของจังหวัดลำพูนมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบ้านโฮ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเวียงหนองล่อง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าซางและอำเภอแม่ทา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้ และอำเภอฮอด (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมทอง (จังหวัดเชียงใหม่)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบ้านโฮ่งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 62 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2559)[1] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2559)[1] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บ้านโฮ่ง | Ban Hong | 18 | 14,280 | 8,079 6,201 |
(ทต.บ้านโฮ่ง) (อบต.เวียงกานต์) |
2. | ป่าพลู | Pa Phlu | 14 | 7,589 | 7,589 | (อบต.ป่าพลู) |
3. | เหล่ายาว | Lao Yao | 13 | 8,871 | 8,871 | (อบต.เหล่ายาว) |
4. | ศรีเตี้ย | Si Tia | 9 | 5,721 | 5,721 | (ทต.ศรีเตี้ย) |
5. | หนองปลาสะวาย | Nong Pla Sawai | 8 | 3,993 | 3,993 | (อบต.หนองปลาสะวาย) |
รวม | 62 | 40,454 | 13,800 (เทศบาล) 26,654 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบ้านโฮ่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านโฮ่ง
- เทศบาลตำบลศรีเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีเตี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโฮ่ง (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าพลูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ายาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาสะวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาสะวายทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
- ถ้ำเอราวัณ
- ถ้ำหลวงผาเวียง
- วัดพระเจ้าตนหลวง
- หมู่บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ
- น้ำตกวังหลวง
- พระพุทธบาทสามยอด
- ดอยช้างหลวง(ป่าแป๋)
- สำนักสงฆ์ วัดดอยหลังถ้ำ
- อุโบสถวัดมหาสังฆารามบ้านโฮ่งหลวง และอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2559 จังหวัดลำพูน กรมการปกครอง