อำเภอเก้าเลี้ยว
เก้าเลี้ยว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์
อำเภอเก้าเลี้ยว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kao Liao |
ที่ว่าการอำเภอเก้าเลี้ยว | |
คำขวัญ: เก้าคุ้งคดเคี้ยว เก้าเลี้ยวเลื่องลือ มะลิ ฝรั่งขึ้นชื่อ นับถือหลวงพ่อเฮง | |
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอเก้าเลี้ยว | |
พิกัด: 15°51′1″N 100°4′43″E / 15.85028°N 100.07861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 256.7 ตร.กม. (99.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 34,186 คน |
• ความหนาแน่น | 133.18 คน/ตร.กม. (344.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 60230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6006 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเก้าเลี้ยว หมู่ที่ 1 ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 60230 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้อำเภอเก้าเลี้ยวมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาปี พ.ศ. 2512 ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 กันยายน 2512 โดยตั้งตำบลเก้าเลี้ยวเป็นกิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว การปกครองขึ้นกับอำเภอ บรรพตพิสัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2512 รวมตำบลมหาโพธิ ตำบลเขาดิน ตำบลหนองเต่า และตำบลหัวดงไว้ในปกครองด้วย โดยอาศัยห้องแถวในตลาดเก้าเลี้ยว เป็นที่ทำการชั่วคราว เป็นที่ทำการกิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2513 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอเก้าเลี้ยว เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2516 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 90 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2516 และประกอบพิธีเปิดป้ายที่ว่าการอำเภอ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2516
ที่มาของชื่อเก้าเลี้ยว สันนิษฐานกันสองประการคือ อาจเพี้ยนมาจากคำว่า "เก๋าเหลี่ยว" หรือ "เก๋าเลี่ยว" แปลว่า "ถึงแล้ว" เป็นคำที่พ่อค้าจีนในอดีตตะโกนบอกนายท้ายเรือว่ามาถึงแล้ว (มาถึงตลาดแล้ว ซึ่งก็คือตลาดเก้าเลี้ยวในปัจจุบัน) หรือ อาจมีที่มาจากความคดเคี้ยวของเส้นทางเดินเรือ โดยเส้นทางเดินเรือ (แม่น้ำปิง) ในสมัยก่อนนั้น เดินทางออกจากนครสวรรค์ไปได้ 9 โค้ง หรือ 9 เลี้ยว ก็จะมาถึงชุมชนแห่งนี้[1][2]
สภาพภูมิศาสตร์
แก้อำเภอเก้าเลี้ยวมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ตัดผ่าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเก้าเลี้ยวตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอโพทะเล (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชุมแสง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเมืองนครสวรรค์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบรรพตพิสัย
ประวัติ
แก้มีประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว แยกออกจากอำเภอบรรพตพิสัยเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2512 และยกฐานะเป็น อำเภอเก้าเลี้ยว ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2516
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเก้าเลี้ยวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | มหาโพธิ | (Maha Phot) | 5 หมู่บ้าน | |||||
2. | เก้าเลี้ยว | (Kao Liao) | 5 หมู่บ้าน | |||||
3. | หนองเต่า | (Nong Tao) | 10 หมู่บ้าน | |||||
4. | เขาดิน | (Khao Din) | 11 หมู่บ้าน | |||||
5. | หัวดง | (Hua Dong) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเก้าเลี้ยวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเก้าเลี้ยวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาโพธิทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเต่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดงทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
แก้- อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม (ทำนา ทำสวน ทำไร่)
- อาชีพเสริม ได้แก่
- ร้อยพวงมาลัยดอกมะลิ
- ทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
- ผลไม้แปรรูป
- ทอพรมเช็ดเท้า
- ทำน้ำยาเอนกประสงค์
- จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ประชากร
แก้- จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 34,665 คน
- จำนวนประชากรชาย รวม 17,049 คน
- จำนวนประชากรหญิง รวม 17,616 คน
- ความหนาแน่นของประชากร 135.04 คน/ตร.กม.
การคมนาคม
แก้- ทางบก รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 สถานีขนส่ง
- ทางน้ำ ท่าเรือขนส่งโดยสาร (ในสมัยก่อน) ท่าแพขนานยนต์ (ในสมัยก่อน)
การเกษตรและอุตสาหกรรม
แก้- ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ดอกมะลิ
- ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง
- โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทไทยอินเตอร์พัฒนา จำกัด หมู่ที่ 7 ตำบลหัวดง และบริษัทมาลีค้าไม้ จำกัด หมู่ที่ 4 ตำบลมหาโพธิ
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
แก้- น้ำฝรั่งสด หมู่ที่ 2 ตำบลเขาดิน โทร. 0 5623 4278
- ข้าวปลอดสารพิษ 118 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวดง โทร. 089268 2496
- ซาลาเปานมสด 282/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเก้าเลี้ยว โทร. 0 5631 9023
- มะขามอบแห้ง/แช่อิ่ม หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
- มะม่วงแช่อิ่ม หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
- กล้วยตาก หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
- ผลิตภัณฑ์จากแหวนรองนอต 252/4 หมู่ที่ 5 ตำบลเก้าเลี้ยว โทร. 0 5631 9604, 0 5052 9023
- ดอกไม้จันทน์ หมู่ 3 ตำบลหัวดง โทร.0 5629 9410
สถานศึกษา
แก้โรงเรียนประถมศึกษา
- โรงเรียนชุมชนวัดมหาโพธิเหนือ
- โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว
- โรงเรียนบ้านแหลมยาง
- โรงเรียนบ้านหนองหัวเรือ
- โรงเรียนบ้านยางใหญ่
- โรงเรียนบ้านห้วยรั้ว (เสนาณรงค์อุปถัมภ์)
- โรงเรียนวัดหนองเต่า
- โรงเรียนวัดหนองแพงพวย
- โรงเรียนบ้านทุ่งตาทั่ง (ศิริราษฎร์บำรุง)
- โรงเรียนศึกษาศาสตร์
- โรงเรียนชุมชนวัดเขาดินเหนือ
- โรงเรียนโอสถสภาอุปถัมภ์
- โรงเรียนวัดมรรครังสฤษดิ์
- โรงเรียนวัดดงเมือง
- โรงเรียนบ้านคลองคล้า
- โรงเรียนสังข์บุญธรรมราษฎร์นุสรณ์
- โรงเรียนวัดหาดเสลา (ไพศาลศิริราษฎร์อุปถัมภ์)
- โรงเรียนวัดหัวดงเหนือ (บรรพตานุสรณ์)
- โรงเรียนวัดหัวดงใต้ (บางทองประชาสรรค์)
- โรงเรียนบ้านเนินพะยอม
- โรงเรียนปวีณาวิทยา
โรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่
- โรงเรียนหัวดงราชพรหมาภรณ์
- โรงเรียนเก้าเลี้ยววิทยา
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้รอยพระบาทจำลอง ที่ตั้ง ม.6 ต.เขาดิน (ตรงข้ามกันกับวัดมหาโพธิใต้)
โบสถ์เก่าแก่ ที่ตั้ง ม.3 ต.มหาโพธิ (วัดสมัยเก่า รุ่นรัชกาลที่ 5 เจ้าอาวาสสมัยนั้น คือ หลวงพ่อเฮง)
วัดพระหน่อธรณินทร์ฯ ที่ตั้ง ม.6 ต.เขาดิน
วังปลาท่าน้ำวัดมหาโพธิเหนือ ที่ตั้ง ม.5 ต.มหาโพธิ
วังปลาหน้าวัดเก้าเลี้ยว (สมัยแต่ก่อนนั้น ปัจจุบันเป็นเขื่อนซีเมนต์ เต็มด้านหน้าวัด ยาวตลอดแนวถึงตลาดสด ยามเย็นก็น่าชม) ที่ตั้งม.1 ต.เก้าเลี้ยว
วัดในอำเภอ
แก้- วัดมหาโพธิใต้ ม.3 ตำบลมหาโพธิ
- วัดมหาโพธิเหนือ ม.5 ตำบลมหาโพธิ
- วัดหนองหัวเรือ ม.4 ตำบลมหาโพธิ
- วัดเก้าเลี้ยว ม.1 ตำบลเก้าเลี้ยว
- วัดกัลยารัตน์ ม.5 ตำบลหนองเต่า
- วัดทุ่งตาทั่ง ม.4 ตำบลหนองเต่า
- วัดยางใหญ่ ม.3 ตำบลหนองเต่า
- วัดลาดค้าว ม.6 ตำบลหนองเต่า
- วัดหนองเต่าใต้ ม.9 ตำบลหนองเต่า
- วัดหนองเต่าเหนือ ม.9 ตำบลหนองเต่า
- วัดหนองแพงพวย ม.1 ตำบลหนองเต่า
- วัดห้วยรั้ว ม.8 ตำบลหนองเต่า
- วัดเขาดินเหนือ ม.3 ตำบลเขาดิน
- วัดดงเมืองใต้ ม.7 ตำบลเขาดิน
- วัดพระหน่อธรณินทร์ ม.6 ตำบลเขาดิน
- วัดมรรครังสฤษดิ์ ม.8 ตำบลเขาดิน
- วัดหนองงูเหลือม ม.5 ตำบลเขาดิน
- วัดแหลมสมอ ม.9 ตำบลเขาดิน
- วัดคลองช้าง ม.12 ตำบลหัวดง
- วัดดงบ้านโพธิ์ ม.7 ตำบลหัวดง
- วัดเนินพยอม ม.6 ตำบลหัวดง
- วัดศิลาทองสามัคคี ม.8 ตำบลหัวดง
- วัดหัวดงใต้ ม.3 ตำบลหัวดง
- วัดหัวดงเหนือ ม.11 ตำบลหัวดง
- วัดหาดเสลา ม.5 หาดเสลา ตำบลหัวดง
- วัดโนนโพธิ์ ม.5 ตำบลหนองเต่า
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติอำเภอเก้าเลี้ยว เก็บถาวร 2021-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ข้อมูลอำเภอเก้าเลี้ยว เก็บถาวร 2021-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สำนักงานเกษตรอำเภอเก้าเลี้ยว
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อำเภอเก้าเลี้ยว