อำเภอกระแสสินธุ์

อำเภอในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย

กระแสสินธุ์ เป็นอำเภอในจังหวัดสงขลา แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์ในปี พ.ศ. 2521[1] และยกฐานะเป็นอำเภอกระแสสินธุ์ในปี พ.ศ. 2537 โดยชื่อ "กระแสสินธุ์" หมายถึงเมืองที่สมบูรณ์ด้วยน้ำโดยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่มีอาณาเขตส่วนใหญ่ในทะเลสาบสงขลา

อำเภอกระแสสินธุ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Krasae Sin
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่
คำขวัญ: 
หลวงพ่อเดิมคู่บ้าน ดอกบัวบานทั่วถิ่น ธารารินทั่วเมือง สมเด็จเจ้าลือเลื่อง เมืองสะตอพันธุ์ดี แหล่งโลมาอิรวดีแดนใต้
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอกระแสสินธุ์
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอกระแสสินธุ์
พิกัด: 7°37′6″N 100°19′42″E / 7.61833°N 100.32833°E / 7.61833; 100.32833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด96.4 ตร.กม. (37.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด14,771 คน
 • ความหนาแน่น153.23 คน/ตร.กม. (396.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์9008
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกระแสสินธุ์ ถนนเจดีย์งาม-เกาะใหญ่ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอกระแสสินธุ์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
พืชพันธุ์ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ท้องที่ตำบลเกาะใหญ่

ประวัติ

แก้

   กระแสสินธุ์ เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปละท่า จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2460 ได้มีผู้ลอบวางเพลิงที่ว่าการอำเภอปละท่า จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[2] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ของอำเภอจะทิ้งพระ ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[3] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนพื้นที่กิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[4]

ในต้นปี พ.ศ. 2519 ได้มีคณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน และคณะครูอาจารย์ในพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลเชิงแส และตำบลโรง ได้ประชุมตกลงกันเสนอให้ทางการแยกการปกครองของทั้ง 3 ตำบลออกจากอำเภอระโนด อันเนื่องจากการคมนาคมระหว่าง 3 ตำบลกับอำเภอระโนดเป็นไปด้วยความยากลำบากไม่สะดวกในการติดต่อราชการ ต่อมากรมการปกครองได้แยกเขตการปกครองของ 3 ตำบล ออกมาเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[1] ตามประกาศลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ใช้ชื่อกิ่งอำเภอว่า "กระแสสินธุ์" โดยได้นำชื่อตำบลของตำบลตำบลเกาะใหญ่ ตำบลเชิงแส และตำบลโรง มารวมกัน "กระแสสินธุ์" ซึ่งมีความหมายว่า "กระแสน้ำ" หรือ "เมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำ" โดยในช่วงแรกได้ใช้อาคารของโรงเรียนชุมชนวัดเชิงแสเป็นที่ทำการชั่วคราว มีนายอภิชน คงพันธุ์ ปลัดอำเภอเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอกระแสสินธุ์คนแรก

ปี พ.ศ. 2523 กรมการปกครองจัดสรรงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการอำเภอโดยได้ตกลงสร้างในพื้นที่หมู่ 11 ตำบลเกาะใหญ่ ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจากราษฎรในพื้นที่จำนวน 93 ไร่ เมื่อก่อสร้างเสร็จได้ย้ายที่ทำการวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ต่อมาเมื่อท้องที่กิ่งอำเภอมี 3 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 11,031 คนประกอบกับมีความเจริญมากขึ้นเห็นสมควรให้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็น อำเภอกระแสสินธุ์[5] มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมกับตั้งท้องถิ่นที่ว่าการอำเภอ 4 หมู่บ้านของตำบลเกาะใหญ่ เป็น ตำบลกระแสสินธุ์[6] เป็นตำบลลำดับที่ 4 ของทางอำเภอจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอกระแสสินธุ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน

1. เกาะใหญ่ (Ko Yai) 9 หมู่บ้าน
2. โรง (Rong) 5 หมู่บ้าน
3. เชิงแส (Choeng Sae) 4 หมู่บ้าน
4. กระแสสินธุ์ (Krasae Sin) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (21 ง): 519. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  4. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 18–23. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลเชิงแส". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน