ตำบลกระแสสินธุ์

ตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย

กระแสสินธุ์ เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของอำเภอกระแสสินธุ์ เป็น 1 ใน 2 ตำบลของอำเภอที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล

ตำบลกระแสสินธุ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Krasae Sin
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.0 ตร.กม. (9.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,820 คน
 • ความหนาแน่น112.80 คน/ตร.กม. (292.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์900804
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลกระแสสินธุ์
ทต.กระแสสินธุ์ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทต.กระแสสินธุ์
ทต.กระแสสินธุ์
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์
พิกัด: 7°35′07.0″N 100°19′12.1″E / 7.585278°N 100.320028°E / 7.585278; 100.320028
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
จัดตั้ง • 14 พฤศจิกายน 2538 (สภาตำบลกระแสสินธุ์)
 • 30 มกราคม 2539 (อบต.กระแสสินธุ์)
 • 1 กุมภาพันธ์ 2551 (ทต.กระแสสินธุ์)
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.0 ตร.กม. (9.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,820 คน
 • ความหนาแน่น112.80 คน/ตร.กม. (292.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05900801
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 60 หมู่ 2 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
เว็บไซต์www.krasaesin.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลกระแสสินธุ์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ

แก้

ตำบลกระแสสินธุ์ เดิมอยู่ในเขตตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทางกระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ด้านทิศเหนือของตำบลเกาะใหญ่ ได้แก่ หมู่ 8 บ้านโตนดด้วน, หมู่ 9 บ้านคลองโหน, หมู่ 10 บ้านทุ่งเมรุ และหมู่ 11 บ้านม่วงงาม รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็นตำบล โดยใช้ชื่อว่า "กระแสสินธุ์"[3] ตามที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงของท้องที่ เป็นตำบลลำดับที่ 4 ของทางอำเภอจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

ตำบลกระแสสินธุ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านทุ่งเมรุ, ทุ่งบัว (Ban Thung Men, Thung Bua) หมู่ 10 (เดิม) โอนมาจากตำบลเกาะใหญ่
หมู่ 2 บ้านโตนดด้วน (Ban Tanot Duan) หมู่ 8 (เดิม) โอนมาจากตำบลเกาะใหญ่
หมู่ 3 บ้านคลองโหน (Ban Khlong Hon) หมู่ 9 (เดิม) โอนมาจากตำบลเกาะใหญ่
หมู่ 4 บ้านม่วงงาม (Ban Muang Ngam) หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลเกาะใหญ่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ตำบลกระแสสินธุ์ทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลกระแสสินธุ์ ได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบลที่พื้นที่ตำบลแยกออกจากตำบลเกาะใหญ่ ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลในปี พ.ศ. 2542[4] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2551[5]

ประชากร

แก้

พื้นที่ตำบลกระแสสินธุ์ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,820 คน แบ่งเป็นชาย 1,363 คน หญิง 1,457 คน (เดือนธันวาคม 2566)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอกระแสสินธุ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[6] พ.ศ. 2565[7] พ.ศ. 2564[8] พ.ศ. 2563[9] พ.ศ. 2562[10] พ.ศ. 2561[11] พ.ศ. 2560[12]
คลองโหน 807 805 816 824 808 800 801
ทุ่งเมรุ,ทุ่งบัว 708 717 721 722 724 732 736
โตนดด้วน 661 659 669 660 662 671 697
ม่วงงาม 626 629 624 622 637 654 651
*ทะเบียนกลาง 18 12 11 15 19 19 19
รวม 2,820 2,822 2,841 2,843 2,850 2,876 2,904

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 186–201. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 18–23. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลกระแสสินธุ์". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
  6. 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้