อำเภอบ้านหลวง
บ้านหลวง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน
อำเภอบ้านหลวง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Luang |
คำขวัญ: แดนดินถิ่นไม้ป่า บูชาพระแก้วมรกต เลิศรสมะขามหวาน ตำนานกู่เขาเขียว ท่องเที่ยวป่าสนยักษ์ สักการะพระธาตุเมล็ดข้าว | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอบ้านหลวง | |
พิกัด: 18°51′5″N 100°26′18″E / 18.85139°N 100.43833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 338.210 ตร.กม. (130.584 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 11,511 คน |
• ความหนาแน่น | 34.04 คน/ตร.กม. (88.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5503 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านหลวง เลขที่ 108 หมู่ที่ 2 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน 55190 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบ้านหลวงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วน (จังหวัดพะเยา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองน่านและอำเภอเวียงสา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงสา และอำเภอสอง (จังหวัดแพร่)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสอง (จังหวัดแพร่) และอำเภอเชียงม่วน (จังหวัดพะเยา)
ประวัติ
แก้พื้นที่ของอำเภอบ้านหลวงเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ เมืองสวด อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปง จังหวัดน่านในขณะนั้น ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2495 มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ โดยโอนอำเภอปง ยกเว้นตำบลสระเอียบและตำบลสวด ไปขึ้นจังหวัดเชียงราย โอนตำบลสะเอียบไปขึ้นอำเภอสอง จังหวัดแพร่[1] และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองน่าน โดยโอนตำบลสวดมาขึ้นกับอำเภอเมืองน่าน[2]
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเยี่ยมเยือนราษฎรตำบลสวดเป็นครั้งแรก ได้มีพระราชดำริเห็นสมควรยกฐานะตำบลสวดขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เนื่องจากสภาพพื้นที่ภูเขาสูงชัน การคมนาคมระหว่างตำบลสวดกับอำเภอเมืองน่าน เป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในสมัยนั้น (นายสุกิจ จุลละนันท์) ได้กราบบังคมทูลถึงการขอยกฐานะตำบลสวดขึ้นเป็นกิ่งอำเภอโดยใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอบ้านหลวง” ซึ่งพระองค์ทรงเห็นชอบด้วย จึงทรงรับสั่งให้รีบดำเนินการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ จังหวัดน่านจึงได้ดำเนินการทำเรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกาศยกฐานะตำบลสวดขึ้นเป็นกิ่งอำเภอบ้านหลวง ซึ่งต่อมาได้ตั้งตำบลป่าคาหลวง และตำบลบ้านฟ้าขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกัน โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลสวด[3] เพื่อเตรียมจัดตั้งกิ่งอำเภอ
ต่อมาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลป่าคาหลวง ตำบลสวด และตำบลบ้านฟ้า ออกจากการปกครองของอำเภอเมืองน่าน รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านหลวง[4] และในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2523 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลป่าคาหลวง รวมตั้งเป็นตำบลบ้านพี้[5] เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล (ในกรณีพื้นที่ห่างไกล) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบ้านหลวง[6] จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบ้านหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[7] |
---|---|---|---|---|---|
1. | บ้านฟ้า | Ban Fa | 8 | 3,546 | |
2. | ป่าคาหลวง | Pa Kha Luang | 5 | 2,641 | |
3. | สวด | Suat | 8 | 2,827 | |
4. | บ้านพี้ | Ban Phi | 5 | 2,413 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบ้านหลวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านฟ้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคาหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านพี้ทั้งตำบล
การคมนาคม
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (จุน-บ้านหลวง-น่าน)
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- พระธาตุเมล็ดข้าว
- พระธาตุภูเขาเขียว
- หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำพี้
- หน่วยศึกษาพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำแม่สะลา
- หน่วยศึกษาพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำขุนเคียน
- อ่างเก็บน้ำห้วยสีพัน
- ป่าสนยักษ์
- น้ำตกห้วยพริก
- น้ำตกห้วยไฟ
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๙๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (69 ก): 1440–1441. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2495
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (19 ก): 432–434. วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (106 ง): 2458–2462. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (92): 1192. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12. วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงกลาง อำเภอแม่จริม และกิ่งอำเภอบ้านหลวง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจาบุเบกษา. 97 (133 ง): 2957–2963. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจาบุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.