การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555 เป็นการเลือกตั้งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทยโดยตรงจากประชาชน เป็นครั้งที่ 3 รวมจำนวนกว่า 55 จังหวัด โดยมีบางจังหวัดได้จัดการเลือกตั้งไปก่อนในปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลาออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระ หรือเสียชีวิต
จำนวนทั้งสิ้น 55 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง | |
---|---|
| |
แผนที่แสดงการเลือกตั้งนายก อบจ. ใน พ.ศ. 2555 มีการเลือกตั้ง ไม่มีการเลือกตั้ง |
รายนามผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้ภาคกลาง
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
กำแพงเพชร | สุนทร รัตนากร | เลือกตั้ง 25 มี.ค. 55 | |
ชัยนาท | อนุสรณ์ นาคาศัย | เลือกตั้ง 11 มี.ค. 55 | |
นครนายก | สัญญา บุญหลง | เลือกตั้ง 19 ก.พ. 55 | |
นนทบุรี | พันตำรวจเอก ธงชัย เย็นประเสริฐ | เลือกตั้ง 10 มิ.ย. 55 | |
ปทุมธานี | ชาญ พวงเพ็ชร์ | เลือกตั้ง 22 เม.ย. 55 | |
พระนครศรีอยุธยา | สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล | เลือกตั้ง 8 เม.ย. 55 | |
พิจิตร | ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
พิษณุโลก | มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ | เลือกตั้ง 18 พ.ย. | |
เพชรบูรณ์ | อัครเดช ทองใจสด | ||
สมุทรสาคร | มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ | เลือกตั้ง 19 ก.พ. 55 | |
สระบุรี | เฉลิม วงษ์ไพร | เลือกตั้ง 29 เม.ย. 55 | |
สิงห์บุรี | สรกฤช เทียนถาวร | เลือกตั้ง 26 ก.พ. 55 | |
สุพรรณบุรี | บุญชู จันทร์สุวรรณ | เลือกตั้ง 17 มี.ค. 55 | |
อุทัยธานี | เผด็จ นุ้ยปรี | เลือกตั้ง 4 มี.ค. 55 |
ภาคเหนือ
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
เชียงราย | สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
เชียงใหม่ | บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ | เลือกตั้ง 23 มิ.ย. 55 | |
น่าน | นรินทร์ เหล่าอารยะ | เลือกตั้ง 10 มี.ค. 55 | |
ลำปาง | สุนี สมมี | เลือกตั้ง 8 ก.ค. 55 | |
ลำพูน | นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ | เลือกตั้ง 11 ส.ค. 55 | |
อุตรดิตถ์ | ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา | เลือกตั้ง 8 ก.ค. 55 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
กาฬสินธุ์ | ยงยุทธ หล่อตระกูล | เลือกตั้ง 3 มี.ค. 55 | |
ขอนแก่น | พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ | เลือกตั้ง 8 ม.ค. 55 | |
ชัยภูมิ | มนตรี ชาลีเครือ | เลือกตั้ง 26 ก.พ. 55 | |
นครพนม | สมชอบ นิติพจน์ | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
นครราชสีมา | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | เลือกตั้ง 18 มี.ค. 55 | |
บุรีรัมย์ | กรุณา ชิดชอบ | เลือกตั้ง 15 ม.ค. 55 | |
ยโสธร | สถิรพร นาคสุข | เลือกตั้ง 8 ก.ค. 55 | |
ร้อยเอ็ด | มังกร ยนต์ตระกูล | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
ศรีสะเกษ | วิชิต ไตรสรณกุล | เลือกตั้ง 23 ก.ค. 55 | |
สกลนคร | ชัยมงคล ไชยรบ | ||
สุรินทร์ | กิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
หนองคาย | ยุทธนา ศรีตะบุตร | เลือกตั้ง 23 ก.ค. 55 | |
หนองบัวลำภู | ศราวุธ สันตินันตรักษ์ | เลือกตั้ง 26 ส.ค. 55 | |
อุดรธานี | วิเชียร ขาวขำ | เลือกตั้ง 17 มิ.ย. 55 | |
อุบลราชธานี | พรชัย โควสุรัตน์ | เลือกตั้ง 3 มิ.ย. 55 | |
อำนาจเจริญ | ศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ | เลือกตั้ง 11 ส.ค. 55 |
ภาคใต้
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
กระบี่ | สมศักดิ์ กิตติธรกุล | เลือกตั้ง 15 ก.ค. 55 | |
ชุมพร | สุพล จุลใส | เลือกตั้ง 15 ก.ค. 55 | |
ตรัง | กิจ หลีกภัย | เลือกตั้ง 29 ก.ค. 55 | |
นราธิวาส | กูเซ็ง ยาวอหะซัน | เลือกตั้ง 14 ต.ค. 55 | |
ปัตตานี | เศรษฐ์ อัลยุฟรี | เลือกตั้ง 14 ต.ค. 55 | |
พัทลุง | วิสุทธิ์ ธรรมเพชร | เลือกตั้ง 3 มิ.ย. 55 | |
ภูเก็ต | ไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ | เลือกตั้ง 7 เม.ย. 55 | |
ยะลา | มุขตาร์ มะทา | เลือกตั้ง 23 ก.ค. 55 | |
ระนอง | คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ | เลือกตั้ง 2 ก.ย. 55 |
ภาคตะวันออก
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
จันทบุรี | ธนภณ กิจกาญจน์ | เลือกตั้ง 3 มิ.ย. 55 | |
ชลบุรี | วิทยา คุณปลื้ม | เลือกตั้ง 8 ก.ค. 55 | |
ตราด | วิเชียร ทรัพย์เจริญ | เลือกตั้ง 27 พ.ค. 55 | |
ปราจีนบุรี | บังอร วิลาวัลย์ | เลือกตั้ง 15 ก.ค. 55 | |
สระแก้ว | ทรงยศ เทียนทอง | เลือกตั้ง 26 ก.พ. 55 |
ภาคตะวันตก
แก้มีรายนามดังนี้
จังหวัด | นาม | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
กาญจนบุรี | รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ | เลือกตั้ง 18 มี.ค. 55 | |
ตาก | ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ | เลือกตั้ง 12 พ.ค. 55 | |
ประจวบคีรีขันธ์ | ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์ | เลือกตั้ง 10 มิ.ย. 55 | |
เพชรบุรี | ชัยยะ อังกินันทน์ | เลือกตั้ง 26 ส.ค. 55 |
ภาพรวมการเลือกตั้ง
แก้สัญลักษณ์ | |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในสมัยที่ผ่านมา | |
เคยดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาแล้ว |
นายก อบจ.ครบวาระ
แก้- หมายเหตุ : เรียงตามวันที่จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่
26 กุมภาพันธ์ : ชัยภูมิ
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายสุริยน ภูมิรัตนประภิณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลงเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิระหว่างวันที่ 23 - 27 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้[1][2]
- หมายเลข 1 : ปัญญา กล้าแท้ อดีตรองประธานสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้รับการสนับสนุนจาก ส.อบจ.บางส่วน นำโดยนายจารุเดช คนสมบูรณ์ บุตรชายนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 7 พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 : สุริยน ภูมิรัตนประภิณ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (พ.ศ. 2551) ได้รับการสนับสนุนจากสกุลสงวนวงศ์ชัย ซึงปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- หมายเลข 3 : มนตรี ชาลีเครือ อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิเขตอำเภอจัตุรัส น้องชายนายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อดีตประธานวุฒิสภา (พ.ศ. 2543) และนางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 พรรคเพื่อไทย และมีการปราศัยสนับสนุนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อาทิ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิอีก 5 เขต (ยกเว้น เขต 1 และ เขต 7)
ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ[3] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ปัญญา กล้าแท้ | 114,499 | 23.43 | |
2 | สุริยน ภูมิรัตนประภิณ | 155,544 | 31.82 | |
3 | มนตรี ชาลีเครือ | 194,548 | 39.80 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 8,701 | 1.78 | ||
บัตรเสีย | 15,496 | 3.17 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 488,825 คน (คิดเป็นร้อยละ 58.31 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 838,380 คน) |
26 กุมภาพันธ์ : สิงห์บุรี
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายสรกฤช เทียนถาวร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย หมดวาระลงเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรีระหว่างวันที่ 23 - 27 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้[4]
- หมายเลข 1 : ทวีป จูมั่น อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
- หมายเลข 2 : สรกฤช เทียนถาวร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี (พ.ศ. 2547 2551) พี่ชายนายศุภวัฒน์ เทียนถาวร สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสิงห์บุรี
ผลการเลือกตั้ง นายสรกฤช เทียนถาวร ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 49,534 คะแนน ในขณะที่นายทวีป จูมั่น ได้รับ 32,597 คะแนน[5]
3 มีนาคม : กาฬสินธุ์
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นางชะม้อย วรามิตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมดวาระลงเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 23 - 27 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : ยงยุทธ หล่อตระกูล กลุ่มกาฬสินธุ์เพื่อไทย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ทั้ง 6 เขต โดยทีมบริหารล้วนเป็นทายาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น[6]
- หมายเลข 2 : ชานุวัฒน์ วรามิตร กลุ่มเรารักกาฬสินธุ์ บุตรชายนางชะม้อย วรามิตร อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (พ.ศ. 2551) ได้รับการสนับสนุนจากอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วน ซึ่งเคยลงสมัครในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[7]
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์[8] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ยงยุทธ หล่อตระกูล | 210,704 | 49.79 | |
2 | ชานุวัฒน์ วรามิตร | 191,841 | 45.33 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 10,800 | 2.55 | ||
บัตรเสีย | 9,867 | 2.33 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 423,212 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.64 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 734,209 คน) |
ทั้งนี้ นายยงยุทธมีคะแนนนำใน 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอคำม่วง อำเภอเขาวง อำเภอนาคู อำเภอฆ้องชัย อำเภอสามชัย ในขณะที่นายชานุวัฒน์มีคะแนนนำใน 8 อำเภอ คือ อำเภอกมลาไสย อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท อำเภอนามน อำเภอร่องคำ อำเภอดอนจาน
4 มีนาคม : อุทัยธานี
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายเผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมดวาระลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัครเพียงคนเดียว คือ[9]
- หมายเลข 1 : เผด็จ นุ้ยปรี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย (พ.ศ. 2547 2551)
ปรากฏผลการเลือกตั้งดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี[10] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | เผด็จ นุ้ยปรี | 110,701 | 88.60 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 7,916 | 6.34 | ||
บัตรเสีย | 6,327 | 5.06 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 124,944 คน (คิดเป็นร้อยละ 51.21 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 243,968 คน) |
10 มีนาคม : น่าน
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 สมัย หมดวาระลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้[11]
- หมายเลข 1 : พิชิต โมกศรี อดีตปลัดเทศบาลเมืองน่าน ได้รับการสนับสนุนจากนางสิรินทร รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 พรรคเพื่อไทย ถูกกล่าวหาว่าได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองใหญ่ของจังหวัดบุรีรัมย์
- หมายเลข 2 : นรินทร์ เหล่าอารยะ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน (พ.ศ. 2547 2551) ได้รับการสนับสนุนจากนายชลน่าน ศรีแก้ว และนายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 และ 3 พรรคเพื่อไทย ตามลำดับ รวมทั้งมีการปราศัยสนับสนุนโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ บนเวทีชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติจังหวัดน่าน[12]
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน[13] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | พิชิต โมกศรี | 107,687 | 44.56 | |
2 | นรินทร์ เหล่าอารยะ | 114,821 | 47.51 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 7,498 | 3.10 | ||
บัตรเสีย | 11,654 | 4.82 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 241,660 คน (คิดเป็นร้อยละ 66.25 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 364,773 คน) |
ทั้งนี้ นายนรินทร์มีคะแนนนำใน 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองน่าน อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอบ้านหลวง อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอภูเพียง ในขณะที่นายพิชิตมีคะแนนนำใน 7 อำเภอ คือ อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอแม่จริม อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสองแคว
11 มีนาคม : ชัยนาท
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมดวาระลงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 6 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร เพียงคนเดียว คือ
- หมายเลข 1 : อนุสรณ์ นาคาศัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท (พ.ศ. 2551) น้องชายนายอนุชา นาคาศัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท (ไทยรักไทย พ.ศ. 2544 2548) และเป็นน้องเขยนางพรทิวา นาคาศัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อภิสิทธิ์ 1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท (มัชฌิมาธิปไตย พ.ศ. 2550 ภูมิใจไทย พ.ศ. 2554)
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท[14] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | อนุสรณ์ นาคาศัย | 114,152 | 87.42 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 9,307 | 7.13 | ||
บัตรเสีย | 7,121 | 5.45 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 130,580 คน (คิดเป็นร้อยละ 50.87 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 256,689 คน) |
18 มีนาคม 2555 : นครราชสีมา
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายสำเริง แหยงกระโทก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้[15]
- หมายเลข 1 : วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย (กระทั่งสอบตก ปี พ.ศ. 2551) ได้รับการสนับสนุนจากนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 10 พรรคภูมิใจไทย และนายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 15 พรรคภูมิใจไทย[16]
- หมายเลข 2 : ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อภิสิทธิ์ 1) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (สมัคร 1 สมชาย 1) ภรรยาว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี (เสียชีวิต) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคชาติพัฒนา (เขต 1 เขต 2 เขต 3 และ เขต 9) รวมทั้งนายโกศล ปัทมะ เขต 5 นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร เขต 8 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เขต 14 พรรคเพื่อไทย และนายประนอม โพธิ์คำ เขต 12 พรรคภูมิใจไทย[17][18]
- หมายเลข 3 : สำเริง แหยงกระโทก อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2551) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนเสื้อแดงส่วนหนึ่ง นำโดยนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ และนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ ส.ส.เขต 11 พรรคเพื่อไทย นายสมพล เกยุราพันธุ์ บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และตระกูลรัตนเศรษฐนำโดยนายวิรัช รัตนเศรษฐ บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นางทัศนียา รัตนเศรษฐ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ (เขต 4 และเขต 7 พรรคเพื่อไทย)[19]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา[20] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ | 96,482 | 8.84 | |
2 | ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | 487,470 | 44.66 | |
3 | สำเริง แหยงกระโทก | 421,507 | 38.62 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 8,701 | 2.01 | ||
บัตรเสีย | 15,496 | 2.00 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,091,403 คน (คิดเป็นร้อยละ 52.49) |
27 พฤษภาคม : สุรินทร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
27 พฤษภาคม : ร้อยเอ็ด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
27 พฤษภาคม: นครพนม
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายสมชอบ นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 23 - 27 เมษายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้ [21]
- หมายเลข 1 : นายสมชอบ นิติพจน์ ให้การสนับสนุนโดย นายไพจิต ศรีวรขาน และ นายชูกัน กุลวงษา ส.ส.นครพนม เขต 3 และ 4 พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 : นางสาวณัฎฐ์พัชร์ ยงใจยุทธ หลานสาว พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ให้การสนับสนุนโดย แกนนำคนเสื้อแดง เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายแพทย์ เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช นายชวลิต วิชยสุทธิ์ พร้อม นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ และ นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เขต 1 และ 2
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | สมชอบ นิติพจน์ | 149,346 | 46.98 | |
2 | ณัฎฐ์พัชร์ ยงใจยุทธ | 144,857 | 45.58 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 4,835 | 1.52 | ||
บัตรเสีย | 18,755 | 5.91 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 317,831 คน (คิดเป็นร้อยละ 62.42) |
27 พฤษภาคม : เชียงราย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
27 พฤษภาคม : พิจิตร
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมดวาระลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร 23 - 27 เมษายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : นายวิเชียร เธียรชัยพงษ์ อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองพิจิตร ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 : นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ อดีตนายกอบจ.พิจิตร 4 สมัย ลงในค่าย พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนจาก นายไพฑูรย์ แก้วทอง อดีต ส.ส. พิจิตรหลายสมัย และปัจจุบัน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ นายนราพัฒน์แก้วทอง ส.ส.พิจิตร เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์อดีต ส.ส. พิจิตร]]หลายสมัย และเป็นบิดาของ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ส.ส. พิจิตร เขต 3 พรรคชาติไทยพัฒนา
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร[22] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | วิเชียร เธียรชัยพงษ์ | 66,119 | 49.79 | |
2 | ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ | 192,729 | 45.33 | |
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 192,729 คน (คิดเป็นร้อยละ 46.66 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 734,209 คน) |
2 มิถุนายน : ตราด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
3 มิถุนายน : พัทลุง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
3 มิถุนายน : จันทบุรี
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
10 มิถุนายน : นนทบุรี
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
10 มิถุนายน : ประจวบคีรีขันธ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
18 มิถุนายน : อุดรธานี
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายหาญชัย ทีฑธนานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 4 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : นายหาญชัย ทีฑธนานนท์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยที่แล้ว เป็นผู้สมัครอิสระ ลงในนาม กลุ่มหาญชัย
- หมายเลข 2 : นายวิเชียร ขาวขำ อดีต ส.ส. อุดรธานีหลายสมัย และ ปัจจุบันเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยซึ่งลาออกมาลงสมัครในนามกลุ่ม เพื่อไทยอุดรธานี และได้รับการสนับสนุนจาก นายศราวุธ เพชรพนมพร นายขจิตร ชัยนิคม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายศรีงาม นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น นายทองดี มนิสสาร , นางเทียบจุฑา ขาวขำ , นายอนันต์ ศรีพันธ์ ส.ส. อุดรธานีเขต 1, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ของพรรคเพื่อไทย รวมทั้งนายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร [23]
- หมายเลข 3 : นางกีรติกานต์ พิมานเมฆินทร์ ลงในนาม กลุ่มแดงอุดรเพื่อไทย เป็นบุตรสาวของนายสุรทิน พิมานเมฆินทร์ ส.ส. อุดรธานี เขต 2 [24]
- หมายเลข 4 : นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | หาญชัย ทีฑธนานนท์ | 182,239 | 28.26 | |
2 | วิเชียร ขาวขำ | 355,536 | 55.14 | |
3 | กีรติกานต์ พิมานเมฆินทร์ | 40,281 | 6.25 | |
4 | สุรชาติ ชำนาญศิลป์ | 13,627 | 2.13 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 13,724 | 2.13 | ||
บัตรเสีย | 18,092 | 2.81 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 644,794 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.67) |
23 มิถุนายน : เชียงใหม่
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 4 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ให้การสนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 : นายถาวร เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และน้องชายของนายสุรพล เกียรติไชยากร ส.ส.พรรคเพื่อไทย และให้การสนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกัน
- หมายเลข 3 : นายขวัญชัย สกุลทอง อดีตผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ (คู่แข่งในพื้นที่เดียวกับนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ หลายสมัย)[26] และเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- หมายเลข 4 : นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และภรรยาของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ (เจ้าหนุ่ย) โดยการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์[27]
8 กรกฎาคม : ยโสธร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
8 กรกฎาคม : ลำปาง
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นางสุนี สมมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนลำปาง ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้ [28]
- หมายเลข 1 : นางสุนี สมมี อตีดนายกอบจ. 2 สมัย เป็นกลุ่มของ นายไพโรจน์ โล่สุนทร ซึ่งเป็นอดีตส.ส. ลำปางหลายสมัยและเป็นนายกเทศบาลเมืองลำปาง ณ ปัจจุบัน และกลุ่มดอยเงินสนับสนุนอยู่
- หมายเลข 2 : นายดาชัย อุชุโกศลกาล เป็นอดีตสมาชิกสภา อบจ.ลำปาง สมัยที่แล้ว และเป็น รองประธานสมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย และ ประธานกลุ่มเสื้อแดงพลังลำปาง
- หมายเลข 3 : นายชุณกิจ จันทรสุรินทร์ บุตรชายของนาย พินิจ จันทรสุรินทร์ อดีต ส.ส.จังหวัดลำปาง
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง[29] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | สุนี สมมี | 134,919 | 34.01 | |
2 | ดาชัย อุชุโกศลกาล | 111,459 | 28.01 | |
3 | ชุณกิจ จันทรสุรินทร์ | 97,530 | 24.59 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 35,547 | 8.96 | ||
บัตรเสีย | 17,172 | 4.33 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 396,632 คน (คิดเป็นร้อยละ 66.38) |
8 กรกฎาคม : ชลบุรี
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
15 กรกฎาคม : ชุมพร
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอำนวย บัวเขียว นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยที่แล้ว หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนชุมพร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : นางสุพล จุลใส เป็นพี่ชายของนาย ชุมพล จุลใส ส.ส. ประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร เขต 1 ลงในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์อย่างเป็นทางการ และมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงด้วย [31]
- หมายเลข 2 : นาย ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ซึ่งเป็นบิดาของ นาย สราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร เขต 2 [32]
- หมายเลข 3 : นายธนพล สุขปาน ผู้สมัครอิสระ [33]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | สุพล จุลใส | 122,290 | 54.09 | |
2 | ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย | 84,693 | 37.46 | |
3 | ธนพล สุขปาน | 5,376 | 2.38 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 8,400 | 3.72 | ||
บัตรเสีย | 5,207 | 2.30 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 226,066 คน (คิดเป็นร้อยละ 63.37) |
15 กรกฎาคม : กระบี่
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
15 กรกฎาคม : ปราจีนบุรี
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยที่แล้ว หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ เป็นอดีต ส.ส. พรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งย้ายมา พรรคประชาธิปัตย์ แล้วได้ลาออกมาขึ้นเวทีเสื้อแดง
- หมายเลข 2 : นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 สมัย เป็นครอบครัวเดียวกับ นายอำนาจ วิลาวัลย์ ส.ส. ปราจีนบุรี เขต 1 พรรคภูมิใจไทย [35] [36]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | เกียรติกร พากเพียรศิลป์ | 50,740 | 25.02 | |
2 | บังอร วิลาวัลย์ | 122,717 | 60.50 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 16,769 | 8.27 | ||
บัตรเสีย | 12,602 | 6.21 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 202,828 คน (คิดเป็นร้อยละ 59.50) |
23 กรกฎาคม : หนองคาย
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนหนองคาย ระหว่างวันที่ 20-24 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้ [38]
- หมายเลข 1 : นายยุทธนา ศรีตะบุตร อตีดนายกอบจ. 4 สมัย เป็นลูกของ นายพิทักษ์ ศรีตะบุตร ซึ่งเป็นอดีตส.ส. หนองคายหลายสมัย และ มีพรรคชาติพัฒนาสนับสนุน
- หมายเลข 2 : นางมัณฑนา บาลไธสง เป็นลูกของ นายสมคิด บาลไธสง ส.ส. พรรคเพื่อไทย ของจังหวัดหนองคายเขต 1 ให้การสนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย และ นายสมคิด บาลไธสง ส.ส. เพื่อไทยของจังหวัดหนองคายเขต 2
- หมายเลข 3 : นายประสิทธิ์ จันทาทอง อดีต ส.ส.หนองคาย 6 สมัย ของพรรคไทยรักไทย และเป็นสมาชิกบ้าน 111 ให้การสนับสนุนโดย นาง ชมภู จันทาทอง ส.ส. เพื่อไทยเขต 3 ของจังหวัดหนองคาย
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนหนองคาย[39] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ยุทธนา ศรีตะบุตร | 92,816 | 44.49 | |
2 | มัณฑนา บาลไธสง | 55,327 | 26.52 | |
3 | ประสิทธิ์ จันทาทอง | 49,883 | 23.88 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 4,858 | 2.33 | ||
บัตรเสีย | 5,734 | 2.75 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 208,618 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.25) |
11 สิงหาคม : อำนาจเจริญ
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายชัยพร ทองประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนอำนาจเจริญ ระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้ [41]
- หมายเลข 1 : นางยุพิน โลหะ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กุดปลาดุก และ ส.อบจ. จังหวัดอำนาจเจริญ ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้รับสนับสนุนจากแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์
- หมายเลข 2 :นายพิทักษ์ คณาเสน อดีตนายกเทศมนตรีตำบลน้ำปลีก เมืองอำนาจเจริญ และอดีต ส.อบจ.อำนาจเจริญ ลงในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการสนับสนุนจาก นางสมหญิง บัวบุตร ส.ส. พรรคเพื่อไทย ของ อำนาจเจริญ เขต 1
- หมายเลข 3 : นายศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอำนาจเจริญ 3 สมัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงนายสุทัศน์ เงินหมื่น อดีต ส.ส. อำนาจเจริญ (ปัจจุบันเป็นบุญชีรายชื่อ) หลายสมัย
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ[42] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ยุพิน โลหะ | 45,795 | 25.92 | |
2 | พิทักษ์ คณาเสน | 32,246 | 18.25 | |
3 | ศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ง | 91,549 | 51.82 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 3,335 | 1.89 | ||
บัตรเสีย | 3,743 | 2.12 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 176,668 คน (คิดเป็นร้อยละ 65.49) |
11 สิงหาคม : ลำพูน
แก้เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย หมดวาระลง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนลำพูน ระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้ [44]
- หมายเลข 1 : นาย ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ อดีตส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 ลำพูน อดีตนายก อบจ. 2551 เพิ่งหมดวาระ ลงในนามอิสระ
- หมายเลข 2 : นายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ น้องชาย มนตรี ด่านไพบูลย์ อดีต ส.ส. กิจสังคม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้รับการสนับสนุนจากแกนนำกลุ่มเสื้อแดง รวมถึง นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตนายก สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายสงวน พงษ์มณี ส.ส. ลำพูน เขต 1 ของ พรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 3 : นายประเสริฐ ภู่พิสิฐ อดีตประธานหอการค้า อดีตนายก อบจ. ซึ่งได้การสนับสนุนจาก พรรคเพื่อไทยบางส่วน เหมือนกัน
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[45] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ | 95,430 | 39.72 | |
2 | นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ | 102,152 | 42.79 | |
3 | ประเสริฐ ภู่พิสิฐ | 19,239 | 8.06 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 15,170 | 6.35 | ||
บัตรเสีย | 6,760 | 2.83 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 238,738 คน (คิดเป็นร้อยละ 75.05) |
26 สิงหาคม : เพชรบุรี
แก้กกต. เปิดให้มีการรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี และ ส.อบจ.เพชรบุรี ในระหว่างวันที่ 23-27 ก.ค.55 ณห้องประชุมพริบพรี ศาลากลาง จ.เพชรบุรี และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 26 ส.ค.55
26 สิงหาคม : หนองบัวลำภู
แก้2 กันยายน : ระนอง
แก้14 ตุลาคม : นราธิวาส
แก้14 ตุลาคม : ปัตตานี
แก้28 ตุลาคม : ระยอง
แก้18 พฤศจิกายน : พิษณุโลก
แก้นายก อบจ.ลาออก
แก้8 มกราคม : ขอนแก่น
แก้เนื่องจากพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลาออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ก่อนที่จะครบวาระในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยอ้างเหตุผลส่วนตัว คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดจึงกำหนดให้มีการรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นระหว่างวันที่ 6 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555 มีผู้สมัครดังนี้ (เรียงตามหมายเลข)
- หมายเลขที่ 1 : ดวงจันทร์ จันทร์ศรี
- หมายเลขที่ 2 : กฤษณา ตะวงษ์ แพร์รี่
- หมายเลขที่ 3 : บุญเทียม สุเสนา
- หมายเลขที่ 4 : อุดม แก่นพรม
- หมายเลขที่ 5 : พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
- หมายเลขที่ 6 : คงฤทธิ์ อัศวพัฒนากูล อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น[47]
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น[48] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ดวงจันทร์ จันทร์ศรี | 25,885 | 4.12 | |
2 | กฤษณา ตะวงษ์ แพร์รี่ | 8,230 | 1.31 | |
3 | บุญเทียม สุเสนา | 3,122 | 0.50 | |
4 | อุดม แก่นพรหม | 8,068 | 1.28 | |
5 | พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ | 489,885 | 77.88 | |
6 | คงฤทธิ์ อัศวพัฒนากูล | 64,967 | 10.33 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 21,095 | 3.47 | ||
บัตรเสีย | 7,786 | 1.24 | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 629,038 คน (คิดเป็นร้อยละ 47.47 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 1,325,049 คน) |
15 มกราคม : บุรีรัมย์
แก้เนื่องจากนางกรุณา ชิดชอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลาออกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงกำหนดให้มีการรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 13 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 มีผู้สมัครดังนี้
- หมายเลข 1 : อุชษณีย์ ชิดชอบ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2543) พี่สาวนายเนวิน ชิดชอบ
- หมายเลข 2 : ขจรธน จุดโต กลุ่มบุรีรัมย์เพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2539 2544 2548) ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 3 : ประเสริฐ เลิศยะโส กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
- หมายเลข 4 : กรุณา ชิดชอบ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ. 2551) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ ภรรยานายเนวิน ชิดชอบ
- หมายเลข 5 : สุรศักดิ์ สมบูรณ์รัมย์ อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้[49][50][51]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | อุชษณีย์ ชิดชอบ | 25,564 | 4.11 | |
2 | ขจรธน จุดโต | 138,950 | 22.33 | |
3 | ประเสริฐ เลิศยะโส | 5,373 | 0.91 | |
4 | กรุณา ชิดชอบ | 416,086 | 66.86 | |
5 | สุรศักดิ์ สมบูรณ์รัมย์ | 4,172 | 0.67 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 17,643 | 2.92 | ||
บัตรเสีย | 14,552 | 2.34 | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 662,340 คน (คิดเป็นร้อยละ 55.53 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 1,120,729 คน) |
19 กุมภาพันธ์ : นครนายก
แก้เนื่องจากนายสัญญา บุญ-หลง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย (พ.ศ. 2551) ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555[52]
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายกระหว่างวันที่ 13 - 17 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 5 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : สัญญา บุญ-หลง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2551) บุตรชายนายเดช บุญ-หลง
- หมายเลข 2 : ปิติพงษ์ วัฏฏารกูร
- หมายเลข 3 : สมจิตต์ หนุนภักดี
- หมายเลข 4 : นรเศรษฐ์ เอี่ยมอาจหาญ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2547)
- หมายเลข 5 : ประเสริฐ เสือสวย
ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | สัญญา บุญ-หลง | 63,763 | 50.46 | |
2 | ปิติพงษ์ วัฏฏารกูร | 840 | 0.67 | |
3 | สมจิตต์ หนุนภักดี | 654 | 0.55 | |
4 | นรเศรษฐ์ เอี่ยมอาจหาญ | 52,547 | 41.58 | |
5 | ประเสริฐ เสือสวย | 1,145 | 0.91 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 4,062 | 3.32 | ||
บัตรเสีย | 3,359 | 2.66 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 126,372 คน (คิดเป็นร้อยละ 66.76 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 189,302 คน) |
26 กุมภาพันธ์ : สระแก้ว
แก้เนื่องจากนายทรงยศ เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 สมัย (พ.ศ. 2551) ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้วระหว่างวันที่ 16 - 20 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้[53]
- หมายเลข 1 : ทรงยศ เทียนทอง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ. 2547 2551) บุตรชายนายวิทยา เทียนทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว และเป็นหลานชายนายเสนาะ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย
- หมายเลข 2 : เรือง บาดาล อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2554 สอบตก)
ปรากฏผลคะแนน ดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก[54] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ทรงยศ เทียนทอง | 140,115 | 72.70 | |
2 | เรือง บาดาล | 38,314 | 19.88 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 8,323 | 4.51 | ||
บัตรเสีย | 5,985 | 3.11 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 192,737 คน (คิดเป็นร้อยละ 49.68 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 387,971 คน) |
17 มีนาคม : สุพรรณบุรี
แก้เนื่องจากนายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีระหว่างวันที่ 6 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้[55]
- หมายเลข 1 : พลลตำรวจตรีสมศักดิ์ รักซ้อน อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2549)
- หมายเลข 2 : อิสระ บุญญาอรุณเนตร อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2554 สอบตก)
- หมายเลข 3 : บุญชู จันทร์สุวรรณ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2547 2551)
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏดังนี้
หมายเลข | ผู้สมัคร | คะแนนนิยม | ร้อยละ | ||
---|---|---|---|---|---|
3 (สายชาติไทยพัฒนา) | บุญชู จันทร์สุวรรณ | 247,833 | 66.76 | ||
1 (สายเพื่อไทย) | พลตำรวจตรีสมศักดิ์ รักซ้อน | 94,720 | 25.51 | ||
2 (สายประชาธิปัตย์) | อิสระ บุญญาอรุณเนตร | 8,291 | 2.23 | ||
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน | 9,096 | 2.45 | |||
บัตรเสีย | 11,285 | 3.04 | |||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (คิดเป็นร้อยละ 57.91 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 641,014 คน) | 371,225 | 100 |
18 มีนาคม : กาญจนบุรี
แก้เนื่องจากนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์[57] คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 8 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(พ.ศ. 2551) สามีนางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์อย่างเป็นทางการ และมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงด้วย[58]
- หมายเลข 2 : พลโทมะ โพธิ์งาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตรียมทหารรุ่นที่ 10 รุ่นเดียวกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี (ไทยรักไทย พ.ศ. 2548 พลังประชาชน พ.ศ. 2550) ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ได้ 183,513 คะแนน พร้อม ส.อบจ. 19 คน ในขณะที่พลโทมะ โพธิ์งาม ได้ 141,831 คะแนน พร้อม ส.อบจ. 11 คน นายรังสรรค์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งอีกสมัย[59]
25 มีนาคม : กำแพงเพชร
แก้เนื่องจากนายจุลพันธ์ ทับทิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (พ.ศ. 2551) ลาออกจากตำแหน่ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 5 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : สุวพัชร กันธพงษ์จิรภาส
- หมายเลข 2 : สุนทร รัตนากร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์) พี่สายนายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง บ้านเลขที่ 111 ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอนันต์ ผลอำนวย เขต 3 และนายปริญญา ฤกษ์หร่าย เขต 4 พรรคเพื่อไทย[60] รวมทั้งนายปรีชา มุสิกุล เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์[61]
- หมายเลข 3 : จุลพันธ์ ทับทิม อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (พ.ศ. 2551) ได้รับการสนับสนุนจากนายเรืองวิทย์ ลิกค์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง บ้านเลขที่ 111[62]
- หมายเลข 4 : ปริชาติ บริบูรณ์
ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร[63] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | สุวพัชร กันธพงษ์จิรภาส | 6,845 | 2.10 | |
2 | สุนทร รัตนากร | 171,780 | 52.82 | |
3 | จุลพันธ์ ทับทิม | 127,372 | 39.16 | |
4 | ปริชาติ บริบูรณ์ | 1,063 | 0.33 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 6,845 | 2.10 | ||
บัตรเสีย | 11,331 | 3.48 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 325,236 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.30 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 530,606 คน) |
7 เมษายน : ภูเก็ต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
8 เมษายน : พระนครศรีอยุธยา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
20 เมษายน : ปทุมธานี
แก้29 เมษายน : สระบุรี
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
12 พฤษภาคม : ตาก
แก้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตากระหว่างวันที่ 26 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 2 คน ดังนี้
- หมายเลข 1 : ชิงชัย ก่อประภากิจ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก (พ.ศ. 2543 2547 2551) ผุ้สมัครได้การสนับสนุนจาก สส พรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 3 เขต
- หมายเลข 2 : ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ ผู้สมัครได้การสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย และ ลูกชายเป็นอดีตสสตาก เมื่อปี 2548 [64]
ปรากฏผลคะแนน ดังนี้
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก[65] | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | ชิงชัย ก่อประภากิจ | 84,880 | 40.22 | |
2 | ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ | 101,177 | 47.94 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 10,428 | 4.94 | ||
บัตรเสีย | 14,554 | 6.90 | ||
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 211,036 คน (คิดเป็นร้อยละ 63.49 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 332,414 คน) |
นายก อบจ.เสียชีวิต
แก้19 กุมภาพันธ์ : สมุทรสาคร
แก้เนื่องจากนายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย (พ.ศ. 2547 2551) ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยนายครรชิต ทับสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 2 สมัย (ประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2550 2554) ตกเป็นผู้ต้องสงสัย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดรับสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครระหว่างวันที่ 16 - 20 มกราคม พ.ศ. 2555 และกำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีผู้สมัคร 3 คน ดังนี้[67][68]
- หมายเลข 1 : อัคคเดช สุวรรณชัย อิสระ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร (ก่อนปี พ.ศ. 2547)
- หมายเลข 2 : มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (บรรหาร 1), อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร (ความหวังใหม่ พ.ศ. 2535/1 2535/2 2538 2539, พลังประชาชน พ.ศ. 2550), อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร (เพื่อไทย พ.ศ. 2554 สอบตก) บิดานายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
- หมายเลข 3 : กันต์กวี ทับสุวรรณ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้[69]
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร | ||||
# | ผู้สมัคร | คะแนน | % | |
1 | อัคคเดช สุวรรณชัย | 46,020 | 20.85 | |
2 | มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ | 137,910 | 62.48 | |
3 | กันต์กวี ทับสุวรรณ | 23,866 | 10.81 | |
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 6,840 | 3.10 | ||
บัตรเสีย | 6,088 | 2.76 | ||
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 220,724 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.67 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 357,886 คน) |
ทั้งนี้ นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ มีคะแนนนำในทุกอำเภอ คือ[70]
- อำเภอเมืองสมุทรสาคร : นายอัคคเดช 27,940 คะแนน -- นายมณฑล 59,990 คะแนน -- นายกันต์กวี 15,327 คะแนน
- อำเภอบ้านแพ้ว : นายอัคคเดช 7,667 คะแนน -- นายมณฑล 34,831 คะแนน -- นายกันต์กวี 3,521 คะแนน
- อำเภอกระทุ่มแบน : นายอัคคเดช 10,413 คะแนน -- นายมณฑล 43,089 คะแนน -- นายกันต์กวี 5,018 คะแนน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ สมัครชิงนายก อบจ.ชัยภูมิวันแรกคึกขนกองเชียร์รอให้กำลังใจตั้งแต่ไก่โห่จับตาศึกแดงเดือดแดงชนแดง[ลิงก์เสีย]
- ↑ พท.ปลุกกระแสรักทักษิณ หวังพิชิตนายกอบจ.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ชัยภูมิ(อย่างไม่เป็นทางการ)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศึกชิงเก้าอี้นายกอบจ.สิงห์บุรี ทวีปหวังโค้นสรกฤชแชมป์เก่า (สกู๊ปพิเศษ)
- ↑ ผลเลือกตั้งนายก อบจ.สิงห์บุรี "สรกฤช เทียนถาวร"รักษาเก้าอี้สมัย3 ชนะคาดคู่แข่ง"ทวีป จูมั่น"[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สมัครนายก อบจ.กาฬสินธุ์ คึกคัก ส.ส.เพื่อไทย ส่ง "ยงยุทธ" ชิงเก้าอี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ สมัครนายกอบจ.เมืองน้ำดำ วันสุดท้าย"ชานุวัฒน์"ลงสู้ศึก [ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการการรวมคะแนนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อย่างไม่เป็นทางการ
- ↑ บรรยากาศรับสมัครนายก อบจ.อุทัยธานีวัดสุดท้ายไร้ผู้สมัครเพิ่ม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.อุทัยธานี[ลิงก์เสีย]
- ↑ น่าน อบจ.น่าน มีผู้สมัครชิงชัย นายก อบจ.น่าน แทนคนเดิมที่ครบวาระ 2คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศึกเลือกตั้งเดือดนายกอบจ.น่าน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นรินทร์ครองเก้าอี้นายกอบจ.น่านสมัย4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ ประกาศผลคะแนน (อย่างไม่เป็นทางการ) การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท[ลิงก์เสีย]
- ↑ การสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘แก้วด๊ะดาด’ถาม‘สุวัจน์’ คนโคราชรักจริงไม่ทิ้งกัน? ตั้ง‘บุญจง’เป็นรองนายกฯ[ลิงก์เสีย]
- ↑ เสื้อแดง-ส.ส.แตกคอ! เปิดศึกชิงนายกอบจ. สุวัจน์’อุ้ม‘ระนองรักษ์’[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘ตัวแปร’ ศึกช้างชนช้าง! ชิงมวลชน ‘แดงโคราช’
- ↑ ชิงอบจ.โคราชเดือดพท.แตกหนุน2ฝ่าย
- ↑ "คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการการรวมคะแนนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อย่างไม่เป็นทางการ
- ↑ [2]
- ↑ [3][ลิงก์เสีย]
- ↑ [4][ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ "แดง ชม.ไม่หยุด! ตามด่า "มาร์ค" กลางขบวนหาเสียงช่วย "กิ่งกาญจน์" สู้ศึกนายก อบจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-06-19.
- ↑ [5][ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ แดงฉุนแพ้เลือกนายกอบจ.ลำปาง
- ↑ มาร์ค ล่องใต้หาเสียงเลือกตั้งอบจ.ชุมพร [ลิงก์เสีย]
- ↑ มาร์ค ล่องใต้หาเสียงเลือกตั้งอบจ.ชุมพร [ลิงก์เสีย]
- ↑ มาร์ค ล่องใต้หาเสียงเลือกตั้งอบจ.ชุมพร [ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.chppao.go.th/vote.html เก็บถาวร 2012-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลเลือกตั้งอบจ.ชุมพร 2555]
- ↑ รับสมัครชิงนายก อบจ.ปราจีนบุรีคึกคัก อดีต ส.ส.ลงสมัครสู้กับแชมป์เก่า 2 สมัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ การรับสมัครนายกอบจ.ปราจีนบุรีและสมาชิก วันแรก มีผู้สมัคร 2 คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกและสมาชิก อบจ.ปราจีนบุรีอย่างเป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ [6][ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ "ผลคะแนนเลือกตั้ง"นายก อบจ"หนองคาย "กลุ่มเพื่อไทย"พ่ายยับ"กลุ่มรักหนองคาย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-25.
- ↑ [7][ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ ผลเลือกตั้ง นายก อบจ.อำนาจเจริญ "ศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์"นำลิ่ว ชนะ2คู่แข่งขาดลอย[ลิงก์เสีย]
- ↑ [8][ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-08-12.
- ↑ อดีตสจ.ท้าแข่งนายกอบจ. เปลี่ยนการเมืองเพื่อพวกพ้อง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ตามคาด "พงษ์ศักดิ์" คว้าเก้าอี้นายก อบจ.ขอนแก่น ทิ้งคู่แข่งกว่า 3 แสนคะแนน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ เปิดเบื้องลึกมนต์หมอผีเขมรยังขลัง ดับฝัน‘ขจรธน-เสื้อแดง’ จับตาศึกส.อบจ.ระอุอีกครั้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลเลือกตั้งนายก อบจ.บุรีรัมย์ 'กรุณา ชิดชอบ' ซิวแชมป์นำเพื่อไทยห่าง
- ↑ เร่งปิดประกาศผลเลือกนายก อบจ.บุรีรัมย์ - คาดรับรอง “เมียเนวิน” ใน 30 วัน[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนังสือลาออกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก
- ↑ เด็กปชป.ท้าชิงคนตระกูลเทียนทอง ศึกชิงนายก อบจ.สระแก้ว
- ↑ ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว อย่างไม่เป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ สุพรรณบุรี เปิดรับสมัคร นายก อบจ.วันแรกคึกคัก[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www2.ect.go.th/content.php?Province=suphanburi&SiteMenuID=7190&Action=view&Sys_Page=&Sys_PageSize=&DataID=8948 ประกาศผลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี เลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2555
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ อภิสิทธิ์ไปกาญจน์ช่วยลูกพรรคหาเสียงนายกอบจ.[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดผลคะแนนอย่างเป็นทางการ อบจ.กาญจน์ “รังสรรค์” ชนะ “เสธ.มะ”[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กำแพงเพชร สมัครชิงเก้าอี้ นายก อบจ.กำแพงเพชร ส่อเค๊าเดือด พี่ชาย อดีต รมช.คลัง ลงชิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ ปชป.อ้างเหตุเชีบร์ น้องวราเทพชิงอบจ. ซี้ปึ้ก-ไม่เกี่ยวพรรค[ลิงก์เสีย]
- ↑ "2ส.ส.พท.แยกชิงอบจ.กำแพง "บุญเลิศ"ลั่นเอา"แม้ว"ปิ๊กบ้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ ผลการเลือกตั้ง นายกอบจ.กำแพงเพชร (อย่างไม่เป็นทางการ)[ลิงก์เสีย]
- ↑ แชมป์เก่า อบจ.ตากพ่ายเลือกตั้ง พ่ออดีต ส.ส.ไทยรักไทยเข้าวิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก อย่างไม่เป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก อย่างไม่เป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'เฮียม้อ'ลงเอง ชิงนายกอบจ.มหาชัย สานฝันลูกชาย
- ↑ ปิดรับสมัครนายก อบจ.สมุทรสาคร ลงสนามแข่ง 3 คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกอบจ.สมุทรสาคร[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""เฮียม้อ" ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.สมุทรสาคร-เตรียมดึง "ปลัดแต" ช่วยอีกแรง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.